ในอดีตบริเวณเดิมที่เคยเป็นเจดีย์ของวัดศรีโขง เคยมีต้นศรีมหาโพธิ์ ว่ากันว่าบริเวณโคนต้นมีโพรงขนาดใหญ่ขนาดที่คนจำนวน 20 คน สามารถเข้าไปหลบฝนได้ ซึ่งโพรงขนาดใหญ่นี้ถูกเรียกว่า "โขง" และในส่วนของคำว่า "ศรี" เดิมทีในภาษาบาลี มาจากคำว่า "สรี" อ่านว่า "สะ-หลี" ซึ่งต่อมาได้ถูกเปลี่ยนให้เขียนตามหลักภาษาสันสกฤต เป็นคำว่า "ศรี" เช่นที่พบได้ในปัจจุบันซึ่งแปลว่าต้นโพธิ์ ซึ่งจากการศึกษาโดยศูนย์ศิลปวัฒนธรรม สถาบันราชภัฏเชียงใหม่ร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่และหน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๖ สัณนิษฐานว่า วัดนี้สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๐ ต่อมาได้มีการสร้างวัดขึ้นโดยมีผู้อุปถัมป์ คือ แม่บุญศรี กระสัยชัย ภรรยาของนายเตี๋ยเซ้ง กระแสชัย (แซ่ตัน) ลูกสาวคนสุดท้องของหลวงสุนทรโวหารกิจ (บุญถึง แซ่โค้ว) กับนางยิ้มลูกหลาน แม่บุญศรีใช้นามสกุลกระแสชัย สุริยา มีชูกุล ศิริพงศ์ และ หนึ่งในบรรดาลูกๆของท่านคือ อาจารย์วิทยา กระแสชัย เทศมนตรีเทศบาลนครเชียงใหม่ในอดีต โดยพื้นที่หลังวัดติดกับแม่น้ำปิง เรียกว่า "ท่าศรีโขง" ด้านทิศเหนือติดกับคุ้มเจ้าราชบุตร(วงศ์ตะวัน) เดิมทีเป็นพื้นที่ท่าขึ้นขอนไม้สัก ปัจจุบันถูกเอกชนสัมปทานในนามของท่าเรือเพื่อการท่องเที่ยว ชื่อว่า "ท่าเรือหางแมงป่อง"
จับต้องได้ : Tangible.
พื้นที่วัฒนธรรม : CS : Cultural Space .
เลขที่ : ต. วัดเกต อ. เมืองเชียงใหม่ จ. เชียงใหม่ 50000
chiranthanin : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ : 2566 Open Call