วัดมะม่วงหมู่ เป็นวัดที่สร้างขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2299 สมัยสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ ตั้งอยู่บ้านมะม่วงหมู่ หมู่ที่ 4 ตำบลสทิงหม้อ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา วัดมะม่วงหมู่มีประเพณีแต่งงานกับนางไม้อันเป็นเอกลักษณ์ ด้วยตํานานเล่าว่ามีเทพสตรีที่สิงสถิต ณ ต้นไม้ใหญ่ภายในวัด คนละแวกนี้เคารพนับถือท่านให้เป็นเทพผู้คุ้มครองปกปักรักษาให้คลาดแคล้วจากภยันตราย จึงมีประเพณีเพื่อแสดงความเคารพนั่นคือ หากชายใดจะทําการอุปสมบทต้องถือขันหมากมาสู่ขอและ ขอขมาลาโทษกับนางไม้ที่ศาลซึ่งตั้งอยู่บริเวณหน้าวัดเสียก่อน จึงจะบวชได้ และเมื่อลาสิกขาแล้วก็ต้องเข้าหออยู่โยงที่บ้าน เป็นเวลา 3 วัน โดยไม่ออกไปไหนเสมือนว่าได้อาศัยอยู่ร่วมกับนางไม้เป็นคู่ผัวตัวเมียกัน ในการยกขันหมากจะมีคนช่วยแต่งตัวให้เจ้าบ่าว ซึ่งจะอยู่ในชุดโจงกระเบนเสื้อเชิ้ตแขนยาว สวมรองเท้าหนังโดยมีถุงเท้าสีขาวยาวถึงเข่า มีอาวุธพกประจำตัวคือ กริช จะเหน็บไว้บริเวณขายพกผ้าค่อนมาทางด้านหน้า นอกจากนั้นยังมีอาวุธพกประจำตัวของเจ้าบ่าวคือกริช จะเหน็บไว้บริเวณชายพกผ้าค่อนมาทางด้านหน้าเป็นวัฒนธรรมที่สืบต่อมาจากมลายูเป็นหลัก เพราะการแต่งกายและเหน็บกริชของชวาจะเหน็บไว้ทางด้านหลัง
จับต้องไม่ได้ : InTangible.
วรรณกรรมพื้นบ้าน : FL : Folk Literature ตำนานพื้นบ้าน
.
เลขที่ : ต. ทำนบ อ. สิงหนคร จ. สงขลา 90280
ดร. ณภัทร แก้วภิบาล : มหาวิทยาลัยทักษิณ : 2566 Open Call