ประวัติย่อ วัดป่าหมากหน่อ (จากแผ่นพับของวัด) วัดป่าหมากหน่อ ที่เรียกชื่อนี้คงเป็นเพราะสม้ยก่อนมีผู้พบเห็นต้นหมากเล็กๆ เรียกเป็นคำ เมืองว่า หมากหน่อ ขึ้นอยู่บนเกาะนี้จำนวนมาก แต่่ต่อมาก็สูญพันธุ์ไปหมด เดิมทีวัดป่าแห่งนี้เป็นโบราณสถานที่เคยเป็นวัดมาแต่อดีตตกาลเพราะพบหลักฐานโบราณ วัตถุหลายชิ้น บ่งบอกว่าเป็นวัดมาก่อน เช่น ซากเจดีย์ เนินวิหาร หรืออุโบสถ และบ่อน้ำ สำหรับสรงพระเจดีย์ เศษอิฐโบราณ เศษเครื่องปั้นดินเผาจำนวนมาก และพบพระพุทธรูป หลายองค์ วัดแห่งนี้เป็นวัดร้างตั้งแต่สมัยเชียงแสนหรือโยนก บริเวณของวัดเป็นเกาะอยู่ติด กับหนองน้ำกว้างใหญ่เรียกกันว่า หนองหลวง หรือ เมืองหนอง บ้างก็เรียกว่า เวียงหนอง หรือ เวียงหนองหล่ม เวียงหนองหล่ม ตั้งอยู่ระหว่างเขต ต.โยนก อ.เชียงแสน กับ ต.จันจว้า อ.แม่จัน จากตำนาน และพงศาวดารหลายเล่มกล่าวตรงกันว่า เจ้าชายสิงหนวัติพาผู้คนมาหาที่ตั้งเมือง พอมาถึง แม่น้ำโขงก็พบนาคจำแลงเป็นชายมาบอกสถานที่สร้างเมือง จึงตั้งเมืองโดยเอาชื่อองค์ผู้ สร้างรวมกับนาคชื่อว่าเมือง โยนกนาคพันสิงหนวัติ หรือ โยนกนครหลวง จากนั้นนครโยนกนาคพันธุ์สิงหนวัติก็รุ่งเรืองต่อเนื่องมายาวนานกว่า ๔๕๐ ปี จนกระทั้ง สมัยรัชกาลของพญามหาไชยชนะกษัตริย์ องค์ที่ ๔๕ กาลอวสานก็มาถึง เมื่อวันหนึ่ง ชาวบ้านจับ ปลาไหลเผือก มีขนาดตัวโตเท่าลำตาล ยาวประมาณ ๗ วาเศษ ได้จาก แม่น้ำกก และได้นำมาถวายพญามหาไชยชนะ พระองค์รับสั่งให้นำเนื้อไปแล่แจกจ่าย ให้กับชาวเมืองทุกคน มีเพียงหญิงชราแม่ม่ายคนหนึ่งเท่านั้นที่ไม่ได้รับส่วนแบ่งเนื้อปลา ซึ่งสมัยก่อนจะถือว่าหญิงม่ายเป็นคนที่อยู่ในระดับต่ำ คล้ายๆ จะเป็นกาลกิณี จึงไม่ให้กิน และเมื่อถึงเวลาค่ำก็มีเสียงแผ่นดินดังสนั่นหวั่นไหว แล้วก็เงียบสงบลง พอถึงกลางคืนก็มี ดังมาอีกเป็นครั้งที่สองแล้วก็เงียบไปอีก แล้วพอใกล้รุ่งก็ดังมาอีก คราวนี้ดังยิ่งกว่าทุกครั้ง เมื่อนั้นเมืองโยนกนครหลวงก็ยุบลงเกิดเป็นนทีหนองน้ำใหญ่ คนทั้งหลายในเวียงนั้นรวมถึง กษัตริย์เจ้าเลยวินาศฉิบหายจมลงในน้ำทั้งหมด แต่ทว่า ยังคงค้างอยู่แต่เรือนของหญิง ชราม่ายหลังเดียวเท่านั้น ก่อนค่ำที่มีเสียงแผ่นดินดังสนั่นหวั่นไหวนั้น ได้มีชายหนุ่มคนหนึ่งมาที่เรือนของหญิงชรา ม่าย ชายหนุ่มถามว่า ชาวเมืองที่นี้เขาเอาอะไรมาทำกินถึงได้หอมทั่วทั้งเมือง หญิงชราม่าย ตอบว่า เขาได้ปลาไหลเผือกมาและได้แจกจ่ายกินกันทั้งเมือง ชายหนุ่มถามอีกว่า ย่าได้กิน กับเขาบ้างไหม หญิงชราม่ายตอบว่า ย่านี้เป็นคนแก่แม่ม่ายไม่มีใครเอามาให้กินหรอกหลาน เอ๋ย แล้วชายหนุ่มก็บอกว่า ไม่ได้กินก็ดีแล้ว แล้วย้ำอีกว่า ถ้ามีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นถ้าไม่เห็น หน้าหลานนี้อย่าได้ลงจากเรือนเป็นอันขาด ไม่นานก็เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งหญิงม่ายก็ตกใจกลัว มีหลายครั้งที่หญิงม่ายจะเปิดประตูเรือนออกมาแต่นึกได้ถึงคำพูด ของชายหนุ่มที่บอกไว้ จนเสียงครั้งสุดท้ายซึ่งดังมากว่าทุกครั้งหญิงม่ายก็กลัวยิ่งนักจึงได้ ตัดสินใจเปิดประตูเรือนออกมาก็ได้เห็นว่าเมืองนั้นกลายเป็นหนองน้ำไปเสียแล้ว และด้วยเหตุนี้จึงได้เรียกเกาะแห่งนี้ว่า เกาะแม่ม่าย ซึ่งเป็นที่ตั้งของวัดในเวลาต่อมา และได้ทราบชื่อหญิงชราม่ายในภายหลังว่า เจ้าแม่บัวเขียว เกาะแม่ม่ายได้สร้างขึ้นเป็นวัดเมื่อใดและถูกทอดทิ้งไว้ร้างนานเท่าใดยังไม่สามารถบอกได้ จนเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๓ ได้มีสามเณรรูปหนึ่งได้ธุดงค์มาบำเพ็ญสมณธรรมอยู่บริเวณนี้และได้ นิมิตดีจึงได้ทำการบูรณะให้เป็นวัดขึ้นมาใหม่อีกครั้งหนึ่ง สามเณรรูปนี้เป็นที่เคารพนับถือ ของชาวพุทธภาคเหนือในนาม พระหน้อย มีชื่อจริงว่า สามเณรบุญชุ่ม ทาแกง ท่านได้ สร้างกุฏิกรรมฐานหลังหนึ่ง โรงครัวหลังหนึ่ง ห้องน้ำหลังหนึ่ง โดยตั้งชื่อวัดว่า วัดหนองตุ่มคำ (โอ่งทอง) พอถึงปี พ.ศ.๒๕๒๔ ท่านก็ได้ธุดงค์ต่อไปยังวัดพระนอนประเทศพม่า และได้อุปสมบทเป็น พระภิกษุประจำอยู่ที่วัดพระธาตุดอนเรืองประเทศพม่าในเวลาต่อมา ปัจจุบันเป็นที่รู้จักของ ชาวพุทธในนาม ครูบาบุญชุ่ม ญาณสัวโร หลังจากนั้นวัดก็ถูกทอดทิ้งให้ร้างอีกครั้งหนึ่ง ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๒๗ มีพระธุดงค์องค์หนึ่งมาจำพรรษาอยู่วัดนี้อีกครั้ง ท่านมีนามว่า พระอาจารย์สมศักดิ์ กิติธัมโม ท่านได้นำคณะศรัทธาบ้านห้วยน้ำรากและหมู่บ้านใกล้เคียง สร้างพระประธานของวัดขึ้นองค์หนึ่ง ตั้งชื่อว่า พระพุทธทศพลญาณ ในขณะเดียวกันก็ได้ เปลี่ยนชื่อวัดขึ้นใหม่ชื่อว่า วัดป่าหมากหน่อ และในปีนั้นเองก็ได้นำคณะศรัทธาสร้างทาง ข้ามหนองน้ำเข้าสู่วัด หลังจากสร้างเสร็จแล้วท่านยังได้นำคณะศรัทธาขุดบ่อน้ำสำหรับ อุปโภคบริโถคด้วย จนถึงปี พ.ศ.๒๕๒๘ ท่านได้ธุดงค์ต่อไปยังที่อื่นปล่อยให้วัดร้างอยู่ อีกเป็นเวลา ๕ เดือน ต่อมาในปีเดียวกัน ได้มีสามะณรรูปหนึ่งได้ธุดงค์มาประจำอยู่วัดนี้ ท่านมีนามว่า สามเณรพันธ์ธิพย์ แสงคำ เมื่อมาประจำอยู่ได้ ๓ คืนก็มีญาติโยมขึ้นไปทำบุญที่วัด และนิมนต์ให้อยู่จำพรรษาที่วัดนี้ ท่านก็รับนิมนต์และตั้งใจว่าจะอยู่เพียงพรรษาเดียวเท่านั้น แต่เมื่อได้อยู่พรรษาหนึ่งแล้วญาติโยมก็นิมนต์ให้อยู่ต่อเรื่อยมาและได้มีพระภิกษุสามเณร จากที่อื่นมาจำพรรษาทุกปีและในจณะเดียวกันก็มีญาติโยมมาถือศิลปฏิบัติธรรมอยู่เป็น ประจำทุกปีมิได้ขาด พร้อมกันนี้ก็ได้นำคณะศรัทธาก่อสร้างสาสนะถาวรวัติถุต่างๆ เช่น กุฏิกรรมฐาน ศาลาปฏิบัติธรรม พระเจดีย์ พระธาติโยนกนคร และก่อสร้างพระวิหาร เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระประธานของวัดคือ พระพุทธทศพลญาณ และเพื่อใช้เป็นสถานที่บำเพ็ญบุญของญาติโยมชาวพุทธสืบไป
จับต้องไม่ได้ : InTangible.
ความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล : KP : Knowledge and Practices concerning nature and the การแพทย์แผนไทยและการแพทย์
โหราศาสตร์ ดาราศาสตร์ และไสยศาสตร์
การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
ชัยภูมิและการตั้งถิ่นฐาน
.
เลขที่ : วัดป่าหมากหน่อ ต. จันจว้า อ. แม่จัน จ. เชียงราย 57270
นายรณชัย อิกำเนิด
0956731583
ผศ.ดร.พลวัฒ ประพัฒน์ทอง : มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง : 2566 Open Call