องค์การบริหารส่วนตำบลท่าดี อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่สร้างเครือข่ายสำหรับการจัดเทศกาลลากพระทางน้ำทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และการมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม การฟื้นฟู การสืบสาน และการอนุรักษ์ เทศกาลลากพระทางน้ำ โดยมีช่วงเวลา ที่มีการนำเรือพระของวัดพัทธเสมาลงลากในลำธาร โดยการลากนั้นใช้คนลากไปบนลำธารอย่างสนุกสนานตามที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ ส่วนบนเรือพระหรือบุษบก มีพระลากหรือพระพุทธรูปโบราณปางอุ้มบาตรศิลปะอยุธยาประจำวัดถูกนำไปประดิษฐานเพื่อให้ชาวบ้านบูชา กิจกรรมงานสมโภชพระลาก และลากพระทางน้ำของวัดพัทธเสมา ซึ่งเป็นเป็นประเพณีที่สืบสานอนุรักษ์สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน มิติเวลา จากเวทีปฏิบัติการพบว่า มิติเวลาของตำบลท่าดี จำแนกมิติเวลาออกเป็น 4 ช่วงเวลาใหญ่ๆ ดังนี้ 1. ก่อนปี พ.ศ. 2500 ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชเกิดโรคห่า มีกลุ่มคนจำนวนหนึ่งย้ายมาที่อำเภอลานสกา คือคนจากตัวเมืองนครศรีธรรมราช จึงทำให้ชุมชนที่อาศัยอยู่ในหมู่ที่ 6 เป็นกลุ่มคนที่เป็นคนเก่าแก่ที่สุดในตำบลท่าดี อำเภอลานสกา ผู้คนส่วนใหญ่เป็นคนไทยพุทธ มีอาชีพทำสวน ทำสวนทุเรียน และทำนา เริ่มแรกพื้นที่แบ่งออกเป็นหมู่บ้าน 6 หมู่บ้าน พื้นที่ของตำบลท่าดีมีความอุดมสมบูรณ์ มีแหล่งน้ำคลองท่าดี (น้ำจากเทือกเขาหลวง) มีทรัพยากรป่า และสัตว์ป่า โดยในสมัยอดีตใช้เรือเป็นพาหนะในการเดินทางและการแลกเปลี่ยนสินค้า เป็นการเปลี่ยนสินค้ากันคนในพื้นที่ปากพนัง สมัยก่อนเรียกว่า เรือเหนือ ใช้คลองท่าดีเดินทางไปที่อำเภอปากพนังได้ ดังนั้นบ้านคนจึงอาศัยอยู่ในริมคลองท่าดี มีการขนส่งสินค้าทางเรือเพื่อมาลงเรือที่ท่าดีด้วย 2. ปี พ.ศ. 2500 - พ.ศ.2530 ในปี พ.ศ. 2500 ในพื้นที่เริ่มสร้างถนนสาย 401 เริ่มมีไฟฟ้าใช้และในชุมชนมีการเริ่มปลูกผักกูด มีกลุ่มคนเริ่มมีการนำสินค้าผลไม้ไปขายในตัวเมืองนคร มีการริมขายข้างทาง การนำไปขายในตัวเมืองนครใช้บรรทุกไปขายช่วงแรก ๆ โดย นายทองอ่ำ ยอดพิจิตร พ่อดำ ช้างกลาง กำนันพรั่ง ตลึงจิตร เกิดมีตลาดในหมู่บ้าน เป็นตลาดเล็ก ๆ ในชุมชนเกิดขึ้น มีร้านขายสินค้าในชุมชนเป็นร้านแรกๆ มีการขายข้าวแกง มีการขายเรือซื้อเกวียนเกิดขึ้น เนื่องจากผู้คนเริ่มมีการขายเกิดขึ้น รถยนต์จิ๊บคันแรกในพื้นที่คือของกำนันด้วง พื้นที่ตำบลท่าดีมีผลไม้ที่มีในพื้นที่มากขึ้น เช่น มังคุด กล้วย จำปาดะ ขนุน ลูกเนียง ทุเรียน ในปี พ.ศ. 2510 เริ่มมีไฟฟ้าใช้เข้ามาในชุมชนท่าดี พ.ศ. 2518 เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ และในปี พ.ศ. 2520 ในพื้นที่มีไฟฟ้าใช้ทั้งหมู่บ้าน 3. ปี พ.ศ. 2531- พ.ศ. 2552 ชุมชนมีความทรงจำร่วมกัน โดยในปี พ.ศ. 2531 มีการเริ่มปลูกผักกูดมากขึ้น เกิดสถานการณ์ภัยพิบัติมีน้ำท่วมใหญ่ ผู้คนต้องมีการเคลื่อนย้ายที่อยู่อาศัย ไปสร้างที่อยู่แหล่งใหม่ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ แต่บางคนยังอาศัยอยู่ที่เดิม แต่ใช้วิธีการขยับออกมาจากคลองที่น้ำท่วมไป ในปี พ.ศ.2537 มีการตั้งเทศบาล และอบต. มีการเกิดการจัดเป็นชุมชนมากขึ้น ทำให้ที่ดินในพื้นที่มีราคาสูงขึ้น สร้างระบบสาธารณูปโภคครบครัน ใช้ถนนเป็นเส้นทางสัญจรสะดวก ตั้งแต่สมัยที่รัฐได้เข้ามามีการจัดสรรที่ดิน (บ้านจัดสรร) หลังจากน้ำท่วมครั้งใหญ่ในปี พ.ศ. 2531 หลังจากสถานการณ์น้ำท่วมใหญ่ ชุมชนและวัด โรงเรียนได้รับผลกระทบครั้งใหญ่ วัดจันทร์ซึ่งเดิมเป็นวัดที่มีชื่อเสียง และถูกน้ำท่วมหนักต้องย้ายวัดไปอยู่บนที่สูงแทนที่อยู่เดิม จากอุทกภัยครั้งใหญ่ทำให้ประเพณีลากพระทางน้ำของวัดจันทร์ก็ได้หายไปในปีถัดมา ประเพณีที่เคยปฏิบัติได้หายไป คือ การลากพระของวัดจันทร์กับวัดพัทธเสมาที่ในทุกประเพณีลากพระ ทั้งสองวัดจะลากพระมาเจอกันที่สะพานท่าดี การลากพระทางน้ำของวัดจันทร์จึงได้เปลี่ยนเป็นลากพระบกแทน แต่วัดจันทร์ยังคงมีพระลากที่มีชื่อเสียงอยู่เช่นเดิม ในบริทบททางสังคมพบว่าในชุมชนบางครอบครัวมีการจัดสรรที่ดินให้จากรัฐ ได้มีการย้ายที่อยู่ไปยังหมู่บ้านจุฬาภรณ์ที่อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช ผลจากสถานการณ์รัฐเข้ามาช่วยเหลือมีช่องทางที่เข้ามาทำให้มีคนเริ่มรู้จักคีรีวงมากขึ้น รู้จักตำบลท่าดีมากขึ้นในสมัยนั้น 4. พ.ศ. 2553-ปัจจุบัน จุดขายของพื้นที่ตำบลท่าดีคือมีพื้นที่ติดกับหมู่บ้านคีรีวง เป็นแหล่งโอโซนที่ดีที่สุด ในปี พ.ศ. 2540 คือจุดเริ่มต้นของการโดดเด่นด้านการท่องเที่ยวชุมชน ตำบลท่าดี ตำบลกำโลนได้ขายอาหารชุมชน มีโฮมสเตย์ มีร้านอาหาร กลุ่มแผ้ามัดย้อม และสินค้าอื่นๆ จากสถานการณ์ด้านการท่องเที่ยวจึงทำให้พื้นที่เกิดปัญหารถติดในช่วงเทศกาลหรือวันหยุด ชุมชนมีการขยายถนน มีปัญหาการรุกล้ำพื้นที่ และมีนายทุนเข้ามาทำธุรกิจในพื้นที่มากขึ้น และชุมชนมีปัญหาขยะ
จับต้องไม่ได้ : InTangible.
พื้นที่วัฒนธรรม : CS : Cultural Space พื้นที่วัฒนธรรมที่เป็นพื้นที่ที่มนุษย์สร้างขึ้น
.
เลขที่ : ต. ท่าดี อ. ลานสกา จ. นครศรีธรรมราช 80230
ขวัญตา หนูปล้อง : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช : 2566 Festival