การแต่งกายของชาวมุสลิม ไม่ว่าหญิงหรือชาย ถือเป็นหนึ่งในบทบัญญัติที่สำคัญของศาสนาอิสลาม ยึดปฏิบัติมาพร้อมกับการถือกำเนิดของศาสนาอิสลามหรือกว่า 1,400 ปีมาแล้ว การแต่งกายของมุสลิม ตามหลักการในศาสนาอิสลาม มีวัตถุประสงค์สำคัญ คือ การปกปิดสิ่งพึงละอายของร่างกาย โดยเฉพาะร่างกายของสตรีมุสลิม ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ส่วนหนึ่งส่วนใดของเรือนร่างเพศหญิง ดึงดูดความสนใจของบุรุษเพศ อันจะก่อให้เกิด “ฟิตนะห์” (ความเสียหาย ความไม่ดีไม่งามต่อสังคม) ศาสนาอิสลามจึงได้วางหลักเกณฑ์ไว้ เพื่อป้องกันฟิตนะห์ที่จะเกิดขึ้น การแต่งกายของชาวมุสลิมในชีวิตประจำวัน และในช่วงเทศกาลจะมีการปรับเปลี่ยนให้เข้ากับเทศกาลนั้นๆ เสื้อผ้าที่สตรีมุสลิมสวมใส่ในชีวิตประจำวันเมื่อต้องออกสู่สาธารณะ จะปกปิดร่างกายตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า เผยให้เห็นได้แค่สองส่วน ได้แก่ ใบหน้าและฝ่ามือ โดยมีองค์ประกอบที่ต้องสวมใส่หลักๆ คือ ผ้าคลุมศีรษะ ที่เรียกว่า ฮีญาบ จะปกปิดผม ลำคอ คลุมยาวไปถึงหน้าอก ส่วนในช่วงเทศกาลหรืองานรื่นเริงเฉลิมฉลอง เสื้อผ้าจะมีสีสันฉูดฉาด และมีลูกเล่นมากขึ้น ตัวชุดจะถูกปักประดับด้วยลวดลายงดงาม ใช่ว่าเฉพาะผู้หญิงเท่านั้น ผู้ชายเองแม้การแต่งกายจะไม่ปกปิดเท่ากับผู้หญิง แต่ก็ปกปิดร่างกายตั้งแต่บริเวณเหนือสะดือจนถึงหัวเข่า และห้ามสวมชุดที่ทำจากผ้าไหม ชุดที่ผู้ชายนิยมสวมใส่กันทั่วไป จะเป็นชุดยาวที่เรียกว่า โต๊ป ลักษณะเป็นชุดยาวคลุมข้อเท้า ผู้ชายจะนิยมนุ่งผ้าโสร่ง โสร่งเป็นผ้านุ่งอย่างหนึ่ง ที่ใช้ผ้าผืนเดียว เพลาะชายสองข้างเข้าด้วยกันเป็นถุง แบบเดียวกับผ้าถุง หรือผ้าซิ่น ใช้นุ่งอย่างแพร่หลาย ทั้งหญิงและชาย (ดร. วราภรณ์ ทะนงศักดิ์, 2562)
จับต้องได้ : Tangible.
แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาล : SP : Social Practices, ritual and festive events ขนบธรรมเนียบประเพณีเกี่ยวกับเทศกาล
ขนบธรรมเนียบประเพณีเกี่ยวกับวงจรชีวิต
.
เลขที่ : ตำบลภูเขาทอง ต. ภูเขาทอง อ. พระนครศรีอยุธยา จ. พระนครศรีอยุธยา 13000
อิหม่ามฮัจยีบุญญา ศรีสมาน
085-187-5579
ญาณิศา เผื่อนเพาะ : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา : 2566 Festival