PMU ทุนทางวัฒนธรรม


ข้อมูลวัฒนธรรม : AR-52100-00001 [ ได้รับทุนจากโครงการ ]

วัดศรีรองเมือง
WATSRIRONGMUANG

เริ่มสร้างขึ้นในช่วง พ.ศ. 2446 มีเจ้าศรัทธาที่สำคัญในการก่อสร้างจองแห่งนี้คือจองตะกาวาสินต๊ะแม่จองตะกจันทร์แก้วจองตะก๋าสางโตและแม่จองตะกำจันทร์ฟองกลุ่มศรัทธาเหล่านี้ได้จ้างช่างฝีมือชาวพม่าเข้ามาทำการก่อสร้างมีการสร้างงานศิลปกรรมประดับตกแต่งเพิ่มเติมขึ้นเป็นระยะดังปรากฏหลักฐานจารึกภาบาพม่าในส่วนต่าง ๆ ของงานประดับตกแต่งดังต่อไปนี้ จารึกแผ่นป้ายด้านหน้าจองกล่าวถึงการอุทิศถวายจองแห่งนี้เมื่อ พ.ศ.2455 ไว้ว่า “จองตะก่าส่างโตได้กระทำบุญนี้ ขอให้บุญนี้ไปสู่นิพพาน ขอให้เทวดาลงมาอนุโมทนาด้วย” จารึกด้านหน้าห้องเจ้าอาวาสด้านซ้ายมือห้องพระประธานกล่าวถึงการเริ่มสร้างจองในช่วง พ.ศ. 2448 ไว้ว่า “ศักราชพม่า 1267 ผลกรรมอันมงคลนี้เป็นผลบุญอันอนันต์ ขอให้ได้สู่นิพพาน ขอให้เทวดาลงมาอนุโมทนาผลบุญนี้ด้วย” จารึกในงานปั้นรักประดับเสาต้นที่ 2 ในห้องพระประธานด้านซ้ายมือพระประธานสันนิษฐานว่าน่าจะบ่งบอกถึงช่วงที่เริ่มสร้างงานปั้นรักเมื่อพ.ศ.2451 ความว่า “ศักราชาพม่า 1270 เดือนมกราคม” ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของจองวัดศรีรองเมือง อาคารเดิมเป็นอาคารไม้ทั้งหมด สร้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดยาวปัจจุบันเป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ มีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบพม่าผสมสถาปัตยกรรมแบบไทใหญ่แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือส่วนตัวอาคารและส่วนหลังคา ส่วนแรกเป็นตัวอาคารแบ่งออกเป็น 2 ชั้น ชั้นล่างเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนใช้เป็นที่จำวัดของพระภิกษุสามเณรและเป็นที่เก็บของซึ่งสร้างอยู่ใต้ถุนของชั้นที่สองโดยรอบของชั้นล่างมีการสร้างช่องหน้าต่างไว้โดยรอบมีบันไดทางเข้าบริเวณกลางอาคารมีการสร้างมุขยื่นออกมาไว้ทางด้านหน้าอาคารทั้งสองด้านทางเข้าชั้นที่สองคือส่วนของชั้นบนสร้างต่อจากชั้นล่าง แต่เป็นอาคารไม้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกอยู่บริเวณด้ายซ้ายสร้างเป็นชานมีห้องแบบเปิดโล่งมีหลังคาคลุมตั้งอยู่ใช้เป็นพื้นที่อเนกประสงค์เช่นครัวและห้องน้ำเป็นต้นส่วนที่สองเป็นพื้นที่ของห้องโถงใช้ประกอบศาสนพิธีและเป็นที่ประดิษฐานพระประธานศิลปะแบบพม่าภายในพื้นที่แห่งนี้มีโครงสร้างเป็นเสาไม้รับน้ำหนักส่วนหลังคาเสาทั้งหมดประดับตกแต่งด้วยลายที่เกิดจากการปั้นรักหรือเดินเส้นรักแล้วประดับกระจกสีไว้เต็มพื้นที่ของเสาโดยเฉพาะเสาด้านหน้าท้องพระประธานซึ่งมีการปั้นรักเป็นรูปนูนต่ำเป็นรูปสัตว์คนเทวดาและลายพันธุ์พฤกษาในส่วนของเพดานห้องโถงประดับด้วยกรอบลายเป็นช่อง ๆ เต็มเพดานเป็นลวดลายพันธุ์พฤกษาและรูปสัตว์โดยใช้เทคนิคการเดินเส้นรักปิดกระจกสีมีการใช้ลายคำในช่องว่างของกรอบลายนอกจากนั้นยังสร้างห้องเจ้าอาวาสไว้ในด้านขวาและด้านซ้ายมือของห้องพระประธานและมีพื้นที่ระเบียงขนาดยาวด้านหน้าห้องโถงซึ่งมีการฉลุไม้เป็นลายพันธุ์พฤกษาสร้างเป็นโก่งคิ้วไว้ด้านหน้าระเบียงนี้อีกด้วย ส่วนที่สองเป็นส่วนหลังคาสร้างหลังคาโดยใช้แผ่นสังกะสีคลุมเต็มพื้นที่อาคารตั้งแต่ทางเดินเข้าจนถึงส่วนของห้องโถงแยกออกจากบริเวณด้านซ้ายมือของพื้นที่อาคารชั้นหลังคานี้สร้างเป็นหลังคาแบบจั่วซ้อนชั้นลดหลั่นกันเป็นกลุ่มของชั้นหลังคาวางลดหลั่นและสลับตามแนวขวางและแนวยาวของอาคารมีการประดับชั้นจั่วด้วยการฉลุไม้และฉลุสังกะสีประดับเป็นป้านลมและหน้าจั่วเพื่อเพิ่มความสวยงามให้แก่อาคารซึ่งมีลักษณะการวางชั้นหลังกาเช่นเดียวกับจองวัดป่าฝางในส่วนของเชิงชายหรือแป้นน้ำย้อยนั้นในอดีตเป็นไม้ฉลุลายเมื่อกาลเวลาผ่านไปทำให้ไม้ฉลุลายผุกร่อนเกือบหมดในเวลาต่อมาจึงมีการเปลี่ยนวัสดุโดยใช้สังกะสีฉลุเป็นลายพันธุ์พฤกษาไว้โดยรอบแทนซึ่งทำให้คงอยู่จนถึงปัจจุบัน



 

Icon
ประเภทวัฒนธรรม

จับต้องได้ : Tangible.

Icon
หมวดหมู่วัฒนธรรม

สถาปัตยกรรม : AR : ARchitecture ศาสนสถาน
สถานที่ศักดิ์สิทธิ์
แหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่น
แหล่งพิธีกรรม
.

Icon
ที่ตั้ง

เลขที่ : เลขที่ 64 ต. สบตุ๋ย อ. เมืองลำปาง จ. ลำปาง 52100

Icon
ชื่อผู้ให้ข้อมูลหรือชื่อกลุ่มผู้ให้ข้อมูล

Icon
ช่องทางติดต่อผู้ให้ข้อมูล

Icon
ผู้บันทึกข้อมูล

มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง : มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง : 2566 Festival

Icon
แหล่งข้อมูอื่น ๆ
-
พิกัด GPS

มีผู้เข้าชมจำนวน :107 ครั้ง
บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ : 20/10/2023 - ปรับปรุงล่าสุดวันที่ : 20/10/2023


BESbswy