บ้านสำโรงพลัน เดิมชื่อว่า "บ้านสำโรงปั๊วคลัน" ที่มีชื่อเช่นนี้ เพราะทำเลที่ตั้งอยู่ใกล้หนองน้ำใหญ่ และบริเวณหนองน้ำนั้นก็มีงูเหลือมอาศัยอยู่ด้วย ข้างๆ หนองน้ำใหญ่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้มีต้นสำโรงต้นใหญ่อยู่ต้นหนึ่ง (ปัจจุบันก็ยังปรากฎอยู่) จึงพากันเรียกขานหมู่บ้านของตนเองว่า "สำโรงปั๊วคลัน" หรือ "สำโรงงูเหลือม" ภายหลังได้เรียกขานเพี้ยนไปเป็น "สำโรงพลัน" ในที่สุด บ้านสำโรงพลัน สันนิษฐานว่า ตั้งมาประมาณปลายกรุงศรีอยุธยา ประชากรส่วนใหญ่ใช้ภาษาเขมรในการพูดสื่อสาร นับถือศาสนาพุทธ บริหารการปกครองระดับเทศบาล ประชากรมีขนบธรรมเนียมประเพณีของตนเอง เชื่อถือผีของบรรพบุรุษ ผีสางเทวดา มีอาชีพเกษตรกรรม คือ ทำนา และรับจ้าง เป็นต้น มีรายได้ค่อนข้างต่ำ แบ่งการปกครองออกเป็น 3 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 1 หมู่ที่ 13 และหมู่ที่ 15 มีประชากรโดยรวมทั้ง 3 หมู่ ประมาณ 3,624 คน(ปี 2545) ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลอำเภอไพรบึง วัดบ้านสำโรงพลัน ตั้งอยู่ในเขตการปกครองของคณะสงฆ์ตำบลสำโรงพลัน อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ มีพระภิกษุ สามเณร จำพรรษาปีละประมาณ 14 รูป มีพระครูประกาศธรรมกิจ เป็นเจ้าอาวาส
จับต้องได้ : Tangible.
โบราณสถาน : AS : Archeological Site ย่านประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
.
เลขที่ : บ้านสำโรงพลัน ต. สำโรงพลัน อ. ไพรบึง จ. ศรีสะเกษ 33180
ธีรพงศ์ สงผัด
นางจุฑามณี รุ้งแก้ว : มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ : 2566 Open Call