PMU ทุนทางวัฒนธรรม


ข้อมูลวัฒนธรรม : SP-73000-00016 [ ได้รับทุนจากโครงการ ]

อิ้นกอน ฟ้อนแคน ไทยทรงดำ
In Kon Fon Kaen Ceremony

ประเพณี “อิ้นก๊อนฟ้อนแก๊น” เป็นประเพณีของคนลาวโซ่งหรือไทยทรงดำ ที่ตั้งถิ่นฐานในแถบภาคตะวันตกของไทยในแถบจังหวัดเพชรบุรี ราชบุรี นครปฐม ในอดีตลาวโซ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ถูกกวาดต้อนมาจากฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ให้มาอาศัยอยู่ในจังหวัดเพชรบุรีหลายครั้งด้วยกัน ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2322 (สมัยกรุงธนบุรี) ครั้งต่อมาในช่วงสมัยรัชกาลที่ 3 ในปี พ.ศ. 2335 ต่อมาใน พ.ศ. 2371 และอีกครั้งในปี พ.ศ. 2379 จากนั้นก็ได้เคลื่อนย้ายไปตั้งถิ่นฐานในละแวกใกล้เคียง คือ ราชบุรี นครปฐม และสุพรรณบุรี บ้านสะแกรายตั้งอยู่หมู่ 9 ตำบลดอนยายหอมเป็นหมู่บ้านที่เก่าแก่และมีตำนานสืบเนื่องมาจากชนเผ่าไททรงดำหรือลาวโซ่งเป็นชนชาติไทยกลุ่มหนึ่งซึ่งมีชื่อเรียกกันต่างๆนานาว่าไทดำผู้ไทดำไทซงดำผู้ไทซงดำ ลาวทรงดำ ลาวซ่วง ลาวซ่วงดำ ลาวโซ่ง ไทโซ่ง อันมีข้อสันนิษฐานว่าที่มีชื่อเรียกมากมายหลายชื่อนั้นก็เนื่องมาจากคำว่า “ โซ่ง ซ่วง หรือส้วง ” ในภาษาลาวโซ่งแปลว่ากางเกง คำว่าลาวโซ่งหรือลาวซ่วง จึงหมายถึงลาวนุ่งกางเกงหรือหมายถึงผู้ที่นุ่งห่มด้วยเสื้อผ้าสีดำนั้นเองและมีประวัติการเล่าสืบทอดกันว่ามีถิ่นฐานเดิมอยู่ทางตอนเหนือของประเทศต่อมาได้อพยพย้ายจากถิ่นฐานเดิมลงมาสู่ดินแดนทางตอนใต้กับตะวันออกเฉียงใต้เรื่อยมาและกระจายกันอยู่บริเวณมณฑลกวางสียูนนานตังเกี๋ยลุ่มแม่น้ำดำและแม่น้ำแดง จนถึงแคว้นสิบสองจุไทยโดยมีเมืองแถงหรือเดียนเบียนฟูเป็นศูนย์กลางการปกครองตนเองอย่างอิสระภายหลังได้อพยพหนีภัยสงครามเข้ามาตั้งหลักแหล่งกระจายกันอยู่ในที่ต่างๆในประเทศไทยจำนวนมาก กลุ่มชาติพันธุ์ไทยทรงดำในพื้นที่ดอนยายหอม มีประเพณีที่สำคัญ คือ อิ้นก๊อนฟ้อนแก๊น ซึ่งเป็นประเพณีไทยทรงดำหรือลาวโซ่ง โดยอิ้นก๊อนฟ้อนแก๊นเป็นประเพณีที่ทำกันในช่วงเดือน 5 คำว่า “ก๋อน” หรือ “คอน” หมายถึง ลูกคอนหรือลูกช่วง คำว่า “อิ่นก๋อน” คือการโยนลูกช่วง ในอดีตเป็นการละเล่นของหนุ่มสาวไทยทรงดำ เมื่อเว้นว่างจากฤดูการทำนาและทำไร่แล้วนั้น หลุ่มสาวก็จะมานั่งรวมกันเป็นกลุ่มประมาณ 15-20 คนขึ้นไป ณ บ้านใดบ้านหนึ่งสำหรับเป็น "ข่วง" เพื่อให้สาว ๆ ได้มานั่งทำการฝีมือและเป็นการเปิดโอกาสให้หนุ่มสาวได้เลือกคู่ครอง เมื่อถึงวัน 1 ค่ำเดือน 5 ไทยทรงดำจะจัดงานรื่นเริงตลอดทั้งเดือน หนุ่มสาวจะหยุดทำงาน ฝ่ายชายจะรวมตัวกันเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 15-20 คน ตระเวนไปตามหมู่บ้านต่าง ๆ เรียกว่า ไป "เล่นคอนหรือต๊อดมะก๋อน" หมายถึง การเล่นทอดลูกช่วงนั่นเอง ถ้าฝ่ายชายทอดลูกช่วงไปถูกฝ่ายหญิงคนใด ย่อมรู้กันว่าเป็นการจองหญิงคนนั้นไว้แล้ว ส่วนคำว่า “ฟ้อนแก๊น” หรือฟ้อนแคน หมายถึง การร่ายรำและการเล่นดนตรีประกอบอย่างไรก็ตามเมื่อสภาพสังคมเปลี่ยนแปลงไป การละเล่นดังกล่าวได้ลดบทบาทลง แต่กลุ่มชาติพันธุ์ไทยทรงดำดอนยายหอมก็ยังคงมีการรักษาและอนุรักษ์ประเพณีอิ้นก๊อนฟ้อนแก๊นเช่นเดียวกับบรรพบุรุษ



 

Icon
ประเภทวัฒนธรรม

จับต้องไม่ได้ : InTangible.

Icon
หมวดหมู่วัฒนธรรม

แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาล : SP : Social Practices, ritual and festive events มารยาท
ขนบธรรมเนียบประเพณีเกี่ยวกับศาสนา
ขนบธรรมเนียบประเพณีเกี่ยวกับเทศกาล
ขนบธรรมเนียบประเพณีเกี่ยวกับวงจรชีวิต
.

Icon
ที่ตั้ง

เลขที่ : ตำบล ดอนยายหอม อำเภอเมืองนครปฐม นครปฐม 70160 ต. ดอนยายหอม อ. เมืองนครปฐม จ. นครปฐม 73000

Icon
ชื่อผู้ให้ข้อมูลหรือชื่อกลุ่มผู้ให้ข้อมูล

นักวิชาการ และชาวบ้าน

Icon
ช่องทางติดต่อผู้ให้ข้อมูล

สำนักศิลปะและวัฒนธรรม ม.ราชภัฏนครปฐม

Icon
ผู้บันทึกข้อมูล

ลัทธสิทธิ์ ทวีสุข : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม : 2566 Open Call

Icon
แหล่งข้อมูอื่น ๆ
-
พิกัด GPS

มีผู้เข้าชมจำนวน :263 ครั้ง
บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ : 11/02/2024 - ปรับปรุงล่าสุดวันที่ : 07/07/2024


BESbswy