ประมาณช่วงปี 2528 กำนันธานี ไพโรจน์ ร่วมกับผู้ใหญ่บ้านและชาวบ้านตำบลเกาะยอ จัดการแข่งขัน การแข่งเรือยาวของชาวเกาะยอขึ้น โดยจัดในช่วงเดือนพฤศจิกายน เพราะเป็นช่วงที่มีน้ำมาก และหลังจากนั้นก็จะจัดการแข่งขันช่วงที่มีงานเทศกาลต่างๆ เช่น ช่วงสงกรานต์ ลากพระ แต่โดยส่วนใหญ่จะจัดขึ้นปีละ 1 ครั้ง เรือที่ใช้ในการแข่งขันเป็นเรือหางยาวที่ชาวประมงใช้ในการจับปลา ทำประมงพื้นบ้าน คนแข่งเรือส่วนใหญ่จะเป็นชาวประมง ชาวบ้านในพื้นที่เกาะยอ และจะเชิญชวนชาวบ้านจากพื้นที่ใกล้เคียงมาร่วมแข่งขัน เช่น ชาวบ้านจากหัวเขาแดง ท่านางหอม บางกล่ำ บางเหรียง คูเต่า เป็นต้น สถานที่จัดการแข่งขันจะใช้ท่าน้ำวัดแหลมพ้อและวัดเขาบ่อ ในแต่ละปีจะมีเรือเข้าร่วมแข่งขันประมาณ 15-20 ลำ เป็นประเพณีที่สนุกสนานและได้รับความสนใจจากผู้คนในพื้นที่และพื้นที่ใกล้เคียงเป็นอย่างมาก แต่มาในยุคหลังๆ การจัดประเพณีแข่งเรือยาวของชาวเกาะยอมีการจัดไม่สม่ำเสมอ ในแต่ละปีมีการจัดบ้างไม่จัดบ้าง จนประเพณีนี้ได้หายไปเมื่อประมาณช่วงปี พ.ศ.2532 (สมพิศ สงพะโยม, 2566)
จับต้องได้ : Tangible.
กีฬาภูมิปัญญาไทย : SM : Folk Sport game and Martial arts กีฬาพื้นบ้าน
.
เลขที่ : ตำบล เกาะยอ อำเภอเมืองสงขลา สงขลา 90100 ต. เกาะยอ อ. เมืองสงขลา จ. สงขลา 90100
ดร. โชติกา รติชลิยกุล
ผศ.ดร.กรฤต นิลวานิช : มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา : 2566 Festival