“พญาคำ” เป็นผู้หนึ่งที่ทำงานในคุ้มหลวงเชียงใหม่ ในสมัยพระเจ้าอินทวิชัยนนท์ พหลภัคดีเจ้าผู้ครองนครเขียงใหม่องค์ที่ 7 และเป็นพระบิดาของพระราชายาเจ้าดารารัศมีในรัขกาลที่ 5 องค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ชื่อเดิมคือ "นายคำ ศรีวิชัย" เป็นชาวบ้านฮ่อม ชุมชนบ้านฮ่อมอยู่ฝั่งทิศใต้ของถนนท่าแพ เคยบรรพชาเป็นสามเณรและศึกษาเล่าเรียนที่วัดพันตอง ต่อมาสนใจด้านวิชากฎหมายจึงเรียนกฎหมาย และเข้ารับราชการอยู่ในคุ้มหลวงของเจ้าอินทวิชยานนท์ มีความสามารถมีผลงานจนได้รับบรรดาศักดิ์เป็น "พญาคำวิจิตรธุระราษฎร์" เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในแบบ จตุสมดมภ์ คือ แบบเวียง วัง คลัง นา ให้เป็นสัดส่วนในการปฏิบัติ ดังนั้นจึงแต่งตั้งให้พญาคำท่านเป็น กรมนา มีหน้าที่จัดให้ราษฏรเบิกนา ทำเหมืองและฝาย เพื่อนำน้ำไปทำนา ทำสวน พญาคำได้นำราษฏร ขุดลำเหมืองตั้งแต่ตำบลชมพู ขึ้นมาถึงตำบลไชยสถาน ตำบลหนองผึ้งฟากตะวันออกขึ้นไปผ่านตำบลหนองหอย ผ่านหน้าที่ทำการไฟฟ้าภูมิภาคบ้านเด่น ฟากตะวันออกถนนเชียงใหม่ลำพูนแล้วก็จัดสร้างฝายกั้นน้ำแม่ปิงตรงท่าศาลา เพื่อนำน้ำไปใช้ทำนา ทำสวน ในตำบลหนองผึ้งฟากตะวันออกตลอดไปจนถึงอำเภอไชยสภาน ตำบลป่าบงบางส่วน และตำบลชำภู ไปจนสุดเขตส่วนตำบลหนองผึ้งตอนล่าง ตำบลยางเนิ้ง ตำบนหนองแฝกฟากตะวันออก ตำบลสารภี ไปบรรจบกับน้ำล้องสามปันทางตะวันออกของบ้านสันป่าเดื่อ ดังน้้นจึงเรียกฝากที่ท่าศาลาว่า ฝายพญาคำ (บางคนยังเรียกฝายท่าศาลาตามน้ำท่าเดิม) ด้านครอบครัว พญาคำวิจิตรธุระราษฎร์ แต่งงานกับแม่คำแสน มีบุตรธิดา คือ นายบุญเลิศ ศรีวิชัย, นางคำใส ศรีวิชัย, นางจันดี ชยานนท์, นายสมบูรณ์ ศรีวิชัย อดีตนักการวิทยาลัยเทคนิค พญาคำเสียชีวิตเมื่อปี พ.ศ. 2480 จากข้อมูลของครอบครัวพญาคำ ทราบว่าพญาคำเป็นหนึ่งในผู้ช่วยเหลือครูบาศรีวิชัยสร้างถนนขึ้นดอยสุเทพ นอกจากนี้ได้สร้างศาลาแดงที่หน้าสุสานประตูหายยา และสร้างศาลาที่มุมถนนก่อนถึงโรงพยาบาลสวนดอกไว้เป็นที่พักของคนเดินทาง ปัจจุบันศาลาแดงที่สุสานหายยาเป็นของเทศบาลและสร้างเป็นศูนย์เยาวชน
จับต้องได้ : Tangible.
สถาปัตยกรรม : AR : ARchitecture .
เลขที่ : 168 ถ. เชียงใหม่-ลำพูน ต. ช้างคลาน อ. เมืองเชียงใหม่ จ. เชียงใหม่ 50100
chiranthanin : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ : 2566 Open Call