ปลาตะเพียนใบลาน เป็นสัญลักษณ์ของภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่มีชื่อเสียงของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นิยมนำไปแขวนไว้เหนือเปลเด็ก เพื่อให้เด็กน้อยได้จ้องมองปลาตะเพียน ที่โบกไหวด้วยความเพลิดเพลิน แฝงไปด้วยคติความเชื่อว่า จะทำให้เด็กร่าเริงแจ่มใส เลี้ยงง่าย และเติบโตเป็นเยาวชน ที่มีความพากเพียร สมดั่งชื่อปลาตะเพียน ซึ่งเป็นปลาท้องถิ่นประจำลุ่มน้ำเจ้าพระยา และสะท้อนถึงความเป็นครอบครัว ที่ประกอบด้วย พ่อ แม่ และลูก ดั่งปลาตะเพียนใบลานที่มีลูกน้อยๆ ร้อยเรียงกันมาเป็นสายบางคนนำปลาตะเพียนไปประดับตกแต่งบ้าน หรือร้านค้า โดยเชื่อกันว่า ปลาตะเพียนเป็นสัญลักษณ์ ที่สื่อถึงความเป็นมงคล เช่น เดียวกับปลาหลีฮื้อ หรือปลาไน ในคติความเชื่อแบบจีน ที่จะอำนวยโชคลาภมาสู่บ้าน หรือร้านค้า ให้สามารถค้าขายคล่อง โดยนิยมซื้อปลาตะเพียนเงิน ปลาตะเพียนทอง ไปเป็นคู่ๆ เพื่อความเป็นสิริมงคล ปลาตะเพียนใบลานนี้ มีต้นกำเนิดมาจากชุมชนมุสลิมที่เรียกตัวเองว่า “แขกเทศ” ในอดีตมักจะอาศัยอยู่ในบ้านเรือน และแพริมน้ำในย่านหัวแหลม ซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่หมู่ 1 ตำบลภูเขาทอง ซึ่งประกอบอาชีพค้าตามลำน้ำ โดยใช้เรือเครื่องเทศนำสินค้าหรูหราต่างๆ รวมไปถึงปลาตะเพียนใบลานที่จักสานกันอยู่ ในชุมชนไปขายด้วย แม้ต่อมาการค้าขายตามลำน้ำจะหมดลงไป แต่การสานปลาตะเพียนใบลาน ยังคงแพร่หลายอยู่ในย่านหัวแหลม และกระจายไปในบางส่วนของเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา ในปัจจุบัน ชาวตำบลภูเขาทอง โดยเฉพาะหมู่ที่ 1 ยังมีการสานปลาตะเพียนกันอยู่หลายบ้าน บางบ้านจะสานเฉพาะตัวปลา แล้วส่งไปให้อีกบ้านทาสี แล้วส่งให้อีกบ้านหนึ่งนำมาเย็บรวมกัน ตามความถนัดของแต่บ้าน แต่บางบ้านก็สานปลาตะเพียนเองทุกขั้นตอน กลายเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน จนจัดตั้งเป็นกลุ่มอาชีพจักสานปลาตะเพียน นักท่องเที่ยวสามารถหาซื้อปลาตะเพียนเป็นของฝาก ของที่ระลึกได้ที่ชุมชนวัดช่องลม หมู่ที่ 1 หรือตามสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
จับต้องไม่ได้ : InTangible.
งานช่างฝีมือดั้งเดิม : TC : Traditional Craftsmanship เครื่องจักสาร
งานศิลปกรรมพื้นบ้าน
.
เลขที่ : ตำบลภูเขาทอง ต. ภูเขาทอง อ. พระนครศรีอยุธยา จ. พระนครศรีอยุธยา 13000
คุณพีระยา เรืองกิจ ปลาตะเพียนสานใบลาน
089-8099532
ญาณิศา เผื่อนเพาะ : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา : 2566 Festival