วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง หรือ วัดพระบรมธาตุ ตั้งอยู่ที่กลางเทศบาลตําบลทุ่งยั้ง เป็นวัดโบราณประดิษฐานพระมหาธาตุประจําเมืองทุ่งยั้ง เมืองโบราณตั้งแต่สมัยก่อน สุโขทัย ไม่ปรากฏหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่าสร้างขึ้นเมื่อใด ชาวบ้านเรียกชื่อวัดนี้ไปต่างๆกัน คือ วัดหน้า พระธาตุ วัดบรมธาตุ วัดทุ่งยั้ง วัดชัยบุรี วัดชัยปราการ วัดกัมโพชนคร วัดอุตรคามนคร สําหรับชื่อ “วัดกัมโพช นคร” เนื่องจากปรากฏหลักฐานการเรียกชื่อเมืองทุ่งยั้งในพงศาวดารเหนือว่า “กัมโพชนคร” ชาวบ้านแถบนั้น คงจะนําชื่อนี้มาเรียกวัดสําคัญประจําเมืองด้วยเช่นกันถึงแม้ว่าวัดพระบรมธาตุทุ่งยั้งจะไม่มีหลักฐานการสร้างที่ ชัดเจน แต่ก็ได้มีตํานานการสร้างวัดเขียนขึ้นอย่างมากมาย ดังเช่นตํานานที่คัดลอกมาจากหนังสือที่พระสมุห์ กอ ญาณวีโร รวบรวมไว้เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2508 ความว่า “กิร ดังได้ยินมาว่า พระกุกกุสันโธ เสด็จอยู่ในภูเขาซอกนอกเมืองทุ่งยั้ง พระพุทธเจ้าก็ทรงยกพระ หัตถ์ลูบพระเศียรเกล้า พระเกศหล่นลงเส้นหนึ่ง และพระองค์ก็ทรงยื่นให้พระอรหันต์ พระอรหันต์ก็ยื่นให้พระ ยาอโสกราช พระยาอโสกราขก็บรรจุไว้ในถ้ําทุ่งยั้งนี้แล แล้วพระพุทธเจ้าก็พระพุทธฎีกาตรัสเทศนาพยากรณ์ ทํานายไว้ในเบื้องหน้าว่า เมื่อตถาคตนิพพานล่วงลับไปแล้ว ถึงศาสนาโคดม ศาสนาพระพุทธกัสสปะ ศาสนา พระศรีอริยเมตไตย ก็จะมีกษัตริย์องค์หนึ่งนําเอาพระบรมธาตุมาบรรจุไว้ในสถานที่นี้ทุกๆพระองค์ ในศาสนา ของเรานี้ พระศรีธรรมโศกราชเสด็จมายับยั้ง เมืองทุ่งยั้ง พระองค์ให้ขุดแผ่นดินตรงถ้ําเมืองทุ่งยั้ง ลึกได้ 4 วา กว้าง 10 วา 3 ศอก สี่เหลี่ยมจัตุรัส จึงได้หล่ออ่างลูกหนึ่งสิ้นเงินทองหนึ่ง ได้ตักน้ำใส่เต็มแล้วจึงหล่อสิงโตตัว หนึ่งสิ้นเงินทองหนึ่งให้ยืนอยู่ในอ่างทอง แล้วให้หล่อพานทองหนึ่งสิ้นเงินทองหนึ่งตั้งไว้เหนือสิงโตทองนั้น...” วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้งในปัจจุบันได้รับการบูรณะซ่อมแซมบํารุงอยู่เสมอในฐานะวัดสําคัญประจําเมืองทุ่งยั้ง ซึ่งเมืองทุ่งยั้งในปัจจุบันถือได้ว่าเป็นเมืองที่มีผู้คนอาศัยติดต่อกันมาอย่างยาวนานตั้งแต่สมัยก่อนการ สถาปนาอาณาจักรสุโขทัยซึ่งพิจารณาได้จากสําเนียงการพูดของคนทุ่งยั้งเทียบกับกลุ่มคนในชุมชนชาวสุโขทัย เดิมที่อาศัยอยู่ในแถว หมู่ที่ 10 และหลายๆ หมู่บ้านในเขตตําบลทุ่งยั้ง ที่มีประวัติชุมชนว่าเป็นกลุ่มคนที่ อพยพไปตั้งบ้านเรือนที่อื่นได้ วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้งยังมีประเพณีประจําปีที่สําคัญคือ ประเพณีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ทุกวัน แรม 8 ค่ำ เดือน 6 ของทุกปี โดยเป็นวันงานสลากภัตของวัดและจะมีการจัดแสดงพุทธประวัติตอนถวายพระเพลิงพระบรมศพ
จับต้องได้ : Tangible.
โบราณสถาน : AS : Archeological Site ย่านประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม
ย่านประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
.
เลขที่ : ทุ่งยั้ง ต. ทุ่งยั้ง อ. ลับแล จ. อุตรดิตถ์ 53210
นายนิยมพร นพศรี
โทร 081-4743972
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ : 2567 Festival