PMU ทุนทางวัฒนธรรม


ข้อมูลวัฒนธรรม : PA-33180-00053 [ ได้รับทุนจากโครงการ ]

ประเพณีรำผีปะกำ
-

ผีปะกำอาเจียง หรือ ผีปะกำ ซึ่งเป็นผีบรรพชนและเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สูงสุด ในวิถีชีวิตชาวส่วยหรือชาวกูย กลุ่มชาติพันธุ์พื้นถิ่นที่มีอาชีพจับช้างและเลี้ยงช้าง ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งคำว่า "ปะกำ" แปลว่าบ่วงบาศ กับ "อาเจียง" แปลว่าช้าง รวมกันจึงแปลว่า "บ่วงบาศคล้องช้าง" ชาวกูยเชื่อว่าผีปะกำจะสิงสถิตอยู่ในหนังปะกำหรือเชือกปะกำที่ใช้คล้องช้าง ซึ่งทำจากหนังวัวหรือหนังควายและเครือไม้ (ภาษากูยเรียกอะวาลแปรง) นำมาฟั่นเป็นเกลียวเชือกมีความยาว 40 เมตรขึ้นไป ปลายเชือกข้างหนึ่งทำปลอกคู่เป็นบ่วงบาศ มีไว้สำหรับคล้องช้าง ชาวกูยหรือชาวส่วยที่มีการสืบทอดความเชื่อเกี่ยวกับผีปะกำจะทำการสร้างศาลผีปะกำให้ผีปะกำประทับอยู่ โดยมากสร้างอยู่ทางทิศตะวันออกของเรือน เป็นศาลมุงหลังคา มีสี่เสา สูงจากพื้นพอประมาณเพื่อป้องกันไม่ให้เชือกปะกำเสียหายจากความชื้นและสัตว์เลี้ยง บางหลังคาเรือนก็นำขึ้นไปเก็บไว้บนบ้านโดยจังห้องหรือสถานที่สำหรับวางเชือกปะกำเพื่อทำพิธีไหว้บูชาอย่างเป็นสัดส่วน นับถือประดุจพระประจำบ้านสิ่งศักดิ์ประจำเรือน ส่วนใหญ่จะพบว่าผู้ที่จะปรนนิบัติหรือเป็นผู้นำประกอบพิธีบวงสรวงผีปะกำจะเป็นผู้หญิงที่ได้รับความเชื่อถือจากลูกหลานและเครือญาติ ระบบความเชื่อเรื่องผีปะกำสะท้อนให้เห็นถึงระบบอำนาจของผู้อาวุโสในสายตระกูลได้เป็นอย่างดี กล่าวคือ ความเชื่อเรื่องผีปะกำเป็นคติความเชื่อในลักษณะการถ่ายโอนอำนาจจากผีบรรพบุรุษไปสู่ผู้อาวุโสในสายตระกูล ทำให้ผู้อาวุโสได้รับความเคารพเชื่อฟังจากสมาชิกในตระกูล เป็นผู้นำในการประกอบพิธีเซ่นสรวงผีปะกำ รวมทั้งเป็นผู้ที่มีอำนาจสั่งการทุกอย่างในพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับผีปะกำ คติความเชื่อเรื่องผีปะกำยังมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับโครงสร้างสังคมส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการจัดระเบียบทางโครงสร้างเศรษฐกิจและการควบคุมการใช้ทรัพยากรของชุมชน บทบาทของเพศชายและเพศหญิง การจัดระเบียบครอบครัว เครือญาติและสายตระกูล ตลอดจนคติความเชื่อของคนในท้องถิ่นพิธีกรรมความเชื่อเรื่องผีปะกำที่ดำรงอยู่ในชุมชนทุกวันนี้ ยังคงทำหน้าที่ตอบสนองความต้องการของชุมชนใน ระดับ คือ ระดับครอบครัว และระดับปัจเจกบุคคล ในระดับครอบครัว ปัจจุบันการถ่ายทอดองค์ความรู้จะถูกจำกัดอยู่เพียงแค่ระบบครอบครัวและเครือญาติผู้นับถือเท่านั้น และปัจจุบันลูกหลานรุ่นหลังมีทั้งส่วนที่ให้ความสำคัญและไม่ให้ความสำคัญ ที่ผ่านมาพบว่ามีการเลิกนับถือและมีการนำเอาเชือกปะกำไปทำประโยชน์อย่างอื่นเช่น ใช้ทำเป็นเชือก หรือนำไปขายให้กับพ่อค้าที่นิยมทำเครื่องรางของขลัง ถ้าหากไม่ส่งเสริมหรือมีมาตรการในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู หรือต่อยอดให้วัฒนธรรมนี้คงอยู่ ต่อไปอาจจะลดจำนวนผู้ปฏิบัตินับถือลงและสูญหายไปตามกาลเวลา เหมือนดังเรื่องราวทางประวัติบุคคลสำคัญที่เคยเป็นปะกำช้างหรือเรื่องราวที่บรรพชนเคยสร้างไว้ลูกหลานรุ่นปัจจุบัน



 

Icon
ประเภทวัฒนธรรม

จับต้องไม่ได้ : InTangible.

Icon
หมวดหมู่วัฒนธรรม

ศิลปะการแสดง : PA : Performing Arts ดนตรี
นาฏศิลป์และการละคร
.

Icon
ที่ตั้ง

เลขที่ : ต. ไพรบึง อ. ไพรบึง จ. ศรีสะเกษ 33180

Icon
ชื่อผู้ให้ข้อมูลหรือชื่อกลุ่มผู้ให้ข้อมูล

ธีรพงศ์ สงผัด

Icon
ช่องทางติดต่อผู้ให้ข้อมูล

Icon
ผู้บันทึกข้อมูล

นางจุฑามณี รุ้งแก้ว : มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ : 2566 Open Call

Icon
แหล่งข้อมูอื่น ๆ
-
พิกัด GPS

มีผู้เข้าชมจำนวน :48 ครั้ง
บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ : 19/03/2024 - ปรับปรุงล่าสุดวันที่ : 09/07/2024