โขนสด คือการแสดงพื้นบ้านอย่างหนึ่งของภาคกลาง เป็นการแสดงที่เกิดจากการผสมผสานการแสดง 3 ชนิด คือ การแสดงโขน การแสดงหนังตะลุง และการแสดงลิเก ผู้แสดงแต่งกายแบบการแสดงโขน สวมหัวโขนเปิดลงมาระดับหน้าผาก แต่งหน้าแบบลิเก ร้องและเจรจาเอง โดยผู้แสดงจะเป็นผู้พูดเอง บทเจรจาเอง ผู้แสดงสามารถมองเห็นใบหน้าของผู้แสดงได้อย่างชัดเจน มีสำเนียงไปทางภาคใต้ มีการใช้ท่ารำไปตามบทร้องและการพากย์ ออกท่าทางการเต้นแบบโขน มีการยักตัวแบบหนังตะลุง แสดงเรื่องรามเกียรติ์ ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในชนบท แสดงด้วยกิริยาท่าทางโลดโผดจริงจังมากกว่าการแสดงโขน มีตัวละครพระนาง ยักษ์ ลิง เช่นเดียวกับโขนหลวง มีการฝึกพื้นฐานแบบโขน เริ่มจากการถีบเหลี่ยม ตบเข่า เดินเสา ถ่องสะเอว ยักตัว หกคะเมน ตีลังกา แต่โขนสดจะใช้เวลาในการฝึกไม่นาน มีการปรับเปลี่ยนกระบวนท่า ไม่มีกระบวนท่ามากมายเหมือนอย่างโขนหลวง ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงโขนสด ได้แก่ วงปี่พาทย์เครื่องห้า ประกอบด้วย ระนาดเอก ฆ้องวง ตะโพน ทับ ปี่ และมีกลองตุก ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง โขนสดในพื้นที่มโนรมย์พบการฝึกการแสดงที่วัดใหญ่ชาวบ้านวัดใหญ่ได้ให้ความสนใจศิลปะในการแสดงโขนสด โดยพระครูปราโมทย์ชัยวัฒน์ อดีตเจ้าอาวาสวัดใหญ่ ได้ให้การสนับสนุนมาตลอด และปัจจุบันสามารถรับงานแสดงได้ตลอด ในปัจจุบันทางวัดใหญ่ได้มีการเปิดการเรียนการสอนการแสดงโขนให้เด็กนักเรียนในพื้นที่ โดยนายนุกูล ปิ่นแก้ว หรือผู้ใหญ่โต้ง เป็นผู้ถ่ายทอดการแสดงโขนสด เป็นคณะโขนสดที่อยู่ในอำเภอมโนรมย์มาช้านาน เป็นผู้ที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากปู่ย่าตายาย ซึ่งได้มีการแสดงโขนสดตามงานมหรสพในพื้นที่อำเภอมโนรมย์ และพื้นที่อำเภออื่น ๆ ในจังหวัดชัยนาทและจังหวัดใกล้เคียง ขณะนี้มีคณะโขนสดของผู้ใหญ่โต้งเพียงคณะเดียวที่เหลืออยู่ คือ คณะโขนสดคณะเยาวชนก้าวหน้าวัดใหญ่ เพื่อให้สามารถนำการแสดงโขนไปต่อยอดได้ในอนาคต เช่นการนำเอาไปเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา และเพื่อไม่ให้การแสดงโขนได้สูญหายไป ให้คนรุ่นหลังได้สืบสานวัฒนธรรมอันดีงามนี้ต่อไป
จับต้องได้ : Tangible.
ศิลปะการแสดง : PA : Performing Arts นาฏศิลป์และการละคร
.
เลขที่ : - ต. ท่าฉนวน อ. มโนรมย์ จ. ชัยนาท 17110
1.นายประทิน บัววัตน 2.นายเบี้ยว เชตุใจ และ 3.นายมนัส ฟักปาน
คณะโขนสดเยาวชนวัดใหญ่ หมู่ที่1 ตำบลท่าฉนวน อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท
Pisarn : มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม : 2566 Festival