มะม่วงเบาสิงหนคร ทั้งผลสด มะม่วงเบาแช่อิ่ม และมะม่วงเบาดองเกลือเป็นอีกหนึ่งภูมิปัญญาที่ได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2565 เป็นสินค้าสำคัญที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวที่มักซื้อเป็นของฝาก เนื่องจากอำเภอสิงหนคร มีพื้นที่ปลูกมะม่วงเบากว่า 3,000 ไร่ มีเกษตรกรประมาณ 1,476 ครัวเรือน โดยเฉพาะตำบลสทิงหม้อ มีจำนวนเกษตรกรปลูกมะม่วงเบา 159 ราย เนื้อที่ปลูก 300 กว่าไร่ ปริมาณการผลิต 442 ตัน มีการแปรรูปเพียง 9% ของผลผลิต ที่เหลือขายต่อให้พ่อค้าท้องถิ่น และพ่อค้าต่างถิ่น มีการแปรรูปมะม่วงเบาเป็นผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย เช่น มะม่วงเบาแช่อิ่มอบแห้ง มะม่วงเบาแช่อิ่ม แยมมะม่วงเบา น้ำมะม่วงพาสเจอไรซ์ น้ำมะม่วงเบาพร้อมดื่ม น้ำมะม่วงเบาโซดา น้ำมะม่วงเบาสับปะรดข่า และมะม่วงเบาผงพร้อมดื่ม (สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสงขลา, 2563) เหตุที่อำเภอสิงหนครปลูกมะม่วงเบาจำนวนมากมากว่า 100 ปี เนื่องจากในอดีตการปลูกมะม่วงสามารถปลูกได้ง่าย เป็นไม้ผลที่เหมาะกับสภาพดินในพื้นที่ แต่ละบ้านจึงปลูกไว้กิน บ้างปลูกเป็นพื้นที่สีเขียว บ้างปลูกเพื่อเป็นอาณาเขตของบ้าน ภายหลังที่สะพานติณสูลานนท์สร้างเสร็จ การเดินทางระหว่างสิงหนคร เกาะยอ และหาดใหญ่ มีความสะดวกมากขึ้นทําให้การค้าขายคล่องตัว เริ่มมีพ่อค้าคนกลางรับซื้ออาหารทะเล ผลผลิตทางการเกษตร และมะม่วงเบามาขายในตลาดหาดใหญ่ และทำให้มะม่วงเบาสิงหนครเป็นที่รู้จักมากขึ้นตามลำดับ
จับต้องไม่ได้ : InTangible.
ความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล : KP : Knowledge and Practices concerning nature and the อาหารและโภชนาการ
.
เลขที่ : สะทิ้งหม้อ ต. สทิงหม้อ อ. สิงหนคร จ. สงขลา 90280
ป้าติ้ว
089 976 1262
พัตรธีรา สุวรรณวงศ์ : มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ : 2566 Open Call