การทำพิธีลากพระทางเรือ มีองค์ประกอบดังต่อไปนี้ 1) ประธานของพิธี คือ ตารอง (ปราชญ์ชาวบ้าน) เป็นผู้จัดการพิธีซึ่งมีคณะกรรมการวัดมีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างชัดเจนรวมถึงมีแขกผู้มีเกียรติ เริ่มต้นพิธีด้วยการไหว้พระ ตั้งแต่ประมาณตี 4 ของคืน 14 ค่ำ และมีการแสดงตลอดทั้งคืน 2) ผู้ประกอบพิธี ประกอบไปด้วย คณะกรรมการวัด ชาวบ้าน เริ่มขั้นตอนในการอัญเชิญพระลากมประดิษฐานในศาลาเพื่อรอการอัญเชิญขึ้นเรือพระ ในค่ำวันที่ 15 หรือการตักบาตรเทโว โดยการอัญเชิญพระลากขึ้นทางด้านหัวเรือพระ 3) ผู้ร่วมพิธี ประกอบไปด้วยชาวบ้านในพื้นที่ที่ร่วมกันสร้างประกอบเรือพระจนกระทั้งตกแต่งเรือพระ บ้างก็ทำความสะอาดวัด บ้างก็ทำเส้นทางเพื่อลากเรือพระ บ้างก็มีส่วนร่วมในการจัดการเรื่องของพิธีการต่าง ๆ ถือได้ว่าชาวบ้านได้มีส่วนร่วม ในส่วนของชาวบ้านนอกพื้นที่ก็มีส่วนร่วมบ้างในความถนัดของตนเอง ต่อมาคือ นักท่องเที่ยวที่ร่วมบุญรวมถึงแขกผู้มีเกียรติต่าง ๆ จะมาถึงตั้งแต่เช้าตรู่เพื่อร่วมกันอัญเชิญพระลากเข้าศาลาและขึ้นบนเรือพระ 4) สถานที่ประกอบพิธี คือ วัดพัทธเสมา ประกอบด้วยเส้นทาง 2 เส้นทาง คือ เส้นทางบนบกของวัดเสมา เส้นทางน้ำหน้าวัดเสมา โดยลากพระวนลงทางข้างวัดและกลับเรือใต้สะพานหน้าวัด 5) วันเวลาประกอบพิธี ในวันขึ้น 13 ค่ำ มีการหันหัวเรือพระออกจากวัดและทำการแหลนมพระ (แหลนมพระ หมายถึง การประกอบเรือพระ) ตกแต่งเรือพระเสร็จ ขึ้น 14 ค่ำ เป็นการอัญเชิญพระลากเข้าสู่ศาลาเพื่อทำการสมโภช ในวันขึ้น 15 ค่ำ เป็นวันลากพระทางเรือ ตรงกับแรม1 ค่ำ เดือน 11 วันออกพรรษา
จับต้องไม่ได้ : InTangible.
แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาล : SP : Social Practices, ritual and festive events ขนบธรรมเนียบประเพณีเกี่ยวกับศาสนา
ขนบธรรมเนียบประเพณีเกี่ยวกับเทศกาล
.
เลขที่ : 260 หมู่ 2 ต. ท่าดี อ. ลานสกา จ. นครศรีธรรมราช 80230
ขวัญตา หนูปล้อง : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช : 2566 Festival