หอท้าวทั้งสี่วัดแม่คำสบเปินเป็นสถาปัตยกรรมและโบราณสถานของวัดแม่คำสบเปินเพราะมีการก่อสรา้งมาตั้งแต่การก่อตั้งวัดแม่คำสบเปิน เป็นสถาปัตยกรรมมีลักษณะคลายเจดียืขนาดเล็กมีช่องจำนวนสี่ช่องตรงตามทิศทั้งสี่ ส่วนตรงกลางของช่องจะก่อยกสูงขึ้นมากว่าช่องอื่นๆ ส่วนด้านบนประดับด้วยฉัตรจำนวน 5 ชั้น เป็นงานศิลปะของชาวยองแบบดั่งเดิม ทาด้วยปูนขาวสีขาว ท้าวทั้งสี่เป้นหอไว้สำหรับบูชาเทวดาประจำทิศทั้งสี่ทิศ หรือในคติหนึ่งของชาวยองคือการบูชาเทวบุตรหลวงเมืองยองซึ่งเป็นจารีตดั่งเดิมตั้งแต่เมืองยองในรัฐฉาน หอท้าวทั้งสี่จะตั้งอยู่ภายในบริเวณวัดตรงทิศตะวันออกเฉียงเหนือของวิหารเสมอ การบูชาหอท้าวทั้งสี่จะมีการบูชาในวันศีลหรือวันพระและงานประเพณีต่างๆที่จัดขึ้นภายในวัด โดยจะมีการบูชาที่พิเศษไปกว่าการบูชาอย่างในภายในวัดคือการบูชาด้วยก้อนข้าวเหนียวก้อนเล็กๆประกอบกับสวยดอกไม้ใส่ไว้ตามช่องทั้ง 4 ช่อง โดยจะเริ่มใส่ในทิศตะวันออกก่อนเสมอ การใส่ดอกหอท้าวทั้งสี่หรือหอเข้าตั้งสี่จะกระทำหลังจากการใส่ขันดอกในขันแก้วทั้งสาม ขันขอศีลและขันสูมาในวิหาร ในการใส่ดอกบูชาหอท้าวทั้งสี่จะปรากฎในวัดของชาวยองเท่านั้นในวัดของชาวไทยวน(คนเมือง)โดยทั่วไปจะไม่ปราฏสถาปัตยกรรมชนิดนี้อยู่ภายในวัดและไม่มีจารีตการใส่ดอกไม้บูชาหอเทวดาทั้งสี่ ดังนั้นหอท้าวทั้งสี่ที่ปรากฏในภายในวัดของชาวยองบ้านแม่คำสบเปินจึงเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญที่บ่งบอกถึงอัตตลักษณ์และเอกลักษณ์จารีตของชาวยองสืบทอดมาจนถึงปัจจุบันนี้
จับต้องได้ : Tangible.
โบราณสถาน : AS : Archeological Site .
เลขที่ : บ้านแม่คำสบเปิน หมู่ 1 ต. แม่คำ อ. แม่จัน จ. เชียงราย 57240
พระอธิการศักดิ์นที สิริภัททจารี
ผศ.ดร.พลวัฒ ประพัฒน์ทอง : มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง :