ข้าวแคบเป็นที่นิยมรับประทานเป็นขนมขบเคี้ยวของชาวล้านนา ในหมู่บ้านแม่คำสบเปินก็มีช่างทำข้าวแคบที่สืบทอดกันมากตั้งแต่บรรพบุรุษจากรุ่นสู่รุ่น โดยกระบวนการผลิตข้าวแคบในแบบดั่งเดิมของชาวยองบ้านแม่คำสบเปิน โดยจะนิยมทำกันหลังจากเก็บเกี่ยวข้าวใหม่ไปจนถึงช่วงสงกรานต์ปีใหม่ ข้าวที่ใช้ทำข้าวแคบก็จะใช้ข้าวเหนียวที่ปลูกภายในหมู่บ้านและนำมาโม่จนกลายเป็นน้ำแป้งข้าวเหนียวใส่เมล็ดงาดำลงไปในน้ำแป้งพร้อมกับเกลือ แล้วจึงนำมาละเลงลงบนผืนผ้าสีดำที่ขึงอยู่บนภาชนะที่เป็นหม้อหรือกระทะ ดั่งเดิมใช้หม้อดินเผาหรือกระทะใบบัวใบใหญ่ใช้ฟืนในการต้มน้ำร้อนปัจจุบันใช้เตาแก๊ซแทนฟืน เมื่อแผ่นแป้งข้าวเหนียมสุกแล้วจะใช้ไม้ที่ชับน้ำเป็นด้ามยาวๆแต่ก่อนไม้จะชุบด้วยน้ำที่แช่ต้นปอทุบเพื่อไม่ให้แผ่นข้าวแคบติดไม้ ปัจจุบันไม่นิยมทำแล้วเพราะความชำนาญของผู้ทำข้าวแคบจึงทำให้แผ่นข้าวแคบไม่ติดไม้ เมื่อนำไม้ไปสอดแผ่นข้าวแคบจากเตาก็จะนำมาตากลงบนแผ่นไม้ตระแกรงหรือบนคาไพแล้วนำไปตากแดดจนแห้งจึงนำไปเก็บแล้วจัดจำหน่าย ข้าวแคบนิยมรับประทานทั้งการจี่ การทอดในน้ำมัน ซึ่งเป็นขนมขบเคี้ยวที่นิยมกันในฤดูหนาวและเทศกาลสำคัญของชาวยองแม่คำสบเปิน ในอดีตจะทำกันเกือบทุกหลังคาเรือนโดยทำกันในครอบครัว ปัจจุบันหลงเหลือเพียงไม่กี่ครอบครัวที่ทำข้าวแคบเป็น
จับต้องได้ : Tangible.
ความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล : KP : Knowledge and Practices concerning nature and the .
เลขที่ : บ้านแม่คำสบเปิน หมู่ 1 ต. แม่คำ อ. แม่จัน จ. เชียงราย 57240
นางบรรจง สำราญ
ผศ.ดร.พลวัฒ ประพัฒน์ทอง : มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง :