PMU ทุนทางวัฒนธรรม


ข้อมูลวัฒนธรรม : AR-13000-00013

เจดีย์ภูเขาทอง (เจดีย์ประธาน)
WatPhuKaoThong

ตั้งอยู่บนฐานประทักษิณชั้นที่ ๔ องค์เจดีย์ประกอบด้วยฐานเขียงในผังแปดเหลี่ยมต่อด้วยฐานเชียงในผังเพิ่มมุม ช้อนลดหลั่นกันถัดขึ้นไป แนวการก่ออิฐขององค์เจดีย์ ต่อเนื่องมาจากฐานของการบูรณะครั้งที่ 1 ลดหลั่นกันเป็นขั้นเหมือนพีระมิด ทำให้เชื่อว่าองค์เจดีย์และฐานเขียงในผังแปดเหลี่ยมของเจดีย์ก่อสร้างขึ้น งานบูรณะครั้งที่ 1 นี้ส่วนการเอียงขององค์เจดีย์ เกิดจากการทรุดตัวของอิฐบริเวณใต้ฐานประทักษิณ เนื่องจากมีช่องว่างภายใน หรือมีการลักลอบขุดหาสมบัติ ที่ฝังไว้ตามห้องกลุ่มบริเวณฐานเจดีย์ จึงทำให้เจดีย์ทรุดตัวลงมา และไม่ปรากฏเศรษฐกิจ หรือเศษปูนฉาบ ที่จะแสดงว่าจะดีได้เคยพังทลายลงมาเลย เจดีย์ประธาน เจดีย์ภูเขาทอง ก่ออิฐถือปูน องค์เจดีย์ประธานตั้งอยู่บนฐานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างด้านละ 80 เมตร ทำเป็นฐานประทักษิณช้อนลดหลั่นกัน 4 ชั้นสูงจากพื้นดินถึงยอดเจดีย์ 64 เมตร แต่ละชั้นของฐานประทักษิณมีรายละเอียดดังนี้ ฐานประทักษิณชั้นที่ 1 กว้างด้านละ 80 เมตร ด้านทิศตะวันออกและทิศใต้เป็นฐานก่อตรง ด้านทิศเหนือ และทิศตะวันตกเป็นฐานก่อเหลียมย่อเก็จ (เพิ่มมุม) ประกอบด้วยฐานเขียงเหนือขึ้นไปเป็นบัวคว่ำ คั่นบัวคว่ำกับท้องไม้ ด้วยลวดบัวสี่เหลี่ยม มีบันไดขึ้นจากพื้นถึงลานประทักษิณ ขั้นที่ 1 ทุกด้าน ยกเว้นด้านทิศตะวันออกไม่มีบันได ฐานประทักษิณชั้นที่ 2 กว้างด้านละ 63 เมตร ทุกด้านเป็นสี่เหลี่ยมย่อเก็จ (เพิ่มมุม) ฐานเริ่มต้นจากระเบียงบนขอบฐานประทักษิณ ทุกมุมมีเสาหัวเม็ดยึดแนวระเบียงไว้ ชุดฐานด้านในระเบียงประกอบด้วยฐานเขียง 5 ขั้น ถัดขึ้นไปเป็นบัวคว่ำกับท้องไม้ลวดบัวสี่เหลี่ยม เหนือลวดบัวขึ้นไปเป็นท้องไม้คาดด้วยบัวลูกแก้วอกไก่ 2 เส้น มีบันไดทุกด้าน ฐานประทักษิณชั้นที่ 3 กว้างด้านละ 49.40 เมตร ทุกต้านเป็นสี่เหลี่ยมย่อเก็จ (เพิ่มมุม) ในฐานชั้นที่ 3 มีลักษณะเหมือนฐานชั้นที่ 2 โดยเริ่มจากระเบียงบนฐานประทักษิณชั้นที่ 3 ทุกมุมมีเสาหัวเม็ดยึดแนวระเบียงไว้ ชุดฐานด้านในระเบียงเริ่มต้นด้วยฐานเขียง 3 ชั้น เหนือฐานเขียงขึ้นไปเป็นบัวคว่ำ ถัดจากบัวคว่ำเป็นเส้นลวดต่อด้วยท้องไม้ บนระนาบของท้องไม้คาดด้วยบัวลูกแก้วอกไก่ 2 เส้น ท้ายสุดเป็นหน้ากระดานบน มีบันไดทุกด้าน ฐานประทักษิณชั้นที่ 4 กว้างต้านละ 32.40 เมตร ทุกต้านเป็นสี่เหลี่ยมย่อเก็จ (เพิ่มมุม) ระเบียงตั้งบนฐานประทักษิณชั้นที่ 4 ทุกมุมมีเสาหัวเม็ดยึดแนวระเบียงไว้ ภายในระเบียงมีพื้นที่สำหรับเดินประทักษิณกว้าง 4.50 เมตร (กรมศิลปากร สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 3 พระนครศรีอยุธยา. 2545) กลอนนิราศของสุนทรภู่ ได้พรรณนาอย่างเห็นได้ชัด ว่าเจดีย์วัดภูเขาทองไม่มีการเปลี่ยนแปลง จนเมื่อปลายปี พ.ศ. 2499 ทางราชการได้บูรณะองค์พระเจดีย์โดยต่อเติมปล้องไฉน ปลี และลูกแก้ว โดยเฉพาะลูกแก้วทําด้วยทองคําหนัก 2,500 กรัม ซึ่งอาจจะเป็นความหมายว่า ได้บูรณะขึ้นในคราวฉลองพุทธศตวรรษที่ 25 แม้ว่าจะได้รับการบูรณะแล้ว แต่กระนั้นก็ยังมองเห็นว่าเจดีย์มีลักษณะเอียงอยู่ ปัจจุบันบูรณะโดยทาสีขาว ”ครั้นรุ่งเช้าเข้าเป็นวันอุโบสถ เจริญรสธรรมาบูชาฉลอง ไปเจดีย์ที่ชื่อภูเขาทอง ดูสูงล่องลอยฟ้านภาลัย อยู่กลางทุ่งรุ่งโรจน์สันโดษเด่น เป็นที่เล่นนาวาคงคาใส ที่พื้นลานฐานบัทม์ถัดบันได คงคาลัยล้อมรอบเป็นขอบคัน มีเจดีย์วิหารเป็นลานวัด ในจังหวัดวงแขวงกำแพงกั้น ที่องค์ก่อย่อเหลี่ยมสลับกัน เป็นสามชั้นเชิงชานตระหง่านงาม บันไดมีสี่ด้านสำราญรื่น ต่างชมชื่นชวนกันขึ้นชั้นสาม ประทักษิณจินตนาพยายาม ได้เสร็จสามรอบคำนับอภิวันท์ มีห้องถ้ำสำหรับจุดเทียนถวาย ด้วยพระพายพัดเวียนอยู่เหียนหัน เป็นลมทักขิณาวัฏน่าอัศจรรย์ แต่ทุกวันนี้ชราหนักหนานัก ทั้งองค์ฐานราญร้าวถึงเก้าแสก เผลอแยกยอดสุดก็หลุดหัก…” (ห้องสมุดดิจิทัลวชิรญาณ: 2465: ออนไลน์)



 

Icon
ประเภทวัฒนธรรม

จับต้องได้ : Tangible.

Icon
หมวดหมู่วัฒนธรรม

สถาปัตยกรรม : AR : ARchitecture ศาสนสถาน
สถานที่ศักดิ์สิทธิ์
.

Icon
ที่ตั้ง

เลขที่ : ตำบลภูเขาทอง ต. ภูเขาทอง อ. พระนครศรีอยุธยา จ. พระนครศรีอยุธยา 13000

Icon
ชื่อผู้ให้ข้อมูลหรือชื่อกลุ่มผู้ให้ข้อมูล

คุณรุจิเรช ศรีโสภณ

Icon
ช่องทางติดต่อผู้ให้ข้อมูล

080-6291189

Icon
ผู้บันทึกข้อมูล

ญาณิศา เผื่อนเพาะ : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา : 2566 Festival

Icon
แหล่งข้อมูอื่น ๆ
-
พิกัด GPS

มีผู้เข้าชมจำนวน :58 ครั้ง
บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ : 08/12/2023 - ปรับปรุงล่าสุดวันที่ : 08/12/2023