การเลี้ยงผีฝาย เป็นพิธีกรรม ที่ทำขึนเพื่อบูชาอารักษ์ที่คอยดูแลรักษาฝาย เป็นประเพณีที่ปฏิบัติกันทุกเหมืองฝาย มักกำหนดจัดขึ้นในช่วงเดือน 9 เหนือ ก่อนการทำนา โดยจะเกิดขึ้นหลังจากที่มีการขุดล้องลำเหมืองเสร็จสิ้นแล้ว ก่อนที่จะมีการหว่านกล้าปลูกข้าว ก่อนวันที่มีการเลี้ยงผีฝาย ล่ามน้ำไปแจ้งข่าวการเลี้ยงผีฝ่ายแก่ลูกเหมือง การเลี้ยงผีฝ่ายนิยมเลี้ยงในตอนเช้า ทุกคนมา พร้อมกันที่ฝ่ายบริเวณ “หอผีฝาย” ซึ่งเป็นศาลเล็ก ๆ เครื่องบวงสรวงพบว่ามี ลาบ หัวหมู หมูขาวหรือหมูต้ม ไก่ เหล้าขาว ผลไม้ ข้าวเหนียว โดยแต่ละชุมชนที่ใช้ประโยชน์จากฝายพญาคำจะจัดเตรียมมาเอง การเลี้ยงผีฝายนั้นแฝงไปด้วยนัยของการสร้าง ความสมานสามัคคี คล้ายกับเป็นการจัดงานเลี้ยงฉลอง ให้กับลูกเหมืองทุกคน หลังจากที่ได้ร่วมแรงกันทำงานให้กับเหมืองฝายอย่างหนัก
จับต้องได้ : Tangible.
แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาล : SP : Social Practices, ritual and festive events ขนบธรรมเนียบประเพณีเกี่ยวกับวงจรชีวิต
.
เลขที่ : 168 ถ. เชียงใหม่-ลำพูน ต. ช้างคลาน อ. เมืองเชียงใหม่ จ. เชียงใหม่ 50100
chiranthanin : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ : 2566 Open Call