ชีวิตวัฒนธรรมท้องทุ่ง พื้นที่บริเวณตอนกลางของหุบเขาดอยม่อนเมาที่อยู่ส่วนเหนือของลุ่มน้ำอิงตอนกลางในเขตตำบลลอ อำเภอจุน จังหวัดพะเยา พื้นที่ราบหุบเขาในบริเวณนี้จะเรียกกันว่า “ ทุ่งลอ ” บริเวณทุ่งลอนอกจากจะเป็นพื้นที่ตั้งของเมืองโบราณเวียงลอแล้ว ยังเป็นเขตพื้นที่ปลูกข้าวหอมมะลิที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในภาคเหนือ และเป็นพื้นที่สำหรับปลูกข้าวหอมมะลิเพื่อส่งออกด้วย เหตุที่พื้นที่ราบขนาดใหญ่ได้ชื่อว่า “ ทุ่งลอ ” เนื่องมาจาก พื้นที่ราบดังกล่าวในอดีตอยู่ในเขตการปกครองของตำบลลอ พื้นที่จึงเรียกว่า “ ทุ่งลอ ” ตามชื่อตำบล ความเป็น “ ทุ่งลอ ” ในปัจจุบันคือบริเวณบ้านห้วยข้าวก่ำ ทุ่งรวงทอง บ้านลอ และหงส์หินยาวไปจนอำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย ทุ่งลอ มีตำนานเล่าขานกันว่า เป็นทุ่ง ๓ หมอน เหตุเพราะเป็นพื้นที่ราบขนาดใหญ่ไปจนกระทั่งถึงเทิง กว่าจะเดินทางถึงเทิงสามารถเย็บหมอนเสร็จถึง ๓ ใบ การที่ “ ทุ่งลอ ” เป็นแหล่งอู่ข้าวที่สำคัญของคนจุน-เทิง และเมืองพะเยามาแต่อดีต วิถีชีวิตของชาวบ้านผู้คนจึงสัมพันธ์กับการเพาะปลูก ซึ่งก็เช่นเดียวกับที่ท้องถิ่นเวียงลอ อันเป็นหมู่บ้านที่จะเรียกว่าอยู่ขอบของทุ่งลอก็ว่าได้ พวกเขายังมีอาชีพทำการเกษตรมาแต่เดิมแล้ว หากแต่วิธีการจะเปลี่ยนแปลงไปบ้างก็เพราะปัจจัยทางสังคมทั้งภายในท้องถิ่นและภายนอกที่เป็นตัวขับเคลื่อน ในอดีตชาวบ้านในเขตเวียงลอจะใช้น้ำฝนในการทำการเกษตร และจะทำเกษตร (ปลูกข้าวนาปี)เพียงปีละหนึ่งครั้งเท่านั้น ครั้นถ้าน้ำฝนไม่พอชาวบ้านจะทำการดึงน้ำจุนจากฝายลอที่บ้านดงป่าตาลมาใช้ร่วมด้วย เหตุที่ใช้น้ำจุนเพราะมีการสร้างฝายลอ(ฝายแม้ว) เพื่อทดน้ำเข้ามาในพื้นที่ โดยไหลผ่านมายังบ้านร่องย้างและบ้านน้ำจุน จากนั้นจึงแยกออกมาเป็นลำเหมืองผ่านเหมืองไส้ไก่ และเข้าสู่ที่นาชาวบ้านต่อไป แต่ปัจจุบันฝายลอได้มีการเปลี่ยนเป็นฝายคอนกรีตแล้วเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๖
จับต้องได้ : Tangible.
ความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล : KP : Knowledge and Practices concerning nature and the โหราศาสตร์ ดาราศาสตร์ และไสยศาสตร์
ชัยภูมิและการตั้งถิ่นฐาน
.
เลขที่ : บ้านแม่ลอยหลวง ต. ศรีดอนไชย อ. เทิง จ. เชียงราย 57160
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย : 2567 Festival