ตำนานพ่อปู่ชีปะขาว พ่อปูชีปะขาวเป็นเจ้าที่เจ้าทางประจำวัดภูเขาทอง เดิมชาวบ้านสร้างศาลเจ้าที่เล็กๆ ตั้งอยู่ภายในวัด ต่อมาเมื่อกรมศิลปากรมาดำเนินการบูรณะวัดภูเขาทอง ราว พ.ศ. 2560 จึงได้ก่อสร้างศาลพ่อปูชีปะขาวให้ใหม่ ด้วยสถาปัตยกรรมทรงไทยที่สวยงาม ศาลพ่อปูชีปะขาว ถือว่าเป็น 1 ใน 4 สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านในละแวกใกล้เคียงนับถือเป็นอย่างมาก โดยในทุกปีจะมีประเพณีทำบุญในช่วงวันสงกรานต์ ที่เรียกกันว่า “ทำบุญหน้าบ้านหลังบ้าน” ซึ่งชาวบ้านจะเวียนไปทำบุญตามสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ 4 แห่ง ในตำบลภูเขาทอง โดยลำดับสถานที่ตามลำน้ำเจ้าพระยา เริ่มจากวัดดาวดึงส์ หมู่ 4 เป็นสถานที่แรก ตามด้วยศาลพ่อปู่ท่วม หมู่ 3 ศาลพ่อปู่ชีปะขาว หมู่ 2 และสุดท้ายคือศาลเจ้าแม่นุ่ม หมู่ 1 ชาวบ้านทางฝั่งวัดภูเขาทองมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับพ่อปูชีปะขาว โดยเล่าเรื่องเชื่อมโยงกับตำนานนางหินลอยที่อยู่ภายในมัสยิดอาลียิดดารอยน์ของชุมชนมุสลิมว่า พ่อปู่ชีปะขาวกับนางหินลอย เป็นพี่น้องกัน ซึ่งพ่อปู่ชีปะขาวเลือกที่จะอยู่กับวัดภูเขาทอง แต่นางหินลอยกลับเลือกที่จะอยู่กับทางมัสยิด แม้ว่าจะมีผู้พยายามเคลื่อนย้ายหินที่เป็นสถานที่สถิตของนางออกไป แต่นางก็ไม่ยอมไปไหน มีผู้เล่าว่า ครั้งหนึ่งนางหินลอยมาเข้าฝัน บอกว่าอยากมาเยี่ยมพ่อปูชีปะขาว จึงเดินตามมาถึงเขตวัดภูเขาทอง บางคนเล่าว่า ตนเคยพบเห็นนิมิตของพ่อปู่ชีปะขาว ที่ปรากฏตัวให้เห็นขณะทำความสะอาดลานวัด ว่ามีลักษณะเป็นชายสูงอายุแต่งกายคล้ายพราหณ์ คล้องสร้อยสังวาล ยืนอยู่บนฐานเจดีย์ ซึ่งเป็นเรื่องเล่ามุกขปาถะที่เล่าสู่กันฟังในท้องถิ่น
จับต้องได้ : Tangible.
วรรณกรรมพื้นบ้าน : FL : Folk Literature ตำนานพื้นบ้าน
.
เลขที่ : ตำบลภูเขาทอง ต. ภูเขาทอง อ. พระนครศรีอยุธยา จ. พระนครศรีอยุธยา 13000
อิหม่ามฮัจยีบุญญา ศรีสมาน
085-187-5579
ญาณิศา เผื่อนเพาะ : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา : 2566 Festival