PMU ทุนทางวัฒนธรรม


ข้อมูลวัฒนธรรม : SP-50300-00002

ชุมชนพัฒนาบ้านกู่เต้า ปอยส่างลอง
Chomchon Pattana Baan Kutao Poy Sang Long

ปอยส่างลอง เป็นภาษาไทใหญ่แปลว่างานบวชเณร หรือ “งานบวชลูกแก้ว” ของคนล้านนา ซึ่งชาวไทใหญ่ให้ความสำคัญกับการบวชเณรมากกว่าการบวชพระ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าผู้เป็นเณรนั้นยังเป็นเด็กซึ่งถือเป็นผู้ที่มีความบริสุทธิ์ไม่แปดเปื้อนทางโลกเหมือนผู้ใหญ่ จึงทำให้ “ส่างลอง” สามารถสร้างมหาบุญกุศลให้กับบิดามารดา และผู้สนับสนุนการบวชได้เป็นอย่างมาก อีกทั้งการบวชของส่างลองเป็นการแสดงความกตัญญูตอบแทนคุณบิดามารดาผู้ให้กำเนิดและลี้ยงดูจนเติบใหญ่ อีกทั้งเป็นการเปิดโอกาสให้ส่างลองได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย อีกทั้งเพื่อรักษาไว้ซึ่งประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามชาวของไทใหญ่ และเมื่อส่างลองเติบใหญ่จะได้เป็นผู้ที่มีความรู้และสติปัญญาของสังคม ภูมิศาสตร์เอื้อกับชุมชนไทใหญ่ในเมือง พบว่าพื้นที่หัวเวียงนี้ประกอบไปด้วยต้นทุนของชุมชนไทใหญ่ที่มาตั้งถิ่นฐานในฐานะแรงงานเมือง โดยมีตลาดที่เป็นพื้นที่ประกอบอาชีพและรายได้ให้แก่ชุมชนไทใหญ่ได้แก่ ตลาดช้างเผือก ตลาดเมืองใหม่ ตลาดศิริวัฒนา ตลาดคำเที่ยง ที่ทำให้มีกลุ่มชุมชนมาร่วมงานประเพณีไทใหญ่ ไทใหญ่ที่เข้ามาอาศัยต่อมานั้น เป็นกลุ่มแรงงานเมืองที่มาประกอบอาชีพแรงงานในแก่ตลาดในละแวกพื้นที่เศรษฐกิจอาทิ ตลาดช้างเผือก สถานีขนส่งช้างเผือก ตลาดคำเที่ยง ตลาดเมืองใหม่ และตลาดศิริวัฒนา ทำให้คนไทใหญ่จึงขยายชุมชนไปตามละแวกเมืองพื้นที่ช้างเผือกนี้ โดยการทบทวนวรรณกรรมพบว่า มีวัฒนธรรมร่วมสมัยของพื้นที่ช้างเผือกมาตั้งแต่พ.ศ. 2537 จนถึงปัจจุบันดังนี้ พ.ศ. 2537 – ประเพณีปอยส่างลอง (จำลองจากเวียงแหน) ครั้งแรกที่วัดป่าเป้า พ.ศ. 2542 การปกครองแขวงศรีวิชัยในเทศบาลนครเชียงใหม่ พ.ศ. 2548 – ประเพณีปอยส่างลอง ย้ายไปจัดวัดกู่เต้าครั้งแรก พ.ศ. 2551 – วัดป่าเป้าเปิดโรงเรียนสอนภาษาและวัฒนธรรมไทใหญ่



 

Icon
ประเภทวัฒนธรรม

จับต้องได้ : Tangible.

Icon
หมวดหมู่วัฒนธรรม

แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาล : SP : Social Practices, ritual and festive events ขนบธรรมเนียบประเพณีเกี่ยวกับศาสนา
.

Icon
ที่ตั้ง

เลขที่ : บ้านพัฒนาบ้านกู่เต้า ถนนกู่เต้า ต. ช้างเผือก อ. เมืองเชียงใหม่ จ. เชียงใหม่ 50300

Icon
ชื่อผู้ให้ข้อมูลหรือชื่อกลุ่มผู้ให้ข้อมูล

สมโชติ อ๋องสกุล (2547). “หม่อมบัวไหลและชุมชนไทใหญ่ในเวียงเชียงใหม่”. ใน วงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่ บรรณ

Icon
ช่องทางติดต่อผู้ให้ข้อมูล

Icon
ผู้บันทึกข้อมูล

chiranthanin : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ : 2566 Open Call

Icon
แหล่งข้อมูอื่น ๆ
Link ที่เกี่ยวข้อง vdo

มีผู้เข้าชมจำนวน :152 ครั้ง
บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ : 13/12/2023 - ปรับปรุงล่าสุดวันที่ : 13/12/2023