เมนูนี้ผู้คนในชุมชนออกเสียง 2 รูปแบบ คือ สับ-พะ-แยก และ สับ-พะ-แหยก โดยมีความเป็นมาจากชาวโปรตุเกสผู้เป็นเจ้าของตำรับ สัพแหยกอาจมีที่มาจากคำว่า Subject ที่แปลว่าผู้ใตบังคับบัญชาในภาษาอังกฤษจึงกลายมาเป็นสัพแหยกในปัจจุบัน จุดเด่นของสัพแหยกนั้นอยู่ตรงส่วนผสมของเนื้อสัตว์และเครื่องเทศหลากชนิดที่เป็นส่วนผสมพื้นฐานของอาหารตะวันตกให้รสชาติคล้ายกับไส้ของกะหรี่ปั๊บ แต่มีรสสัมผัสแตกต่างกันในรายละเอียดสามารถใช้ทานคู่กับขนมปังก็ได้ กินกับข้าวก็ดี หรือหากมีวาระพิเศษอาจนำแป้งกระทงทองมารองใส่ไส้สัพแหยกจัดเสิร์ฟเป็นอาหารเรียกน้ำย่อย โดยสูตรดั้งเดิมนิยมใช้เนื้อวัวผัดกับเครื่องแกง ปรุงรสให้มีรสชาติออกจัดจ้านด้วยน้ำส้มสายชู น้ำตาล น้ำปลา ผัดจนแห้งแล้วจึงใส่มันฝรั่งต้มหั่นชิ้นเล็กๆ (มนชนก จุลสิกขี, 2565, น. 194 – 200) โดยร้าน window กาแฟ ได้นำเอาสัพแหยกมาใช้เป็นไส้ของกะหรี่ปั๊บทำให้เกิดเมนูขนมแสนอร่อยของร้านที่มีชื่อว่า “กะหรี่ปั๊บสัพแหยก”
จับต้องได้ : Tangible.
แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาล : SP : Social Practices, ritual and festive events .
เลขที่ : 273 ต. วัดกัลยาณ์ อ. เขตธนบุรี จ. กรุงเทพมหานคร 10600
กิตติ เชี่ยวชาญ : มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา : 2566 Festival