การนับถือผีเป็นความเชื่อของชาวล้านนาที่มีมาก่อนการนับถือพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นการยึดมั่นในสิ่งที่คิดว่าดีหรือศักดิ์สิทธิ์ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นสบายใจแก่ชาวล้านนา เมื่อสังคมเกิดการขยายตัวส่งผลให้ความเชื่อเรื่องผีเกิดความซับซ้อนยิ่งขึ้น ชาวล้านนามีความผูกพันธ์กับสิ่งเหนือธรรมชาติ เรียกว่า “ผี” ชาวล้านนามีความเชื่อว่าเมื่อครั้งเป็นคน ได้รับการยกย่องจากสังคม เมื่อตายไปแล้วจึงได้รับการบูชาในฐานะผู้ปกป้องชุมชน เรียก “ผีเสื้อบ้าน” ส่วนผีที่คุ้มครองปกป้องบ้านเมือง เรียก “เสื้อเมือง” (วิถี พานิชพันธ์ , 2548: 17-23) เจ้าหลวงซางคำ เป็น อารักษ์หลวงของชุมชนบ้านแม่ลอยหลวง และชุมชนในพื้นที่ของตำบลศรีดอนไชย เป็นเจ้าหลวงของชุมชนคนเชื้อสายทางน่าน ซึ่งมีชุมชนชาวบ้านได้มาร่วมสร้างตำหนักที่มีความสวยงาม ขนาดใหญ่เป็นที่ศรัทธาเคารพ ของชุมชนหลาย ชุมชน และทางบ้านแม่ลอยหลวงได้มีการอัญเชิญ พ่อหลวงซางคำ ไปทำพิิธีเลี้ยงเจ้าหลวง ร่วมกับ หอเจ้าหลวงปวงคำ ในชุมชนแม่ลอยหลวงทุกปี การเลี้ยงผีอารักษ์ครั้งที่ 1 หรือเรียกว่า ปางสี่ จะทำขึ้นในเดือนสี่เหนือ (ตรงกับเดือนมกราคม) ในการเลี้ยงผีอารักษ์ครั้งนี้ ข้าวจ้ำ (ผู้ทำหน้าที่นำการประกอบพิธี) จะเป็นผู้บอกกล่าวอัญเชิญผีหลวงอารักษ์ให้มาร่วมงานเลี้ยงหอผีหลวงในครั้งที่ 2 หรือ ปางหก (จัดขึ้นในเดือนเหนือ 6 ตรงกับเดือนมีนาคม) และปางเก้า (จัดขึ้นในเดือนเหนือ 9 ตรงกับเดือนมิถุนายน) โดยในครั้งนี้พิธีกรรมจะมีแค่การบอกกล่าวแก่ผีอารักษ์ให้มาร่วมในการเลี้ยงหอผีในปางหกและปางเก้า (ประมูล ไชยราช, สัมภาษณ์)
จับต้องไม่ได้ : InTangible.
แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาล : SP : Social Practices, ritual and festive events ขนบธรรมเนียบประเพณีเกี่ยวกับวงจรชีวิต
.
เลขที่ : บ้านแม่ลอยหลวง ต. ศรีดอนไชย อ. เทิง จ. เชียงราย 57160
ประมูล ไชยราช ถอดเทปสัมภาษณ์ โดย ผศ นครินทร์ น้ำใจดี และวิถี พานิชพันธ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย : 2567 Festival