ไข่ครอบ ไข่ครอบสงขลาได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2566 จัดเป็นภูมิปัญญาในการถนอมอาหารอย่างหนึ่งโดยเฉพาะของชาวประมง เนื่องจากชาวประมงทะเลสาบสงขลาใช้อวน แห กัดหรือข่าย ที่ตัดเย็บขึ้นเองด้วยด้าย โดยงานถักอวนจะเป็นของผู้หญิง ผู้ชายก็จะนำอวน แห ไปหาปลากันเป็นคณะ เมื่อใช้อวน แห กัด หรือตาข่ายไปประมาณครึ่งเดือน หรือสัปดาห์ละครั้ง ส่วนใหญ่จะตรงกับวันพระหรือวันศุกร์ที่ต้องหยุดทำพิธีทางศาสนาก็จะนำเครื่องมือเหล่านั้นกลับมาย้อมใหม่ เพราะข่ายที่ทำด้วยด้ายดิบ เมื่อโดนน้ำหลายครั้ง ด้ายจะพองและจมน้ำช้าลง ชาวประมงจึงหยุดพักทำการประมง เพื่อย้อมข่ายโดยใช้ไข่เป็ด การย้อมจะเอาแต่เฉพาะไข่ขาวเพียงอย่างเดียวผสมกับน้ำแล้วคนให้เข้ากัน ไข่แดงที่เหลือจากการย้อมอวน ชาวประมงจะเอามาทำไข่ครอบ โดยตอนที่แกะเปลือกไข่เป็ดเอาไข่ขาวออกมาให้กะเทาะตรงปลายไข่ด้านหนึ่งแล้วค่อย ๆ ปอกเปลือกออกประมาณ 1 ใน 4 ของฟอง ปากฟองที่ปอกต้องเสมอกัน เทไข่ลงในภาชนะ ไข่แดงที่เหลือทำไข่ครอบ โดยนำไข่แดง 2 ฟอง ใส่ลงไปในเปลือกไข่ตามเดิมแล้วเยาะเกลือป่นละเอียดพอสมควร นำเปลือกไข่อีกฟองหนึ่งซึ่งปอกเปลือกเหลือประมาณครึ่งฟองมาครอบเปลือกไข่ที่บรรจุไข่ 2 ฟองนั้น หมักทิ้งไว้ 1 คืน เพื่อรสเค็ม จะแผ่ไปทั่วไข่แดงแล้วนำไปนึ่งให้สุก ไข่ครอบแต่ก่อนใช่จะหากินกันได้ง่าย ๆ จะมีกิน มีขายก็ต่อเมื่อมีการย้อมเส้นด้าย ในช่วง 1 - 2 สัปดาห์ แต่ปัจจุบันจะทำขายเป็นอาชีพกันหลายครอบครัว พบเห็นได้ตามตลาดนัดวันต่าง ๆ ของสงขลา ในร้านข้าวแกง ก็จะมีจำหน่ายเช่นเดียวกัน ไข่ครอบจะมีการทำกันเฉพาะในครอบครัวของชาวประมงริมทะเลสาบฝั่งตะวันออก เป็นเอกลักษณ์ท้องถิ่นของสงขลา (ทิวาพร จันทร์แก้ว, 2561)
จับต้องไม่ได้ : InTangible.
ความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล : KP : Knowledge and Practices concerning nature and the อาหารและโภชนาการ
.
เลขที่ : สะทิ้งหม้อ ต. สทิงหม้อ อ. สิงหนคร จ. สงขลา 90280
นายสมจิตร ยิ้มสุด
093-626-2881
พัตรธีรา สุวรรณวงศ์ : มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ : 2566 Open Call