PMU ทุนทางวัฒนธรรม


ข้อมูลวัฒนธรรม : TC-94000-00003 [ ได้รับทุนจากโครงการ ]

นายธนิต (ลูกศิษย์ ช่างรุณ)
Artisan-Thanit

เด็กหนุ่มผู้หลงเสน่ห์ในมนตราของศาสตราวุธ จากความสนใจในของมีคมทั้งหลายตามประสาเด็กชายในชนบท เมื่อพอเริ่มเข้าใจในความหมายของศาสตราวุธชิ้นสำคัญของภาคใต้ เช่น กริช ไอ้เด้ง ดาบ มีดชะน๊อก มีดบาดิก เป็นต้น เมื่อมีชิ้นงานเหล่านั้นผ่านมือในรูปของที่ตกทอดสืบกันมา และของที่มีอยู่ในชุมชนบ้านเกิดเป็นทุนเดิม เมื่อได้ศึกษางานเอกสารทางด้านศาสตราวุธศาสตราภรณ์ โดยเฉพาะผลงานของ ศาสตราจารย์สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ ที่ร่วมศึกษากับคณะทำงานในโครงการวิจัย ซึ่งมี อาจารย์พิชัย แก้วขาว เป็นต้น ยิ่งฉุดลั่งให้สนใจศาสตร์แขนงนี้มากยิ่งขึ้น และ จุดเปลี่ยนสำคัญเมื่อเข้าร่วมโครงการวิจัยเรื่องวัฒนธรรมกริชของชาวภาคใต้ ซึ่งได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม มีนายบุญเลิศ จันทระ เป็นหัวหน้าโครงการ ส่งผลให้นายธนิต สวนจันทร์ ได้ค้นพบตนเองจากกระบวนการผลิตนายช่างกริชในโครงการดังกล่าว คือ การเป็นนายช่างผู้รังสรรค์ความงามให้แก่กริชซึ่งยังขาดแคลนและมีน้อยมากที่สามารถดำเนินการงานในส่วนนี้ คือ การเป็นช่างเงิน-ทองเพื่อสร้างสรรค์ชิ้นงานสำคัญ โดยได้มีเจตนาจะฝากตัวเป็นศิษย์ของอาจารย์พิชัย แก้วขาว ในงานดังกล่าว อย่างไรก็ตามถึงแม้จะไม่ได้ครอบมือเป็นศิษย์โดยอาจารย์พิชัย แก้วขาว แต่ท่านได้กรุณาเขียนหนังสือฝากฝังมายังช่างอรุณ แก้วสัตยา ถือได้ว่า ช่างธนิตหรือช่างศรีที่รู้จักกันโดยทั่วไปในวงการศาสตราวุธในภาคใต้ ด้วยความสนใจและวิริยะอุสาหะและความรักชอบศาสตร์แขนงนี้ จึงส่งผลให้ช่างศรีมีผลงานเป็นที่ประจักษ์และรู้จักกันอย่างกว้างขวางความงดงามในชิ้นงานที่ผลิตออกมา ปัจจุบัน ผลงานของช่างศรีมีหลากหลายรูปแบบ ทั้งงานเงิน-ทองคำ งานหลอโลหะผสมต่างๆ จนเป็นที่นิยมทั้งในกลุ่มคนไทยทั้งจากภาคกลางภาคเหนือและโดยเฉพาะในภาคใต้ และยังเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในกลุ่มผู้นิยมในศาสตราวุธชนิดต่างๆ โดยเฉพาะกริชของชาวต่างประเทศ ทั้งในประเทศมาเลเชีย อินโดนิเซีย และประเทศอื่นๆ ผ่านการสั่งผลิตทั้งโดยตรง และนายหน้าคนไทย ปัจจุบันช่างศรีมีการสั่งผลิตชิ้นงานจนล้นมือทั้งในกลุ่มคนไทยและต่างประเทศ ทั้งงานใหม่และงานซ่อม ช่างศรีเป็นตัวอย่างของบุคคลที่สนใจและเรียนรู้ศาสตร์ทางด้านการเพิ่มคุณค่าและมูลค่าให้แก่ศาสราวุธศาสตราภรณ์ในภาคใต้ เป็นตัวอย่างของบุคคลที่สร้างรายได้ให้แก่เครือข่ายช่างกริชในภาคใต้อย่างสำคัญ โดยเฉพาะช่างตีกริช ซึ่งเมื่อจะเป็นชิ้นงานที่สมบูรณ์จะส่งถึงมือลูกค้าตามความต้องการจะต้องผ่านมือของช่างตกแต่งประดับด้วยวัสดุที่หลากหลาย ทั้งเงิน-ทองคำ หรือวัสดุอื่น เช่น งาช้าง เป็นต้น จึงกล่าวได้ว่า นายช่างศรีเป็นกลไกลการผลิต และสร้างรายได้ให้แก่เครือขายผู้ผลิตกริชที่สำคัญ ซึ่งในอนาคตจะได้สืบทอดมรดกภูมิปัญญาแขนงนี้ของชาติและสร้างรายได้อย่างยั่งยืนให้แก่ชุมชนผู้ผลิตกริชสืบไป



 

Icon
ประเภทวัฒนธรรม

จับต้องได้ : Tangible.

Icon
หมวดหมู่วัฒนธรรม

งานช่างฝีมือดั้งเดิม : TC : Traditional Craftsmanship เครื่องโลหะ
.

Icon
ที่ตั้ง

เลขที่ : ต. รูสะมิแล อ. เมืองปัตตานี จ. ปัตตานี 94000

Icon
ชื่อผู้ให้ข้อมูลหรือชื่อกลุ่มผู้ให้ข้อมูล

Icon
ช่องทางติดต่อผู้ให้ข้อมูล

Icon
ผู้บันทึกข้อมูล

ดร. ณภัทร แก้วภิบาล : มหาวิทยาลัยทักษิณ : 2566 Open Call

Icon
แหล่งข้อมูอื่น ๆ
-
พิกัด GPS

มีผู้เข้าชมจำนวน :56 ครั้ง
บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ : 17/02/2024 - ปรับปรุงล่าสุดวันที่ : 05/07/2024