พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ เป็นพระพุทธรูปเนื้อทองสำริด ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 51 นิ้ว สูง 85 นิ้ว (รวมฐาน) ตามประวัติในประเทศไทย มีพระเจ้าใหญ่องค์ตื้ออยู่ 5 องค์ สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช เดิมทีประดิษฐานอยู่บนแท่นพระอุโบสถหลังเก่า ภายหลังอุโบสถทรุดโทรม พระเจ้าองค์ตื้อจึงอยู่กลางแจ้ง ตากแดด ตากฝน เป็นเวลานานทำให้องค์พระพุทธรูปองค์ตื้อมีรอยแตก เป็นสะเก็ดออกมา จึงได้พอกพระพุทธรูปด้วยเปลือกไม้ ยางบด ผสมผงอิทธิเจ และทองคำ เงิน นาก สัมฤทธิ์ เงิน รางกาชาดซะพอก ให้น้ำเกลี้ยง น้ำชาดผสมทาปอมพอก แล้วลงรักปิดทองที่เข้าเมืองอุบลราชธานี แต่เนื่องจากกลัวข้าศึกขนเอาพระพุทธรูปไปจึงได้พอกปิดไว้ และปล่อยทิ้งเป็นวัดร้างนานถึง 200 ปี ต่อมาราว พ.ศ. 2507–2508 สมัยพระภิกษุสวัสดิ์ ทสฺสนีโย เป็นเจ้าอาวาสวัดใต้พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ รูปที่ 13 ได้ทำการก่อสร้างอุโบสถหลังใหม่ขึ้น ก่อสร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2519 เมื่อสร้างฐานแท่นพระพุทธรูปพระประธานเสร็จจึงได้ยกพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อขึ้นประดิษฐานที่แท่นจนถึงปัจจุบันนี้
จับต้องได้ : Tangible.
โบราณวัตถุ : AA : Archeological Artefact ประวัติศาสตร์
.
เลขที่ : วัดใต้พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ ต. ในเมือง อ. เมืองอุบลราชธานี จ. อุบลราชธานี 34000
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมศรี ชัยวณิชยา
somsri.s@ubu.ac.th
ผศ.ดร.สุวภัทร ศรีจองแสง : มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี : 2567 Open call