การแสดงอุเละห์นบี เป็นการขับกล่อมท่านศาสดามูฮัมหมัด ของชุมชนมุสลิมภูเขาทอง หมู่ที่ 2 ตามประวัติกล่าวว่า โต๊ะกีแซะห์ เป็นผู้ฟื้นฟูอุเละห์นบี ท่านได้ปรารภถึงการประสูติของท่านศาสดามูฮัมหมัดว่า “แม้แต่สัตว์ยังรับรู้ถึงการมาประสูติพระศาสดา เราเป็นมนุษย์จะต้องเฉลิมฉลอง เพื่อต้อนรับการมาประสูติของพระศาสดา” จึงได้กำหนดงานโฮ้ล หมายถึงงานสำคัญที่ชาวมุสลิมสายซูฟีย์กอดิรียะฮ์ต้องเข้าร่วม (วายิบ) ซึ่งมีทั้งหมดทั้งหมด 3 งาน ได้แก่ งานมูโหลดปากเดือน งานโฮ้ลแช็คอับดุล กอเดร อัลญัย ลานีย์ งานโฮ้ลเมี๊ยะราจ โดยการแสดงอุเละห์นบี จะใช้สำหรับแสดงในงานมูโหลดปากเดือน ซึ่งทำการแสดงในคืนแรกของงานซึ่งในบทขับกล่อม เป็นการผสมผสานทั้งภาษาท้องถิ่น ภาษามลายู และภาษาอาหรับ โดยใช้กลองรำมะนา เป็นเครื่องดนตรีให้จังหวะประกอบการแสดง มีความไพเราะ โดดเด่น และมีลักษณะท่วงทำนองของเพลงไทยเดิมพื้นบ้านภาคกลางผสมผสานอยู่ แสดงความเป็นสังคมพหุวัฒนธรรมได้อย่างชัดเจน ก่อนมรณกรรม โต๊ะกีแซะฮ์ ได้มีคำสั่งเสียเกี่ยวกับอุเละห์นบี ในลักษณะพินัยกรรมทางศาสนาต่อศิษยานุศิษย์ของท่าน ให้สืบทอดการแสดงอุเละห์นบีสายซูฟีย์กอดิรียะฮ์ ภายหลังการแสดงอุเละห์นบีก็ได้แพร่หลายไปยังเขตปริมณฑลภาคกลาง ไปจนถึงในแถบภาคตะวันออก ตามความนิยมของนิกายซูฟีย์กอดิรียะฮ์ มีการฝึกหัดการตีกลองรำมะนา ตามท่วงทำนอง และคำร้อง สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น แม้ว่าจะมีเหตุการณ์สำคัญในบางช่วงเวลาที่ทำให้ การแสดงอุเละห์นบีขาดช่วงหายไป เช่น เหตุการณ์สภาวะสงครามโลกครั้งที่ 2แต่หลังจากบ้านเมืองอยู่ในสภาวะสงบ การแสดงอุเละห์นบีก็ได้รับการฟื้นฟูกลับมาอีกครั้ง จนกลายเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ที่เกี่ยวเนื่องกับศาสนาอิสลามนิกายชีอะห์ สายซูฟีย์กอดิรียะฮ์
จับต้องไม่ได้ : InTangible.
วรรณกรรมพื้นบ้าน : FL : Folk Literature บทสวดหรือบทกล่าวในพิธีกรรม
บทร้องพื้นบ้าน
.
เลขที่ : ตำบลภูเขาทอง ต. ภูเขาทอง อ. พระนครศรีอยุธยา จ. พระนครศรีอยุธยา 13000
อิหม่ามฮัจยีบุญญา ศรีสมาน
085-187-5579
ญาณิศา เผื่อนเพาะ : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา : 2566 Festival