คนเผ่าเขมรได้อพยพเข้าสู่อีสานใต้(บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ) สมัยเมรนคร กระจายอำนาจทางการเมืองในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 (พ.ศ.1545 - 1593 ) พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 (พ.ศ. 1656-1693) และพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (พ.ศ. 1724 - 1761) เป็นสมัยที่ชาวเขมร ได้เข้ามาอยู่ในเขมร ได้เข้ามาอยู่ในเขตอีสานใต้ เพราะกษัตริย์เขมรได้เกณฑ์ชาวเขมรจากประเทศเขมรให้เป็นผู้สร้างปราสาท และสร้างเมืองในอีวานใต้ เช่น ปราสาทเมืองต่ำ ปราสาทพนมรุ้ง ปราสาทหินพิมาย ปราสาทเขาพระวิหาร ปราสาทสระกำแพงใหญ่ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังได้สร้างถนนจากนครธมไปตามเมืองและ ปราสาทต่างๆ ในเขตอีสานด้วย ประเพณีปังอ๊อกเปรี๊ยะแค เป็นประเพณีเสี่ยงทายของชาวศรีสะเกษทีพูดภาษาถิ่นเป็นภาษาเขมร ซึ่งจัดขึ้นในช่วง 15 ค่ำ เดือน 12 ตรงกับเทศกาลลอยกระทง ในอดีตจังหวัดศรีสะเกษ ไม่มีประเพณีลอยกระทง ประเพณีลอยกระทงเริ่มเข้ามาในจังหวัดศรีสะเกษ เมื่อปี พ.ศ.2498 ดังนั้นประเพณีปังอ๊อกเปรี๊ยะแคจึงเป็นบุญประเพณีที่ยิ่งใหญ่มากเป็นที่รวมคนทุกหมู่บ้านที่สังกัดวัดนั้น ประกอบกับความเชื่อ คติธรรมของคนในชุมชนท้องถิ่น สมัยก่อนมีความเชื่อว่าก่อนจะนำพืชพันธุ์ธัญญาหารไปกิน ต้องนำไปทำบุญก่อนเพื่อเป็นศิริมงคลกับตนเองหรือครอบครัว การทำบุญประเพณีปังอ๊อกเปรี๊ยะแค (ใส่บาตรข้าวเม่า)จึงเกิดขึ้น คำว่า "ปังออก” เป็นภาษาเขมรแปลเป็นภาษาไทยว่า ป้อน ส่วนคำว่า "เปรี๊ยะแค” แปลว่า พระจันทร์ ซึ่งรวมกันแล้วแปลว่าประเพณีป้อนข้าวพระจันทร์ ประเพณีปังอ๊อกเปรี๊ยะแค เป็นประเพณีเดือนสิบสอง เมื่อถึงวันเพ็ญเดือนสิบสองผู้เฒ่าผู้แก่จะนำหนุ่มสาวออกไปเลือกเกี่ยวข้าวข้าวที่พอมาทำข้าเม่าได้ และเตรียมน้ำอ้อย น้ำตาล กล้วยสุก ไว้ให้พร้อม บางชุมชนก็จะนำข้าวที่เกี่ยวมาแล้วไปรวมกันที่วัด หลังจากกินข้าวเช้าแล้ว ผู้เฒ่าผผู้แก่จนำหนุ่มสาวออกปรวมกันที่วัด แบ่งหน้าที่เตรียมงานต่างๆ เช่ยเตรียมครกตำข้าวสองลูกตั้งห่างกันประมาณหนึ่งวา และวางสากตำข้าวหนึ่งอันวางพาดบนครกคู่นั้น แล้วนำเทียนที่รวบรวมขี้ผึ้งจากชาวบ้านมาควั่นเป็นเล่ม ได้ 8 เล่ม ติดไว้บนสาก ด้านล่างปูใบตองกล้วย 2 ก้าน พิธีจะเริ่มเสี่ยงทายในเวลาประมาณ 5 ทุ่ม โดยทุกคนจะไหว้พระ รับศีล แล้วเลือกชายหนุ่มสี่คน หญิงสาว ศี่คน เพื่อมาป้อนข้าวเม่ากล้วยสุก ซึ่งกันและกัน แล้วจับสากซ้อมข้าวหมุนเวลาสวดมนต์ พอดวงจันทรืตรงศรีษะก็เริ่มจุดเทียน แล้วทำนายเกี่ยวกับปริมาณฝนจากเปลวเทียนและน้ำตาเทียน ถือเป็นการละเล่นแทนงานลอยกระทง เพราะในหมู่บ้านบางแห่งอาจไม่มีแหล่งน้ำพอที่จะลอยกระทงได้ การเตรียมการ -กลุ่มทำข้าวเม่าเริ่มขูดข้าวออกจากรวง คั่งข้าว นำไปตำด้วยครกมือ ดำเนินการจนได้ข้าวเม่า -กลุ่มพิธีกรรมเกี่ยวกับการเสี่ยงทาย เริ่มจากหาขี้ผึ้งมาหล่อเป็นเทียน 8 เล่ม แล้วนำไปติดที่สากตำข้าวทั้ง 8 เล่ม เล่มที่ 1 แทนเดือน 5, เล่ม 2 แทนเดือน 6 ฯลฯ เล่มที่ 8 แทนเดือน 12 พร้อมทั้งจัดเตรียมอาสน์สงฆ์ไปพร้อมกัน วัตถุประสงค์การจัดงาน 1. เพื่อเป็นการนำพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ สู่การปฏิบัติ(การรักษาวัฒนธรรมคือการรักษาชาติ) 2. เพื่อเป็นการสืบสานประเพณีวัฒนธรรมของชนเผ่าดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ที่พูดภาษาถิ่นเป็นภาษาเขมร 3. เพื่อสร้างความปรองดองของคนที่พูดภาษาเขมร พิธีกรรม เมื่อถึงเวลาประมาณ 2 ทุ่ม พระคุณเจ้าหรือกรรมการวัดก็จะให้สัญญาณให้ทุกคนมาพร้อมกันที่วัด จะมีการละเล่นของหนุ่มสาว เช่น การเล่นตีจับ ม้าหลังโปก สะบ้า ข่วง ดนตรีพื้นบ้าน พิณ แคน ซอ จะเรียง เป็นต้น พอถึงเวลาพระจันทร์พระจันทร์เคลื่อนที่มาตรงศีรษะก็จะเริ่มพิธีปังออกเปรี๊ยะแค โดยให้ชายพรหมจรรย์และหญิงพรหมจรรย์นั่งหันหน้าเข้าหากันเป็นจำนวน 4 คู่ โดยมีจานข้าวเม่าและอุปกรณ์อยู่ตรงกลาง ผู้นำพิธีจะนำไหว้พระ สมาทานศีล เสร็จแล้วเป็นพิธีตักบาตรข้าวเม่า เมื่อตักบาตรข้าวเม่าเสร็จแล้วพราหมณ์ผู้นำในพิธีจะเริ่มต้นอัญเชิญเทวดา และกล่าวคำคาถาตามพิธีกรรม พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา(ต่อเนื่องจนกว่าจะเสร็จพิธี) เมื่อพราหมณ์สวดจบ ชายหนุ่มกับหญิงสาวจะป้อนข้าวเม่า กล้วย มะพราวซึ่งกันและกัน คนละ 3 คำ หลังจากนั้นชายหนุ่มและหญิงสาวทั้ง 8 คน ก็จะนั่งเรียงแถวคนละข้าง ระหว่างเทียนขี้ผึ้งทั้ง 8 เล่ม แล้วเริ่มจดเทียนพร้อมกัน เมื่อจุดติดแล้วชายหนุมและหญิงสาวอัตลักษณ์ (ที่โดดเด่น) เป็นประเพณีของชนเผ่าเขมรที่อาศัยอยู่ในจังหวัดศรีสะเกษ ที่ก่อนจะนำพืชพันธ์อาหารไปกินไปใช้ ซึ่งชนเผ่าเขมรจะต้องทำบุญให้กับพืชพันธ์ธัญญาหาร เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและคนในครอบครัว ก่อนที่จะนำข้าวเหล่านั้นไปเป็นอาหารต่อไป กิจกรรมที่โดดเด่นคือ 1. การตักบาตรข้าวเม่า 2. การต้องใช่้ชาย-หญิงสาวพรหมจรรย์ จำนวน 4 คู่ มาร่วมพิธีเสี่ยงทาย 3ใช้เทียนขี้ผึ้งแท้ในการจุดเสี่ยงทายข้าวปลาอาหาร ดูการหยดของเทียนแต่ละเล่ม เทียน 1 อันแทน 1 เดือน ความสำคัญและคุณค่าทางสังคมและทางจิตใจที่มีในวิถีการดำเนินชีวิตของชุมชน นั้นๆ เป็นประเพณีที่สร้างความสามัคคีและเห็นความสำคัญของพืชพันธ์ธัญญาหาร ซึ่งเป็นอาชีพหลักของคนในชุมชน
จับต้องไม่ได้ : InTangible.
ศิลปะการแสดง : PA : Performing Arts ดนตรี
นาฏศิลป์และการละคร
.
เลขที่ : วัดบ้านสำโรงพลัน ต. ไพรบึง อ. ไพรบึง จ. ศรีสะเกษ 33180
ธีรพงศ์ สงผัด
นางจุฑามณี รุ้งแก้ว : มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ : 2566 Open Call