PMU ทุนทางวัฒนธรรม


ข้อมูลวัฒนธรรม : AS-52100-00011

สถานีรถไฟนครลำปาง
Nakhon Lampang Railway Station

สถานีรถไฟนครลำปางก่อสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 ปี พ.ศ. 2458 และเปิดเดินรถครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2459 (ตรงกับวันปีใหม่ไทยในยุคนั้น) เส้นทางช่วงแม่จาง-นครลำปาง ซึ่งมีระยะทาง 42 กิโลเมตร และเป็นส่วนหนึ่งของทางรถไฟสายเหนือ มีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน เป็นผู้บัญชาการ และมีนายช่างชาวเยอรมัน เอมิล ไอเซนโฮเฟอร์ เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง สถานีรถไฟนครลำปาง เป็นสถานีรถไฟยุคแรก ๆ ที่ยังคงเหลืออาคารอยู่ภายหลังในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ในช่วงปี พ.ศ. 2459-2464 สถานีรถไฟนครลำปางได้เป็นสถานีรถไฟปลายทางของเส้นทางสายเหนือ มีขบวนรถพิษณุโลก-ลำปาง และอุตรดิตถ์-ลำปาง ก่อนมีรถด่วนจากกรุงเทพขึ้นมาทำขบวนเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2465 ห้วงขณะนั้นเองนครลำปางจึงเป็นชุมทางขนส่งมวลชนที่ทันสมัยที่สุดในเวลานั้น เป็นศูนย์กลางการขนถ่ายสินค้าจากกรุงเทพฯ ไปยังภาคเหนือและลำเลียงสินค้าสำคัญจากภาคเหนือมายังกรุงเทพฯ ย่านการค้าสบตุ๋ยจึงมีความเจริญมาก ในพ.ศ. 2506 การรถไฟแห่งประเทศไทยได้จัดส่งหัวรถจักรไอน้ำมาแสดงไว้ที่สถานีรถไฟลำปาง และกำหนดให้สถานีรถไฟแห่งนี้เป็นสถานีประวัติศาสตร์ และทำการอนุรักษ์ไว้ ซึ่งในปี พ.ศ. 2536 ได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมแห่งสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ให้เป็นอาคารอนุรักษ์ดีเด่น ประเภทอาคารสถาบันและสาธารณะ โดยรูปแบบสถาปัตยกรรมของสถานีรถไฟลำปางเป็นอาคาร 2 ชั้น ชั้นล่างก่ออิฐฉาบปูนใช้ระบบคานโค้ง (Arch) 4 ช่วง ขนาบด้วยโค้งช่วงเล็กประกบทั้งสองฝั่งเป็นรูปแบบนีโอคลาสสิก (Neoclassic) ชั้นบนสร้างด้วยไม้มีกรอบเป็นโครงสร้างสี่เหลี่ยมมีไม้ยึดยันแนวทแยงเสริมเป็นช่วง ๆ ไม่ให้อาคารโยก ซึ่งนี้เป็นเทคนิคด้านโครงสร้างที่เด่นมากจากเยอรมนี นอกจากนั้นยังมีการกรุใต้ไม้ฝาตีตามแนวนอน และอวดโครงสร้างกรอบเป็นรูปแบบฮาล์ฟทิมเบอร์ (Half Timber) พื้นที่ของสถานีรถไฟนครลำปาง มีประมาณ 161 ไร่ มีตัวอาคารสถานี คลังสินค้า พื้นที่เก็บหัวรถจักรและตัวรถไฟ รวมถึงพื้นที่บ้านพักพนักงาน อาคารสถานีดังที่เห็นในปัจจุบันได้ผ่านการต่อเติมมาเป็นบางส่วน โดยเฉพาะช่วงก่อนปีพ.ศ. 2520 มีการต่อเติมส่วนควบคุมบริเวณปีกทางทิศใต้ ส่วนพักคอยด้านติดรางรถไฟ และ ซุ้มด้านหน้าที่จอดรถ จากนั้นมีการเปลี่ยนกระเบื้องหลังคา กระเบื้องพื้น และปรับปรุงพื้น ชั้นล่างทั้งหมดในปี พ.ศ. 2538



 

Icon
ประเภทวัฒนธรรม

จับต้องไม่ได้ : InTangible.

Icon
หมวดหมู่วัฒนธรรม

โบราณสถาน : AS : Archeological Site ย่านประวัติศาสตร์การพาณิชย์
.

Icon
ที่ตั้ง

เลขที่ : ถนนประสานไมตรี ต. สบตุ๋ย อ. เมืองลำปาง จ. ลำปาง 52100

Icon
ชื่อผู้ให้ข้อมูลหรือชื่อกลุ่มผู้ให้ข้อมูล

สถานีรถไฟนครลำปาง

Icon
ช่องทางติดต่อผู้ให้ข้อมูล

Icon
ผู้บันทึกข้อมูล

อาจารย์อัคค์สัจจา ดวงสุภาสิญจ์ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา : 2566 Open Call

Icon
แหล่งข้อมูอื่น ๆ
Link ที่เกี่ยวข้อง

มีผู้เข้าชมจำนวน :165 ครั้ง
บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ : 17/02/2024 - ปรับปรุงล่าสุดวันที่ : 12/07/2024