PMU ทุนทางวัฒนธรรม


ข้อมูลวัฒนธรรม : CS-20120-00159 [ ได้รับทุนจากโครงการ ]

อัษฎางคะวัน
Asdangkawan

อัษฎางคะวัน เคยเป็นสวนสาธารณะบนเกาะสีชัง สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ตั้งอยู่บริเวณไร่บน ทางตอนเหนือของเกาะ ใช้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ และใช้เป็นทางสัญจรของชาวเกาะสีชังและผู้ที่มาพักอาศัย ประกอบด้วยถนนหนทางที่เชื่อมต่อกัน พลับพลาที่พักอย่างเก๋งพระภักดี ต้นไม้ บ่อน้ำ รวมถึงจุดชมวิวทิวทัศน์ ได้แก่ ที่แลราชโกษา ช่องอิสริยาภรณ์หรือช่องเขาขาด และมีการจัดทำศิลาจารึกการสร้างไว้ 4 หลัก ปัจจุบันเหลือเพียงหลักเดียวอยู่บริเวณโรงเรียนเกาะสีชัง แต่ปัจจุบันแทบไม่เหลือร่องรอยของอัษฎางคะวัน ซึ่งแต่เดิมวางแผนไว้เพื่อให้เป็นสวนสาธารณะหรือพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจของชุมชน เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินและกรรมสิทธิ์ที่ดิน โดยเฉพาะบริเวณที่เป็นพื้นที่ราบถูกพัฒนาไปเป็นชุมชนเมือง มีการสร้างบ้านเรือน ร้านค้า สถานที่ราชการ โรงเรียน ศาสนสถาน กระจายอยู่ทั่วพื้นที่ ซึ่งรวมไปถึงการสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทางทิศเหนือ ส่วนบริเวณพื้นที่ลาดเขาบนภูเขามีการเปลี่ยนแปลงน้อยกว่า ยังคงสภาพเป็นพื้นที่ตามธรรมชาติ มีต้นไม้ใหญ่ และพืชพรรณอยู่ทั่วไป ยกเว้นบางยอดเขาที่กลายเป็นที่ตั้งของวัดและสำนักสงฆ์ อย่างไรก็ตาม ยังคงมีองค์ประกอบของอัษฎางคะวันปรากฏอยู่บ้าง ที่ยังคงเด่นชัด คือ เก๋งพระภักดี และแนวถนนหลักต่างๆ ที่ยังใช้เป็นทางสัญจร ในปัจจุบัน นอกจากนี้ ยังมีต้นไม้ใหญ่ บ่อน้ำ ศาลา บันได ป้ายชื่อ ฯลฯ เพียงแต่ภาพรวมของความเป็นสวนสาธารณะหรือพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจได้หายไป


เส้นเวลา (Timeline)
พ.ศ. 2434 - 2567 ....

           เหตุการณ์ :   ช่วงที่รัชกาลที่ 5 เสด็จแปรพระราชฐานอยู่ ณ เกาะสีซัง ได้ทอดพระเนตรเห็นภูมิประเทศบริเวณ "ไร่บน" ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของเกาะ ว่ามีสภาพเหมาะสมที่จะพัฒนาให้เป็น "ป๊าก" (park) คือ สวนขนาดใหญ่ที่มีความร่มรื่น สำหรับผู้คนได้ไปมาใช้พักผ่อนเที่ยวเล่นได้ และได้พระราชทานนามสวนนี้ว่า อัษฎางคะวัน หรือ อัษฎางควัน ตามพระนามสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ และยังเป็นชื่อเดียวกับสถานที่สำคัญอื่น ๆ ในเกาะสีซังและในพระจุฑาธุชราชฐาน เช่น สะพานอัษฎางค์ เสาธงอัษฎางค์ อัษฎางค์ประภาคาร ถนนอัษฎางค์ วัดอัษฎางคนิมิตร และ บ่ออัษฎางค์ ดังปรากฎความในพระราชดำรัสในวันเปิดอัษฎางคะวัน เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2434 แต่ปัจจุบันแทบไม่เหลือร่องรอยของอัษฎางคะวัน ซึ่งแต่เดิมวางแผนไว้เพื่อให้เป็นสวนสาธารณะหรือพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจของชุมชน เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินและกรรมสิทธิ์ที่ดิน โดยเฉพาะบริเวณที่เป็นพื้นที่ราบถูกพัฒนาไปเป็นชุมชนเมือง มีการสร้างบ้านเรือน ร้านค้า สถานที่ราชการ โรงเรียน ศาสนสถาน กระจายอยู่ทั่วพื้นที่ ซึ่งรวมไปถึงการสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทางทิศเหนือ ส่วนบริเวณพื้นที่ลาดเขาบนภูเขามีการเปลี่ยนแปลงน้อยกว่า ยังคงสภาพเป็นพื้นที่ตามธรรมชาติ มีต้นไม้ใหญ่ และพืชพรรณอยู่ทั่วไป ยกเว้นบางยอดเขาที่กลายเป็นที่ตั้งของวัดและสำนักสงฆ์ อย่างไรก็ตาม ยังคงมีองค์ประกอบของอัษฎางคะวันปรากฏอยู่บ้าง ที่ยังคงเด่นชัด คือ เก๋งพระภักดี และแนวถนนหลักต่างๆ ที่ยังใช้เป็นทางสัญจร ในปัจจุบัน นอกจากนี้ ยังมีต้นไม้ใหญ่ บ่อน้ำ ศาลา บันได ป้ายชื่อ ฯลฯ เพียงแต่ภาพรวมของความเป็นสวนสาธารณะหรือพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจได้หายไป
           ผลกระทบ :   แทบไม่เหลือร่องรอยความเป็นสวนของอัษฎางคะวัน เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินและกรรมสิทธิ์ที่ดินไปเป็นชุมชน

     

 

Icon
ประเภทวัฒนธรรม

จับต้องได้ : Tangible.

Icon
หมวดหมู่วัฒนธรรม

พื้นที่วัฒนธรรม : CS : Cultural Space พื้นที่วัฒนธรรมที่เป็นพื้นที่ธรรมชาติ
พื้นที่วัฒนธรรมที่เป็นพื้นที่ที่มนุษย์สร้างขึ้น
.

Icon
ที่ตั้ง

เลขที่ : หมู่ 4 ต. ท่าเทววงษ์ อ. เกาะสีชัง จ. ชลบุรี 20120

Icon
ชื่อผู้ให้ข้อมูลหรือชื่อกลุ่มผู้ให้ข้อมูล

รองศาสตราจารย์จามรี อาระยานิมิตสกลุ และ อาจารย์พีรศรี โพวาทอง

Icon
ช่องทางติดต่อผู้ให้ข้อมูล

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

Icon
ผู้บันทึกข้อมูล

มัชฌิมา มรรคา : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : 2566 Open Call

Icon
แหล่งข้อมูอื่น ๆ
-

มีผู้เข้าชมจำนวน :210 ครั้ง
บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ : 09/05/2024 - ปรับปรุงล่าสุดวันที่ : 20/08/2024