เจดีย์จุลประโทนเป็นโบราณสถานสมัยทวารวดีที่สำคัญ ตั้งอยู่ไม่ใกลจากพระประโทณเจดีย์ สันนิษฐานว่าบริเวณที่ตั้งของพระประโทณเจดีย์และเจดีย์จุลประโทน คือ จุดศูนย์กลางของเมืองนครปฐมโบราณ เจดีย์จุลประโทนเป็นศาสนสถานที่มีแผนผังฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ส่วนฐานประดับตกแต่งด้วยแผ่นภาพปูนปั้นและดินเผา เล่าเรื่องชาดกในพุทธศาสนา ซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญที่สะท้อนถึงความเชื่อและวิถีชีวิตของผู้คนในชุมชนนครปฐมโบราณ ซึ่งเป็นหลักฐานที่สามารถนำมาใช้ในการศึกษาประวัติศาสตร์และโบราณคดีสมัยทวารวดีได้เป็นอย่างดี กรมศิลปากรร่วมกับสำนักฝรั่งเศสแห่งปลายบุรพทิศ ดำเนินการขุดศึกษาทางโบราณคดีเจดีย์จุลประโทน ใน พ.ศ. 2482 ถึง พ.ศ. 2483 ภายใต้การนำของ หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ ร่วมกับศาสตราจารย์ปิแอร์ ดูปองต์ (Pierre Dupont) ภัณฑารักษ์และนักโบราณคดีชาวฝรั่งเศส ได้ร่วมกันขุดค้นบริเวณเจดีย์จุลประโทนที่ขณะนั้นเป็นเนินอิฐที่มีต้นไม้ขึ้นปกคลุม พบว่าเป็นซากของฐานเจดีย์ มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยม ในครั้งแรกของการขุดค้นนั้นศาสตราจารย์ปิแอร์ ดูปองต์ ได้เรียกชื่อ เจดีย์จุลประโทนว่า วัดพระประโทน เพราะตั้งอยู่ในบริเวณวัดพระประโทณเจดีย์ ต่อมากรมศิลปากรจึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น เจดีย์จุลประโทน เพราะเกรงว่าจะสับสนกับ เจดีย์พระประโทนซึ่งมีอยู่อีกองค์หนึ่งในบริเวณวัดพระประโทณเจดีย์ จากการขุดค้นทางโบราณคดีครั้งนี้พบว่ามีร่องรอยของการก่อสร้างอย่างน้อย3ครั้ง ลักษณะของเจดีย์จุลประโทนสันนิษฐานว่าเป็นเจดีย์ทรงปราสาทซ้อนลดหลั่นกันขึ้นไปอยู่ในผังสี่เหลี่ยมยกเก็จ การก่อสร้าง ในระยะแรกมีลานทักษิณที่มีบันไดขึ้น 4 ด้าน องค์เจดีย์ประดับด้วยพระพุทธรูปประทับยืน 5 องค์ อยู่ภายในซุ้ม ในระยะต่อมามีการก่อลานทักษิณให้สูงปิดทับส่วนล่างของเจดีย์เอาไว้ ในระยะสุดท้ายจึงมีการก่อเจดีย์ขนาดเล็กที่มุมทั้ง 4 ของลานทักษิณที่ขยายใหญ่ขึ้นกว่าเดิมเล็กน้อย ทั้งยังนำพระพุทธรูปประทับนั่งห้อยพระบาท 3 องค์ และพระพุทธรูปนาคปรก 2 องค์ มาประดิษฐานภายในซุ้มแทนที่พระพุทธรูปประทับยืน ต่อมาใน พ.ศ. 2502 มีการตีพิมพ์รายงานการขุดค้นของ ศาสตราจารย์ปิแอร์ ดูปองต์ โดยใช้ชื่อว่า โบราณคดีมอญแห่งอาณาจักรทวารวดี ได้กล่าวถึง ลักษณะของเจดีย์จุลประโทนและการซ่อมเสริมใหม่อีก 2 ครั้งส่วนภาพปูนปั้นที่ประดับฐานเจดีย์นั้น ศาสตราจารย์ปิแอร์ ดูปองต์ ได้พบเพียงไม่กี่ภาพคือด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ รูปช้างกำลังเดิน และรูปครุฑ ด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ ได้แก่ รูปสิงห์หมอบ และด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ได้แก่ รูปช้างกำลังเดิน ทำให้ศาสตราจารย์ปิแอร์ ดูปองต์ กล่าวว่า ภาพที่ประดับด้านหน้าของฐานลานประทักษิณ เป็นรูปช้างสลับกับรูปครุฑ ในขณะที่สองข้างบันไดเป็นรูปสิงห์นั่ง ซึ่งควา
จับต้องได้ : Tangible.
โบราณสถาน : AS : Archeological Site โบราณสถานสัญลักษณ์แห่งชาติ
.
เลขที่ : โบราณสถานเจดีย์จุลประโทน ตำบล ธรรมศาลา อำเภอเมืองนครปฐม นครปฐม 73000 ต. ธรรมศาลา อ. เมืองนครปฐม จ. นครปฐม 73000
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม ม.ราชภัฏนครปฐม
ลัทธสิทธิ์ ทวีสุข : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม : 2566 Open Call