"หนองบัวเจ็ดกอ" #เชียงใหม่ที่คุณไม่เคยเห็น ในภาพ มองเห็น เจดีย์วัดกู่เต้า ภาพที่สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ถ่ายไว้เมื่อประมาณปีพ.ศ.๒๔๗๕-๒๔๙๐ "หนองบัวเจ็ดกอ" หรือ"หนองเขียว" หรือ "หนองป่าแพ่ง” เป็นหนองน้ำธรรมชาติ ที่มีมาตั้งแต่ พญามังรายสร้างเมืองเชียงใหม่ "หนองใหญ่ " ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งก่อนพ.ศ.2500 ชาวเชียงใหม่ยังคงเคยเห็นกันอยู่ แสดงให้เห็นถึง อัจฉริยภาพของพระญามังราย ที่กำหนดให้หนองใหญ่ แห่งนี้เป็น สถานีการค้าหรือ Parking Area สามารถรองรับ จุดพักวัวต่างม้า ต่างของพ่อค้าวาณิชได้ จำนวนมหาศาล มีต้นกำเนิดจาก เทือกเขาดอยสุเทพ ที่อยู่ในเขตตอนเหนือ ของ เมืองเชียงใหม่ จากนั้นไหลลงมาทางใต้ลงสู่ "หนองบัว" ซึ่งเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ ที่อยู่ใกล้มุมเมืองเชียงใหม่ ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ หนองบัว แห่งนี้เป็นแหล่งรับน้ำ และ กักเก็บน้ำที่ไหลมาจากทางตอนเหนือ ก่อนที่จะปล่อยลงสู่ คูเมืองชั้นนอกใกล้แจงศรีภูมิ แล้วไหลเลาะกำแพงเมืองชั้นนอก ด้านทิศตะวันออก และ ทิศใต้ ไปบรรจบ ลำคู ไหลลงไปทางทิศใต้ และ ลงสู่แม่น้ำปิง ห้วยแม่ข่า ที่ไหลเลาะกำแพงเมืองชั้นนอก มีชื่อปรากฏในตำนาน อีกอย่างหนึ่งว่า "แม่โถ" แต่ในสมัยหลังมักเรียกกันว่า"คลองแม่ข่า" ตำนาน กล่าวถึงว่า ชาวเชียงใหม่ ให้ความสำคัญกับแหล่งน้ำมาก หากบ้านเมืองขาดน้ำแล้ว จะถือว่า บ้านเมืองชะตาขาด หากปีใด หนองบัวไม่มีน้ำ บ้านเมืองจะเป็นทุกข์ หากน้ำห้วยแก้ว ไม่ไหลเข้าสู่เมือง และ ยามกลางคืนไม่ได้ยินเสียงน้ำห้วยแก้ว ตกด้วยเสียงอันดังแล้ว บ้านเมืองจะเป็นทุกข์ [ตำนานพื้นเมืองล้านนาเชียงใหม่ ,หน้า๓๘-๓๘] ปัจจุบัน ได้ปรับถม เป็น สนามกีฬาเทศบาลนครเชียงใหม่ และ ตัด ถ.รัตนโกสินทร์ ปีพ.ศ.2525 ที่รุกหนองหลวง ในแนวขวางทางน้ำ ตะวันตก-ตะวันออก อันเป็นจุดเริ่มต้น ของการเข้ารุกครอง จับจอง พื้นที่ผืนใหญ่ๆ ของนายทุน ต่อมา ได้สร้างถนนอัษฎรธร ตัดแจ่ง ศรีภูมิ ผ่านกลางหนองบัวเจ็ดกอ เพื่อไปบรรจบกับ ถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ เพิ่ม ทำให้หนองบัวเจ็ดกอ หมดสภาพการเป็น หนองน้ำที่มีมาแต่ สมัยพญามังรายอย่างสิ้นเชิง
จับต้องได้ : Tangible.
โบราณสถาน : AS : Archeological Site .
เลขที่ : ต. ช้างม่อย อ. เมืองเชียงใหม่ จ. เชียงใหม่ 50300
สมโชติ อ๋องสกุล (2547). “หม่อมบัวไหลและชุมชนไทใหญ่ในเวียงเชียงใหม่”. ใน วงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่ บรรณ
chiranthanin : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ : 2566 Open Call