“นางแมวเอยมาร้องแป้วแป้ว ที่ฟากข้างโน้นขอฟ้าขอฝน รดแมวข้ามั่งค่าจ้างแมวมาได้เบี้ยยี่สิบ มาซื้อหมากดิบ มาล่อนางไม้นางไม้ภูมิใจ นุ่งผ้าตะเข็บทองไอ้หุนตีกลองไอ้หักบ้ากะตูไอ้งูฟันกัน หัวล้านตีกลองฝนก็เทลงมา ฝนก็เทลงมา เต็มทุ่งเต็มท่าเต็มนาสองห้อง” การทำพิธีแห่นางแมวจะจัดพิธีขึ้นทุกปีในเดือนมิถุนายนหรือถ้าเดือนไหนฝนฟ้าตกตามฤดูกาลก็จะไม่มีพิธีดังกล่าว ซึ่งก่อนวันเริ่มงานชาวบ้านที่มีความเชี่ยวชาญจะเตรียมดินโคลนตามทุ่งนามาปั้นหุ่นตาเถร ยายชี ซึ่งดินที่ใช้จะมีกลุ่นค่อนข้างรุนแรงเสมือนเป็นตัวแทนสิ่งที่ไม่ดีสิ่งสกปรกมาปั้นหุ่น ในการปั้นหุ่นตาเถรยายชีนั้นใช้เวลานานกว่า 7 วัน เนื่องจากหุ่นปั้นมีขนาดและรูปร่างเท่าคนจริงและกลิ่นดินโคลนที่ค่อนข้างรุนแรง ซึ่งลักษณะของหุ่นปั้นจะปั้นให้ตาเถรยายชีกำลังนั่งอยู่ในท่าเสพสมกัน มีการปั้นหน้าตาที่สื่อถึงความเป็นเพศชายและเพศหญิงนำเชือกฟางมาเป็นผม และนำตัวแทนของท่านขุนมาร่วมพิธีแห่นางแมวนั่นคือ ปลักขิก วันพิธีแห่นางแมวที่ตำบลดอนยายหอม อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ชาวบ้านดอนยายหอมจะแต่งตัวสีสันสดใส ดนตรีร่วมขบวนชุดใหญ่โดยในขบวนแห่จะประกอบด้วยแมวปลอมในตะกร้าคนแบกหาบแมวปลิกขิกในตะกร้าหลายอันหาบใส่ข้าวเมื่อเริ่มเดินขบวนจะมีผู้นำตะโกน“นางแมวเอยมาร้องแป้วแป้วที่ฟากข้างโน้นขอฟ้าขอฝนรดแมวข้ามั่งค่าจ้างแมวมาได้เบี้ยยี่สิบมาซื้อหมากดิบมาล่อนางไม้นางไม้ภูมิใจนุ่งผ้าตะเข็บทองไอ้หุนตีกลองไอ้หักบ้ากะตูไอ้งูฟันกันหัวล้านตีกลองฝนก็เทลงมาฝนก็เทลงมาเต็มทุ่งเต็มท่าเต็มนาสองห้องฮิ้ว”ซึ่งการแห่นางแมวขบวนของชาวบ้านจะเดินแห่ไปตามบ้านชาวบ้านที่อยู่ระหว่างทางจะมีการนำน้ำมารใส่แมวที่อยู่ในตระกร้าและจะมาร่วมกันทำบุญ เช่น เงิน ข้าวสาร เป็นต้น ซึ่งในระหว่างทางชาวบ้านที่ถือปลักขิกตัวแทนท่านขุนจะนำไปทิ่มแทงในหมู่บ้านหรือบ้านต่างๆ เพื่อให้เทวดาของบ้านโกรธเพราะว่าถ้าหากเทวดาโกรธอาจจะบันดาลให้ฝนตกลงมาเมื่อขบวนแห่นางแมวเดินทางถึงศาลแม่ย่าบางยางแล้วจะมีพิธีกรรมเข้าร่างทรงของแม่ย่าบางยางและจะมีการทำนายว่าในอนาคตหมู่บ้านดอนยายหอมอำเภอเมืองจังหวัดนครปฐม จะเป็นอย่างไรพอเสร็จพิธีกรรมร่างทรงของแม่ย่าบางยางในช่วงเย็นจะนิมนต์พระวัดดอนยายหอมมาสวดมนต์ในบทขอฝน ณ ศาลาร่วมใจซึ่งอยู่ข้างๆศาลแม่ย่าบางยางเมื่อพระสวดเสร็จจะมีกิจกรรมที่ชาวบ้านจะทำร่วมกันที่ศาลแม่ย่าบางยางก็คือชมหนังตะลุงและละครต่างๆโดยจะเป็นการจ้างมาเพื่อให้ชาวบ้านตำบลดอนยายหอมได้สังสรรค์เป็นการสร้างความสามัคคีอย่างหนึ่งในหมู่ชาวบ้าน ปัจจุบันนี้พิธีแห่นางแมวมีพิธีการควบคู่กับพิธีบวงสรวงแม่ย่าบางยางและศาลท่านขุนศาลแม่ย่าบาง ยางอยู่ที่ตำบลดอนยายหอมจะมีความผูกพันธ์กับคนที่ดอนยายหอมรวมถึงการเชื่อมโยงไปยังศาลท่านขุนซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์เก่าแก่ที่อยู่ในบริเวณป่าไผ่ใกล้ๆกับศาลแม่ย่าบางยางซึ่งศาลแม่ย่าบางยางไม่สามารถระบุได้ ว่ามีมาตั้งแต่เมื่อไร ร่างทรงของแม่ย่าบางยางจะมีบุคลิกพิเศษ คือ เรียบร้อยและเป็นผู้หญิงสวย ศาลแม่ย่าบางยางในปัจจุบันมีการบูรณะขึ้นมาจากแต่ก่อน ซึ่งศาลแม่ย่าบางยางในอดีตจะเป็นศาลที่เล็ก แต่ได้มีเหตุไฟไหม้จึงทำให้ต้องบูรณะศาลแม่ย่าขึ้นมาใหม่ ในบริเวณศาลท่านขุนจะมีไม้สลักที่เป็นตัวแทนของอวัยวะเพศชาย เป็นสัญลักษณ์หรือตัวแทนของศาลท่านขุนซึ่งมีการบวงสรวงทำพิธีบูชาพร้อมแม่ย่าบางยางเป็นช่วงเวลาเดียวกันกับการทำพิธีแห่นางแมวและการปั้นตาเถรยายชี ปัจจุบันตำบลดอนยายหอม อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ไม่ได้ทำอาชีพเกษตรกรรมแล้ว แต่ทำอาชีพเลี้ยงกุ้งส่วนใหญ่ แม้ว่าจะเปลี่ยนแปลงอาชีพจากการทำนาไปเป็นการทำนากุ้งชาวบ้านก็ยังคงยึดในประเพณี การแห่นางแมว การปั้นหุ่นตาเถรยายชี การบวงสวงศาลแม่ย่าบางยางและศาลท่านขุนทำให้ชุมชนยังมีความเข้มแข็งกันอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าโลกในปัจจุบันจะเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาแต่ว่าความเชื่อจะยังรวมผู้คนในชุมชนมารวมตัว ยังคงมีการสืบสานและความสามัคคีได้อย่างต่อเนื่อง
จับต้องไม่ได้ : InTangible.
แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาล : SP : Social Practices, ritual and festive events ขนบธรรมเนียบประเพณีเกี่ยวกับศาสนา
ขนบธรรมเนียบประเพณีเกี่ยวกับเทศกาล
ขนบธรรมเนียบประเพณีเกี่ยวกับวงจรชีวิต
ขนบธรรมเนียบประเพณีเกี่ยวกับการทำมาหากิน
.
เลขที่ : นฐ.5022 ศาลแม่ย่าบางยาง ตำบล ดอนยายหอม อำเภอเมืองนครปฐม นครปฐม 73000 ต. ดอนยายหอม อ. เมืองนครปฐม จ. นครปฐม 73000
นักวิชาการ และชาวบ้าน
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม ม.ราชภัฏนครปฐม
ลัทธสิทธิ์ ทวีสุข : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม : 2566 Open Call