ประเพณีการทำนาของคนล้านนาในสมัยก่อนจะทำพิธีเคารพเจ้าที่ ผีอารักษ์ เพื่อขออนุญาติเจ้าที่และสภาพแวดล้อมทั้งปวง โดยจะมีพิธีกรรม “แฮกนา” หรือแรกนา ซึ่งเป็นพิธีกรรมสำคัญพิธีกรรมหนึ่งทางด้านการเกษตรที่เกษตรกรจะทำก่อนช่วงฤดูทำนา (ก่อนทำนาปลูกข้าว) ในราวเดือนแปดเหนือ(เดือนพฤษภาคม) เพื่อบอกกล่าวเจ้าที่เจ้าทาง แม่โพสพ แม่ธรณี ที่จะเริ่มทำนา เพื่อความเป็นสิริมงคลเมื่อเริ่มฤดูทำนา และเป็นการเสี่ยงทายไปในตัว (ชมรมฮักตั๋วเมือง สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม, 2561, ออนไลน์) การกำหนดวันแรกนาของล้านนาจะมีการหาฤกษ์ยามก่อนเสมอ เมื่อได้ฤกษ์แล้วก็จะมีการตั้งราชวัตรฉัตรธงในที่นา ตั้งท้าวทั้งสี่ขึ้นตามประเพณี ซึ่งราชวัตรประกอบไปด้วยหมากกำพลูใบ สวยดอกไม้ 5 สวย วางไว้ 4 มุมของราชวัตรและอีก 1 สวย วางไว้ตรงกลาง เรียกว่า ซองข้าวแฮก จากนั้นจะเชิญอาจารย์ประจำชุมชนมาประกอบพิธีเรียกขวัญข้าว บอกกล่าวเทพารักษ์ที่ปกปักรักษาแดนนา พระแม่โพสพ และพระแม่ธรณี โดย ใช้ต้นกล้าข้าว 1 กำ ในการประกอบพิธีนี้ด้วย
จับต้องไม่ได้ : InTangible.
แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาล : SP : Social Practices, ritual and festive events ขนบธรรมเนียบประเพณีเกี่ยวกับการทำมาหากิน
.
เลขที่ : บ้านแม่ลอยหลวง ต. ศรีดอนไชย อ. เทิง จ. เชียงราย 57160
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย : 2567 Festival