เป็นทุนวัฒนธรรมด้านความเชื่อเรื่องนับถือผี (Social Practices ritual and festive events) ตุ๊กตาเสียกบาล คือ ตุ๊กตาที่นำไปใส่กระทงที่ทำจากกาบกล้วยพร้อมทั้งเครื่องเซ่นผี เช่น ดอกไม้ ธูป เทียน อาหารคาวหวาน แล้วนำไปวางไว้ที่ทางแยก ทางสามแพร่ง หรือนำไปลอยน้ำแล้วต่อยหัวตุ๊กตาออก โดยตุ๊กตาเสียกบาลนั้นเป็นตุ๊กตาดินปั้นที่ทำขึ้นจากความเชื่อของคนไทยที่นิยมทำกันมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย สร้างขึ้นจากดินเหนียวปั้นเป็นรูปผู้ชายและผู้หญิงตัวเล็ก ๆ ในอิริยาบถต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นตัวแทนในการปัดเป่าโรคภัยไข้เจ็บ และอันตรายที่เกิดขึ้นกับตัวเองหรือญาติพี่น้อง การปั้นตุ๊กตาเสียกบาลนั้นไม่ต้องใช้ความประณีตมาก ถ้าเป็นผู้หญิงมักนิยมเกล้าผมมวยมีจุก เปลือยอก นั่งตัวตรง ในมือถือของใช้ เช่น ถือพัด หรืออุ้มเด็ก จูงลูก หรือมือทั้งสองข้างพนมเข้าหากัน ถือดอกไม้ เป็นต้น ถ้าเป็นผู้ชายก็มักจะเปลือยอก นุ่งผ้าท่อนล่าง แก้มตุ่ยคล้ายกับคนเคี้ยวหมาก ทำเป็นรูปคนเล่นดนตรี คนหมอบฟังเทศน์ คนอุ้มไก่ชน เป็นต้น สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นภาพวิถีชีวิตของคนไทยในอดีต ในสมัยสุโขทัยตุ๊กตาเสียกบาลจะเป็นตุ๊กตาแบบแม่อุ้มลูก พ่ออุ้มลูก แสดงให้เห็นว่าในสมัยสุโขทัยคนมีปัญหาเรื่องโรคเด็กและการคลอด-บุตร จึงมีพิธีเสียกบาลที่ทำขึ้นเมื่อเด็กแรกเกิดไม่สบาย ซึ่งมีความเชื่อว่าเป็นการกระทำของภูตผี ในปัจจุบันพิธีกรรมและความเชื่อเรื่องตุ๊กตา- เสียกบาล ยังมีสืบทอดกันมาในหลายพื้นที่ เช่น งานทำบุญซึ่งจัดขึ้นในเทศกาลสงกรานต์ หรือในบางพื้นที่ ก็ยังคงมีพิธีกรรมเสียกบาล เป็นประเพณีที่ทำกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ เพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ โดยจะปั้นตุ๊กตาดินเหนียวเป็นรูปคนเท่ากับจำนวนคนในครอบครัวตามเพศของคนในครอบครัว รวมจนถึงสัตว์เลี้ยงที่มีด้วย ทำพิธีตรงทางสามแพร่ง เมื่อทำพิธีแล้ว ก็จะหักคอ หักแขน หักขาตุ๊กตานั้นเสีย หรือการทำพิธีสะเดาะเคราะห์ต่อชะตาแบบโบราณด้วยตุ๊กตาเสียกบาล ที่สืบทอดความเชื่อมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีการพบภาชนะกระทง กาบกล้วย สำหรับใส่ตุ๊กตาและเครื่องเซ่นผี ก็มีคำเรียกภาชนะนี้ว่ากบาลเช่นกัน ลักษณะดั้งเดิมของคำว่ากบาลนั้น คนในยุคก่อนใช้เรียกกระบะ กาบกล้วยรูปสี่เหลี่ยมหรือสามเหลี่ยมสำหรับใส่เครื่องเซ่น มีใบตองปูลาดรองพื้น หรือมีกระทงใบตองเล็ก ๆ ใส่อาหาร และมีกาบกล้วยตัดแต่งเป็นรูปคน หรือดินเหนียวปั้นเป็น ตุ๊กตารูปคน และสัตว์เลี้ยงใส่ลงไป จึงเป็นไปได้ว่าตุ๊กตาเอาทิ้งไปพร้อมกับกบาล อาจเป็นที่มาของคำว่า “ตุ๊กตา-เสียกบาล” ได้อีกทางหนึ่ง ในยุคนั้นชาวบ้านจะนำกระบะกระบานไปวางไว้ทางทิศตะวันตก ตรงทางสามแพร่งบนโคกหรือบริเวณกลางทุ่งนา เสมือนว่ากำลังเชื้อเชิญให้ภูตผีมารับเครื่องเซ่นสังเวยนั้น นอกจากนี้ยังมีแนวความคิดจากนักวิชาการที่มีความเห็นต่างออกไป โดยเชื่อกันว่าตุ๊กตา- เสียกบาลนั้นไม่ได้ถูกทุบหัว แต่จะใช้วิธีสะเดาะ-เคราะห์ส่งให้ไปเป็นบริวารผีแทนตัว จึงตัดเล็บตัดผมของตนใส่ลงไปด้วย หากทุบหัวตุ๊กตา ผีอาจโกรธที่ส่งของชำรุดไปแทนตัว จึงไม่มีเหตุผลที่จะต้องทุบหัวตุ๊กตาเสียก่อน แต่เมื่อวางตรงทางสามแพร่งแล้วอาจถูกสัตว์เช่นวัวควายเหยียบย่ำจึงทำให้ตุ๊กตาชำรุด ในพิธีกรรมจะมีการทำกระทงเซ่นไหว้ ขนาดใหญ่ ที่อยู่ตามทางสามแพร่ง คืออะไรและทำเพื่ออะไรเป็นวิธีการอุทิศให้วิญญาณสัมภเวสีเร่ร่อนที่หิวโหย วิญญาณที่ไม่มีญาติ ไม่มีใครทำบุญไปให้ ทั้งนี้วิธีการทำบุญอาจทำได้หลายวิธี แผ่กุศลบุญที่ทำไปให้ด้วยใจบริสุทธิ์ก็ถือเป็นการส่งบุญได้อีกด้วย
จับต้องไม่ได้ : InTangible.
แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาล : SP : Social Practices, ritual and festive events ขนบธรรมเนียบประเพณีเกี่ยวกับศาสนา
ขนบธรรมเนียบประเพณีเกี่ยวกับเทศกาล
ขนบธรรมเนียบประเพณีเกี่ยวกับวงจรชีวิต
ขนบธรรมเนียบประเพณีเกี่ยวกับการทำมาหากิน
.
เลขที่ : ชุมชนธรรมศาลา ตำบล ธรรมศาลา อำเภอเมืองนครปฐม นครปฐม 73000 ต. ธรรมศาลา อ. เมืองนครปฐม จ. นครปฐม 73000
นักวิชาการ และชาวบ้าน
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม ม.ราชภัฏนครปฐม
ลัทธสิทธิ์ ทวีสุข : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม : 2566 Open Call