ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ในคาบสมุทรสทิงพระมีร่องรอยความเจริญรุ่งเรืองของภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยของหมอพื้นบ้านที่มีการยอมรับในการใช้งาน การป้องกันดูแล และการรักษาสุขภาพได้จริงอยู่ในชุมชน รูปแบบการรักษามีทั้งการรักษาสุขภาพทั้งทางกาย ทางใจ และจิตวิญญาณ เช่น การตั้งครู การใช้คาถาประกอบการรักษา การรักษาด้วยสมุนไพร ทั้งนี้ สุธี เทพสุริวงค์ (2563) ระบุว่า หมอพื้นบ้านที่มีประสบการณ์ในการรักษาโรคมาไม่น้อยกว่า 10 ปี และยังคงอยู่เป็นหมอพื้นบ้าน ในแถบคาบสมุทรสทิงพระมีจำนวน 45 คน ซึ่งเป็นหมอพื้นบ้านจากอำเภอสิงหนครถึง 15 คน โดยส่วนใหญ่แล้วเป็นผู้ชายนับถือศาสนาพุทธ มีอายุระหว่าง 71 – 90 ปี ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าหมอพื้นบ้านมีแนวโน้มลดลง ส่วนใหญ่มีการสืบทอดมากจากบรรพบุรุษ หมอพื้นบ้านมี 3 ประเภท ได้แก่ หมอนวด หมอจัดยาสมุนไพร และหมอที่เป็นร่างทรงใช้ไสยศาสตร์ และหมอพื้นบ้านที่พบมากที่สุด คือ หมอนวด มีทั้งนวด จัดกระดูก รักษาอัมพฤกษ์ อัมพาต ใช้สมุนไพรและคาถามร่วมด้วย นอกจากนี้ยังพบอีกว่าหมอพื้นบ้านมีความเชื่อเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น ผู้ที่ทำหน้าที่เก็บยาสมุนไพรจะต้องไม่ให้เงาตนเองไปบดบังต้นยาสมุนไพร หรือก่อนเก็บต้นยาสมุนไพรจะต้องว่าคาถาเสียก่อน
จับต้องไม่ได้ : InTangible.
ความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล : KP : Knowledge and Practices concerning nature and the การแพทย์แผนไทยและการแพทย์
.
เลขที่ : ชุมชนสทิ้งหม้อ ต. สทิงหม้อ อ. สิงหนคร จ. สงขลา 90280
พัตรธีรา สุวรรณวงศ์ : มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ : 2566 Open Call