ไทใหญ่”เป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งของชนชาติไทที่มีประวัติความเป็นมา ยาวนานกว่า 2,000 ปี มีนักวิชาการหลายท่านดังเช่น Von Eickstedt W. Eberhard William J. Gedney และสมเด็จฯ กรมพระยาดํารงราชานุภาพ ที่ระบุว่า ถิ่นเดิมของ ชนชาติไทโบราณอยู่ในบริเวณตะวันออก ตอนกลาง และตอนใต้ของจีน ต่อมาเกิดการ ต่อสู้กันอย่างขนานใหญ่กับชาวจีน และในที่สุดชาวจีนก็เป็นผู้ชนะ ชนชาติไทจึงต้อง อพยพตนเองลงมาทางใต้ (Terwiel & Diller 1990: 14 - 17) ปัจจุบันชาวไทใหญ่มีถิ่นฐานกระจายอยู่ในภูมิภาคแถบเอเชียตะวันออกเฉียง ใต้ ชาวไทใหญ่ตั้งถิ่นฐานอยู่มากที่สุดในรัฐฉานทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ชาวไทใหญ่เรียกตนเองว่า คนไต ส่วนคําว่า “ไทใหญ่” เป็นคําที่คนไทยในประเทศไทยใช้เรียกกัน แต่สําหรับคนต่างชาติจะเรียกว่า ชาน หรือ ฉาน ตามแบบภาษาพม่า ชาวไทใหญ่เหล่านี้บางส่วนได้เคลื่อนย้ายเข้ามา อาศัยอยู่ในเขตจังหวัดต่าง ๆ ของไทย โดยเฉพาะในเขตจังหวัดทางภาคเหนือ เช่น จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แมฮ่ ่องสอน เป็นต้น ซ่ึงบางคนก็ได้สัญชาติไทยในที่สุด ทางด้านเหตุการณ์ท่ีทําให้ชาวไทใหญ่ต้องอพยพเข้ามาในประเทศไทยมีหลาย เหตุการณ์ เช่น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในพม่า โดยเฉพาะระหว่าง พ.ศ. 2428 - 2429 (Kasetsiri 2001: 41) อังกฤษได้เข้ามายึดอํานาจของกษัตริย์พม่าและล้มล้างระบบ ราชาธิปไตย เป็นเหตุให้หัวเมืองต่าง ๆ ในรัฐฉานพากันก่อการจลาจล เกิดเป็น สงครามแย่งชิงอํานาจระหว่างชาวไทใหญ่กันเองและชาวไทใหญ่กับชาวพม่า สงคราม ดังกล่าวก่อให้เกิดความวุ่นวายในเมืองก๋องและเมืองใกล้เคียง ทําให้ชาวไทใหญ่จํานวน มากต้องลี้ภัยมาอยู่ในประเทศไทย โดยเฉพาะในแถบจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงราย และเชียงใหม่ นอกจากน้ี เหตุการณ์ในอดีตที่ทําให้ชาวไทใหญ่อพยพเข้ามาในประเทศไทย ก็ คือ ภายหลังจากที่พม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษใน พ.ศ. 2491 เป็นต้นมา เกิดความ ขัดแย้งทางการเมืองการปกครองระหว่างกลุ่มอํานาจและกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ภายในประเทศพม่ามาโดยตลอด เนื่องด้วยกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ พยายามที่จะ เรียกร้องเสรีภาพตามสนธิสัญญาปางโหลง และเหตุการณ์ดังกล่าวได้ทวีความรุนแรง เป็นการสู้รบ อีกทั้งเหตุการณ์ที่กองกําลัง MTA นําโดยขุนส่ายอมสลายกองทัพใน พ.ศ. 2539 (Suntivutimetee 2002: 3) ทางการพม่าได้กวาดต้อนและปราบปราม ราษฎรที่อาศัยอยู่ตามพื้นที่ต่าง ๆ อย่างหนัก เพื่อป้องกันไม่ให้ช่วยเหลือกองกําลัง กู้ชาติที่หลงเหลืออยู่ ซึ่งเป็นผลให้ชาวไทใหญ่ทั้งที่เป็นทหารในกองกําลังกู้ชาติและ ราษฎรในเขตพื้นที่การต่อสู้ในรัฐฉานต้องละท้ิงถิ่นฐานเดิมเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศ ไทยที่ปลอดภัยกว่า จากเหตุการณ์ในอดีตเป็นผลทําให้เกิดความยากลําบากกับสภาวะ ความเป็นอยู่จนกระทั่งสืบเนื่องมาถึงในปัจจุบัน ทําให้มีกลุ่มผู้อพยพชาวไทใหญ่ต้อง เดินทางเข้ามาหางานทําในประเทศไทยมากขึ้น ซึ่งส่วนมากมักจะเข้ามาในลักษณะ ของแรงงานข้ามชาติ และเป็นผลให้ในปัจจุบันชุมชนชาวไทใหญ่ที่อาศัยอยู่ใน ภาคเหนือของประเทศไทยนั้นมีจํานวนมากข้ึนในหลายจังหวัด โดยเฉพาะในเขต จังหวัดเชียงใหม่ที่มีชายแดนติดกับรัฐฉานของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ชาวไทใหญ่ที่อพยพเข้ามาอาศัยในจังหวัดเชียงใหม่นั้นมีอยู่ในหลายพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็น ชาวไทใหญ่ที่อาศัยอยู่ในชุมชนอําเภอเมือง หรือแม้แต่ในชุมชนเขตอําเภอรอบนอกก็ ตาม อย่างไรก็ตาม ชาวไทใหญ่เป็นชนชาติที่มีการแสดงออกในมิติการต่อสู้ทาง การเมือง รวมถึงการมีสํานึกทางตัวตนเพื่อแสวงหาอิสรภาพ และหลีกหนีความเป็น พม่าในเวลาเดียวกัน ดังน้ัน เครื่องมือการต่อสู้ทางหน่ึงก็คือ การใช้ภาษาในการนิยาม ความเป็นตัวตนรวมถึงใช้กําหนดความสัมพันธ์กับผู้อื่นด้วยเช่นกัน กระบวนการทาง วัฒนธรรมที่น่าสนใจน้ีก็คือการพยายามใช้ภาษาผ่านผลิตภัณฑ์สินค้าต่าง ๆ ในการ สร้างสํานึกทางชาติพันธุ์ของชาวไทใหญ่ และการอาศัยอยู่ในประเทศไทยแห่งนี้ก็ถือ เป็นโอกาสท่ีชาวไทใหญ่ไดแ้ สดงออกถึงความเป็นอัตลักษณ์ของพวกเขาได้อย่างอิสระ อัตลักษณ์ของชาวไทใหญ่เป็นเรื่องราวที่ผสมผสานระหว่างเรื่องราวทาง ประวัติศาสตร์ที่แสดงถึงความเป็นชนชาติพันธุ์ไทท่ีมีวัฒนธรรมเป็นของตนเอง ซึ่ง อัตลักษณ์เหล่านี้ได้แสดงออกในหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น ตํานาน เพลง ศิลปะการแสดง ประเพณี พิธีกรรม หรือแม้แต่ผลิตภัณฑ์สินค้าต่าง ๆ ที่สะท้อนถึง ความเป็นตัวตนของพวกเขา และในบางช่วงเวลาชาวไทใหญ่ก็มีการผลิตซ้ําทาง อัตลักษณ์โดยใช้สัญลักษณ์ทางภาษาเป็นเครื่องมือในการนําเสนออัตลักษณ์ผ่านทาง ผลิตภัณฑ์สินค้าต่าง ๆ ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า อัตลักษณ์ของชาวไทใหญ่มีส่วนสัมพันธ์กับ ภาษาที่สื่อในผลิตภัณฑ์สินค้าที่ขายในตลาดชุมชนด้วยเช่นกัน
จับต้องได้ : Tangible.
ความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล : KP : Knowledge and Practices concerning nature and the อาหารและโภชนาการ
.
เลขที่ : หมู่บ้านป่าเป้า ถนนมณีนพรัตน์ ต. ศรีภูมิ อ. เมืองเชียงใหม่ จ. เชียงใหม่ 50200
chiranthanin : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ : 2566 Open Call