“น้ำ” ที่เวียงเจ็ดลินนี้ ถือว่าเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ อนึ่ง ได้รับน้ำจากดอยสุเทพ และ ศูนย์กลางของเมืองก็ยังเป็นแหล่งน้ำผุด เวียงเจ็ดลินน่าจะเป็นเวียงที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อการประทับพักผ่อน เล่นนํ้าตก เข้าป่าล่าสัตว์ ของชนชั้นสูงของเมืองเชียงใหม่ รวมทั้งเป็นสถานที่ต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง เวียงเจ็ดลินจึงมิใช่เป็นเมืองที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง แต่เป็นหนึ่งในกลุ่มเวียงบริวารของเมืองเชียงใหม่ เวียงเจ็ดลินไม่น่าจะเป็นเมืองที่มีการอยู่อาศัยที่ประกอบไปด้วยวัง วัด ตลาด บ้าน แต่เป็นเวียงบริวารที่เป็นองค์ประกอบทางผังเมืองของเมืองเชียงใหม่ จากแนวคิดนี้เชื่อมโยงให้เห็นภาพเมืองเชียงใหม่โดยรวมว่าอยู่อาศัยจริงในเขตเมืองชั้นในและชั้นนอก มีกลุ่มเวียงบริวารที่ทำหน้าที่เฉพาะร่วมด้วย ได้แก่ เวียงกุมกาม เพื่อการอยู่อาศัยแต่มีปัญหานํ้าท่วม เวียงสวนดอกเพื่อการศาสนา เวียงบัวเพื่อการพักผ่อนใกล้หนองบัว หรือหนองนํ้าขนาดใหญ่ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเมือง และเวียงเจ็ดลินเพื่อการพักผ่อนตากอากาศเชิงดอยสุเทพ เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีน้ำหล่อเลี้ยงใต้ผิวดินเป็นปริมาณมาก จึงส่งผลให้พื้นที่รอบตาน้ำมีความอุดมสมบูรณ์ด้านระบบนิเวศ ปัจจุบันความสำคัญด้านพิธีกรรม ความศักสิทธิ์ไม่ปรากฎเนื่องด้วยปัจจุบันตาน้ำโบราณตั้งอยู่ในพื้นที่ของปศุสัวต์เขต 5 ภายในเวียงเจ็ดลินไม่ใช่ชุมชนเพื่ออยู่อาศัยอีกต่อไป แต่ยังคงปรากฎการใช้งานเพื่อการเกษตร และปศุสัตว์อยู่
จับต้องได้ : Tangible.
พื้นที่วัฒนธรรม : CS : Cultural Space .
เลขที่ : ต. สุเทพ อ. เมืองเชียงใหม่ จ. เชียงใหม่ 50200
ศักดิ์นรินทร์ ชาวงิ้ว เวียงเจ็ดลิน ศูนย์วัฒนธรรมศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ปีที่ 2 ฉบ
chiranthanin : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ : 2566 Open Call