PMU ทุนทางวัฒนธรรม


ข้อมูลวัฒนธรรม : TC-90110-00047 [ ได้รับทุนจากโครงการ ]

บ้านมีดช่างหม่อน
Artisan-Mon

เด็กหนุ่มชาวหัวไทรเคยเห็นวิถีการตีเหล็กจากลุงในวัยเยาว์ไม่ได้คิดที่จะตีเหล็กในช่วงวัยดังกล่าว ต่อมาเมื่อมีครอบครัวแต่งงานกับชาวหูแร่ อำเภอหาดใหญ่ มีอาชีพทางการเกษตรคือการทำสวนยางพาราสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัว อาชีพการทำสวนยางส่วนใหญ่จะทำกันในช่วงหลังเทียงคืนจนถึงหัวรุ่งและขายเสร็จในช่วงสายของวันต่อมา กลางวันชาวสวนยางส่วนใหญ่จะผักผ่อนกัน นี้เป็นวิถีของชาวสาวยางพารา ในช่วงยางมีราคาแพงมักไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องรายได้ อย่างไรก็ตามหลังปี พ.ศ.2555 เป็นต้นมายางมีราคาตกต่ำเป็นอย่างมาก ส่งผลให้ชาวสวนยางส่วนใหญ่ต้องมีอาชีพเสริมเพื่อสร้างรายได้ โดยเฉพาะครอบครับที่ลูกๆกำลังเรียน ยิ่งหากเรียนในระดับมหาวิทยาลัยยิ่งมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเป็นทวีคูณ ช่างหมอนเป็นชาวสวนยางอีกคนที่ต้องมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการส่งให้ลูกเรียนหนังสือ จึงหันมาดำเนินการทดลองตีเหล็กจากความรู้ที่เคยมีมาจากการสังเกตลุงที่มีอาชีพเป็นช่างตีเหล็ก นอกจากนั้นตนเองยังมีความสนใจในของมีคมที่พ่อของตนเองเคยมีเคยใช้ โดยเฉพาะการซึมซับความรู้ทางศิลปะการแกะสลักตัวรูปหนังตะลุง และแกะสลักเป็นรูปอื่นๆ กล่าวได้ว่า พ่อเป็นคนแกะรูปหนังขายจนเป็นที่รู้จักกันของนายหนังทั่วไป การมาเป็นพ่อคนและวัยที่ต้องรับผิดชอบมากยิ่งขึ้นในเรื่องการสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัว เริ่มจากการใช้วิธีการสร้างชิ้นงานด้วยงานเย็นคือเจียรขึ้นรูปแล้วแต่งให้เป็นมีดพกชนิดต่างๆ เพื่อใช้เองและมอบให้เพื่อนฝูง เมื่อถึงระดับหนึ่งจึงได้สร้างโรงตีเหล็กขึ้นโดยลุงคนดังกล่าวมาตั้งโรงตีเหล็กให้และครอบมือเป็นศิษย์ การตีชิ้นงานเริ่มจากงานมีดพกตามรูปแบบพื้นบ้าน ได้แก่ ไอ้เคียงหรือไอ้เชียงรูปแบบต่างๆ ทั้งแบบสงขลา พัทลุง และเมืองตรัง ขึ้นอยู่กับรูปแบบที่ผู้ต้องการนำมาให้เป็นแบบ เมื่อตีมากขึ้น เกิดประสบการณ์ตรงจากการลงมือปฏิบัติ ส่งผลให้ชิ้นงานมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้การยอมรับ เชิญไปออกร้านตามสถานที่ต่างๆ และนำผู้สนใจเข้ามาศึกษาในโรงตีเหล็ก ปัจจุบัน จึงมีป้ายหน้าร้านบนเส้นทางเข้าน้ำตกงาช่างว่า สำนักมีดแดนใต้ หม่อน ณ หัวไทร ทำให้เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง ประกอบกับเส้นทางดังกล่าวเป็นทางผ่านเข้าแหล่งท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ทำให้หน้าร้านมีการวางและจำหน่ายมีดพกหลากหลายรูปแบบในปัจจุบัน กล่าวได้ว่า ช่างหม่อนเป็นตัวแทนของรูปแบบการสืบทอดภูมิปัญญาช่างโลหะกรรมพื้นบ้านภาคใต้ที่ยังคงมีอยู่และมีศักยภาพในการพัฒนาฝีมือให้ชิ้นงานมีคุณภาพสูงและหลากหลายรูปแบบในอนาคต ด้วยเหตุ ดังนี้ วัยยังน้อย การเปิดรับความรู้ใหม่ๆ และจิตใจพื้นฐานของช่างอยู่บนฐานของสังคมเกษตรจึงจุนเจือมุมมองการขายมีดให้กับลูกค้าในลักษณะแบ่งปั่นให้ได้ไปใช้ ประเภทว่า ให้ผู้ซื้อสบายใจ ถูกใจ คนขายก็มีความสุข เป็นต้น นี้คือทัศนะของช่างหม่อนที่สมผัสได้ อยากแนะนำผู้ที่อยากได้มีดไปใช้ติดตัวสักเล่มได้แวะเวียนไปชมชิ้นงานของช่างหม่อน หากประทับใจจะได้สนับสนุนนายช่างให้มีกำลังใจสร้างงาน สร้างครอบครัว และสืบทอดมรดกภูมิปัญญาโลหะกรรมพื้นบ้านภาคใต้ให้เป็นมรดกของชาติสืบไป



 

Icon
ประเภทวัฒนธรรม

จับต้องไม่ได้ : InTangible.

Icon
หมวดหมู่วัฒนธรรม

งานช่างฝีมือดั้งเดิม : TC : Traditional Craftsmanship เครื่องโลหะ
.

Icon
ที่ตั้ง

เลขที่ : 5 บ้านโตนงาช้าง ต. ทุ่งตำเสา อ. หาดใหญ่ จ. สงขลา 90110

Icon
ชื่อผู้ให้ข้อมูลหรือชื่อกลุ่มผู้ให้ข้อมูล

นายสมพร ไชยหาญ

Icon
ช่องทางติดต่อผู้ให้ข้อมูล

089-4632077

Icon
ผู้บันทึกข้อมูล

ดร. ณภัทร แก้วภิบาล : มหาวิทยาลัยทักษิณ : 2566 Open Call

Icon
แหล่งข้อมูอื่น ๆ
Link ที่เกี่ยวข้อง

มีผู้เข้าชมจำนวน :151 ครั้ง
บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ : 09/11/2023 - ปรับปรุงล่าสุดวันที่ : 05/07/2024