PMU ทุนทางวัฒนธรรม


ข้อมูลวัฒนธรรม : TC-90330-00005 [ ได้รับทุนจากโครงการ ]

ช่างปูนปั้น (ช่างนวย และ ช่างเอก)
-

ช่างปูนปั้น จากการศึกษาของ จรูญ ศรียะพันธุ์ (2550) พบว่า ลวดลายปูนปั้นประดับสถาปัตยกรรมทางพุทธศาสนาในคาบสมุทรสทิงพระจะมีลวดลาย 3 กลุ่ม ได้แก่ ลายกนก ลายพรรณพฤกษา และลายพิเศษอื่น ๆ ลวดลายปูนปั้นที่ปรากฏบนหน้าบันอุโบสถสร้างขึ้นเพื่อเป็นตัวแทน หรือสัญลักษณ์ถึงคติความเชื่อทางศาสนา และขนบนิยมที่ผู้คนในชุมชนได้รับจากอดีต และปฏิบัติมาถึงปัจจุบัน อิทธิพล ความเชื่อนั้นส่งผลต่อคุณค่าด้านจิตใจของคนในสังคมที่มีวัดเป็นสถาบันหลัก ให้ความคุ้มครอง เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ ความเชื่อที่ปรากฏในลวดลายปูนปั้นสามารถนำมาพิจารณาถึงอิทธิพลความเชื่อของคนในชุมชนที่มีต่อพุทธศาสนา และลักษณะของรูปแบบยังส่งผลให้เกิดการรับรู้เชิงความงามที่ควรค่าแก่การหวงแหนและอนุรักษ์ ดังนั้น จึงเห็นได้ว่าคุณค่าและความสำคัญของงานศิลปกรรมปูนปั้นที่ประดับตกแต่งสถาปัตยกรรมเหล่านี้ได้สะท้อนให้เห็นถึงการแสดงออกต่อคติความเชื่อ ภูมิปัญญา และความเป็นอยู่ของชุมชนในคาบสมุทรได้อย่างชัดเจน คณะวิจัยพบว่าปัจจุบันยังคงมีช่างปูนปั้นอยู่ในพื้นที่ตำบลชะแล้และตำบลบางเขียด อาทิ ช่างเอก ซึ่งเป็นช่างปูนปั้นในตำบลชะแล้รู้สึกรักในศิลปะแขนงนี้ เนื่องจากเห็นบิดาทำมาตั้งแต่เด็ก ๆ จึงได้เรียนรู้และสืบทอดทักษะการปั้นต่อจากบิดา ลักษณะลวดลายปูนปั้นจะทำเพื่อใช้ประดับสถาปัตยกรรมทางพุทธศาสนา เช่น ปั้นช่อฟ้า กนก หน้าบัน ประตูทางเข้าวัด เป็นต้น



 

Icon
ประเภทวัฒนธรรม

จับต้องได้ : Tangible.

Icon
หมวดหมู่วัฒนธรรม

งานช่างฝีมือดั้งเดิม : TC : Traditional Craftsmanship เครื่องปั้นดินเผา
ผลิตภัณฑ์อย่างอื่น
.

Icon
ที่ตั้ง

เลขที่ : ชะแล้ ต. ชะแล้ อ. สิงหนคร จ. สงขลา 90330

Icon
ชื่อผู้ให้ข้อมูลหรือชื่อกลุ่มผู้ให้ข้อมูล

Icon
ช่องทางติดต่อผู้ให้ข้อมูล

Icon
ผู้บันทึกข้อมูล

พัตรธีรา สุวรรณวงศ์ : มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ : 2566 Open Call

Icon
แหล่งข้อมูอื่น ๆ
-

มีผู้เข้าชมจำนวน :152 ครั้ง
บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ : 10/01/2024 - ปรับปรุงล่าสุดวันที่ : 10/01/2024