การสร้างตำนานพระแก้วดอนเต้า โดยมีการผูกเรื่องราวเกี่ยวกับการเกิดขึ้นของพระแก้วดอนเต้าซึ่งมีนางสุชาดาเป็นตัวเอกของเรื่องและเขียนขึ้นเพื่อรองรับความชอบธรรมให้แก่การเกิดขึ้นของพระแก้วดอนเต้าให้มีความเชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์ของเมืองลำปางมากขึ้น จากเรื่องราวในตำนานได้มีการบอกเล่าสืบต่อกันมาหลายรุ่นและขยายต่อบูรณภาพทางความคิดของคนในสังคมลำปางจนกลายมาเป็นความทรงจำร่วมเรื่อง “เมืองต้องคำสาป” ซึ่งพบว่าอยู่ในความรู้สึกลึก ๆ ของคน ลำปางส่วนหนึ่ง โดยเฉพาะเมื่อเห็นว่ามีเหตุการณ์ที่ส่งผลร้ายต่อบ้านเมือง และเมืองลำปาง ไม่ค่อยได้รับการพัฒนาทางเศรษฐกิจเท่าที่ควรจะเป็นหรือถูกแย่งชิงความเป็น ศูนย์กลางของภาคเหนือตอนบนไปสู่เมืองใหญ่แห่งอื่น ความรู้สึกคับข้องใจจากสภาพ ที่เกิดขึ้นนั้นทำให้ความทรงจำร่วมเรื่อง “เมืองต้องคำสาป” ถูกหยิบยกนำมาเป็น คำอธิบายให้แก่สภาพการณ์เหล่านั้น ยิ่งไปกว่านั้นได้มีปฏิบัติการลบล้างคำสาป เกิดขึ้นก็ยิ่งเป็นการรื้อฟื้นและตอกย้ำให้ผู้คนเห็นถึงความมีอยู่จริงของความทรงจำ ร่วมดังกล่าว นางจึงนำไปถวายแด่พระมหาเถระ ผู้เป็นเจ้าอาวาสแห่ง วัดพระแก้วชมพู ปรากฏว่า แตงโมลูกนั้นเป็นแก้วมรกตและนางสุชาดาจึงมีความดีใจและคิดที่จะสลักแก้วมรกตลูกนี้ให้เป็น พระมหาเถระ พระพุทธรูป แต่ทำอย่างไรก็ไม่สามารถสลักได้ ทั้งสองจึงประกาศหาช่างแกะสลัก อยู่มาวันหนึ่งมีชายแก่มา อ้างตัวว่าสามารถแกะสลักแก้วมรกต ได้มาหาพระมหาเถระและขอให้ พระมหาเถระไปเอาเครื่องมือแกะสลักมา ภายหลังเมื่อพระมหาเถระไปหยิบเครื่องมือมาแล้ว ปรากฏว่า แก้วมรกตลูกนั้นได้กลายเป็นพระพุทธรูปรูปร่างสวยงาม สร้างความปิติ ดีใจให้แก่พระมหาเถระและนางสุชาดาและได้มีงานฉลองพระพุทธรูป ในเวลาต่อมาพระองค์นี้ก็คือ “พระแก้วมรกตดอนเต้า พระคู่บ้านคู่เมืองลำปางนั่นเอง ต่อมามีข่าวเล่าลือในทางเสียหายว่า พระมหาเถระกับนางสุชาดา มีความสัมพันธ์เชิงชู้สาวกัน จนได้ยินไปถึงหูของเจ้าเมืองลำปางได้สั่งให้ ขุนนางไปนำตัวนางสุชาดามาประหารชีวิต โดยไม่สอบสวนเหตุการณ์ ให้ถี่ถ้วนก่อน มีการนำตัวนางสุชาดามาประหารในบริเวณริมฝั่งน้ำวัง ซึ่งต่อมา ภายหลังเรียกชื่อว่า “วังย่าเฒ่า” ก่อนที่จะประหารชีวิต นางสุชาดา ได้ตั้งจิตอธิษฐานว่า หากนางกระทำผิดจริงขอให้เลือดตกลงพื้นดิน แต่ถ้าไม่ผิดขอให้เลือดพุ่งขึ้นฟ้า อย่างไรก็ตามความเชื่อเรื่อง “เมืองต้องคำสาป” 1 เรื่อยมา เพราะสภาพของสังคมและเศรษฐกิจของลำปางอย่างที่หลายคน มองว่าเป็นเพียง “เมืองผ่าน” ผ่านแล้วก็ผ่านไปของหลายสิ่ง ครั้งหนึ่งลำปางเคยมีสถานีโทรทัศน์ช่อง 4 กองบัญชาการตำรวจ ภูธรภาค ธนาคารแห่งประเทศไทยสาขาภาคเหนือตั้งอยู่ที่นี่ ได้ถูกย้ำ แต่ต่อมาหน่วยราชการระดับภูมิภาคก็ได้ย้ายไปสู่เมืองใหญ่ แห่งอื่น จะเหลือไว้ให้ลำปางบ้างก็คือ “ศูนย์มะเร็ง” ลำปางจะเป็นเมืองใหญ่ก็ไม่ใช่เมืองเล็กก็ไม่เชิง จะพัฒนาทาง เศรษฐกิจ การค้า การท่องเที่ยวก็ไม่แน่ใจนักว่าจะไปรอดหรือเปล่า แม้ว่าในความเป็นจริง “ลำปางจะต้องคำสาปหรือไม่ก็ตาม” แต่ในส่วนลึก ๆ ของคนลำปางก็ไม่มั่นใจนักกับการพัฒนาเมืองในหลาย ๆ ด้านที่ผ่านมา เมื่อไม่นานมานี้มีผู้ว่าฯ ท่านหนึ่งหาญกล้าสร้าง “หลักกิโลเมตร ยักษ์” เพื่อให้เป็นสัญลักษณ์ในการพัฒนาให้ลำปางเป็นศูนย์กลางของ ภาคเหนือตอนบน แต่แล้วหลักกิโลเมตรที่ว่าก็ล้มทับ ทำให้ผู้ว่าฯ ท่านนี้ไม่มีโอกาส จะได้สานต่อนโยบายทำลำปางให้เป็นประตูสู่ล้านนาได้อีกต่อไป อย่างนี้ ไม่ให้คิดว่าลำปางเป็น “เมืองต้องคำสาป”
จับต้องไม่ได้ : InTangible.
วรรณกรรมพื้นบ้าน : FL : Folk Literature ตำนานพื้นบ้าน
.
เลขที่ : 131/6 ถนน วังโค้ง ต. เวียงเหนือ อ. เมืองลำปาง จ. ลำปาง 52000
อาจารย์อัคค์สัจจา ดวงสุภาสิญจ์ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา : 2566 Open Call