PMU ทุนทางวัฒนธรรม


ข้อมูลวัฒนธรรม : SP-17110-00073 [ ได้รับทุนจากโครงการ ]

หลวงพ่อสามพี่น้อง วัดศรีมณีวรรณ
The Three Budda at Wat Sri Maneewan

พระพุทธรูป 3 องค์ หรือหลวงพ่อสามพี่น้อง ปางสะดุ้งมาร ประดิษฐานอยู่ที่วัดศรีมณีวรรณหรือวัดใต้ หลวงพ่อสามพี่น้องลักษณะเป็นเนื้อหินทราย สกัดเป็นท่อน ๆ ทั้งสามองค์ เดิมประดิษฐานอยู่ที่วัดโคกจัน ตั้งห่างจากวัดศรีมณีวรรณไปทางใต้ประมาณ 6 เส้น วัดโคกจัน สันนิฐานว่า สร้างในปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ต่อมากรุงศรีอยุธยาได้เสียเมืองให้แก่พม่า ทหารพม่าได้เข้ามาเผาทำลายศาสนวัตถุจนหมดสิ้น เพื่อเป็นการทำลายขวัญและกำลังใจของชาวไทย เมื่อเป็นอย่างนี้ ชาวบ้านวัดโคกจันจึงได้ช่วยกันอุ้มองค์หลวงพ่อสามพี่น้องทั้งสามองค์ ไปซ่อนในที่ต่างๆ ก่อนที่ทหารพม่าจะมาพบ เพราะเกรงว่าทหารพม่าจะทำลายองค์หลวงพ่อเสียหาย แต่ส่วนที่เป็นสิ่งปลูกสร้างทหารพม่าได้พังทะลาย พอจบจากข้าศึกได้ผ่านไป ชาวบ้านจึงได้ช่วยกันอุ้มองค์หลวงพ่อสามพี่น้องมาไว้ที่ต้นยางซึ่งติดกับวัดโคกจัน จากนั้นต่อมาชาวบ้านจึงได้ร่วมใจกันสร้างสำนักสงฆ์ขึ้นมาใหม่ โดยย้ายมาสร้างเหนือวัดโคกจันห่างประมาณ240 เมตร ชื่อสำนักสงฆ์กุฏสระแก้ว (คือ วัดศรีมณีวรรณในปัจจุบันนี้) แล้วได้อันเชิญหลวงพ่อสามพี่น้องมาประดิษฐานไว้ที่สำนักสงฆ์แห่งนี้ ใต้ต้นมะพลับใหญ่ ต่อมาได้มีแม่ชีรูปหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้เคร่งในการปฏิบัติกรรมฐาน และเป็นหมอรักษาโรคทางอาคมคาถา อยู่มาวันหนึ่งมีผู้ป่วยได้มาให้แม่ชีรักษาโรค แม่ชีก็รักษาจนผู้ป่วยคนนั้นหายดีแล้ว ญาติของผู้ป่วยก็ได้นำปัจจัยมาถวายแม่ชี แต่แม่ชีก็ไม่ได้รับปัจจัยนั้น และบอกกับญาติของผู้ป่วยว่า ให้ช่วยบูรณะหลวงพ่อสามพี่น้อง และสร้างวิหารให้ท่านด้วย ญาติของผู้ป่วยจึงได้ว่าจ้างช่างมาบูรณะองค์หลวงพ่อสามพี่น้อง และได้สร้างวิหารให้ท่านใหม่ตามที่แม่ชีได้บอกกล่าว โดยสร้างเป็นวิหารไม้สามมุข ต่อมาวิหารไม้สามมุขได้ผุพังไป ประชาชนก็ได้อันเชิญหลวงพ่อสามพี่น้อง โดยได้ช่วยกันอุ้มหลวงพ่อสามพี่น้อง ไปประดิษฐานในอุโบสถ์หลังเก่าประมาณ 20 ปีที่แล้ว เมื่อปี พ.ศ. 2544 ประชาชนจึงได้สร้างวิหารให้ท่านใหม่ สร้างเสร็จก็ได้อันเชิญหลวงพ่อสามพี่น้องไปประดิษฐาน ณ วิหารหลังใหม่เมื่อเดือนเมษายน 2544 จนถึงทุกวันนี้ ทั้งนี้หลวงพ่อสามพี่น้องนั้น เป็นพระพุทธรูปที่ประชาชนในพื้นที่ให้ความเคารพนับถือกันมาอย่างยาวนาน เปรียบเสมือนเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองคนในชุมชน


เส้นเวลา (Timeline)
พ.ศ. 2518 - 2519 ....

           เหตุการณ์ :   มีการสร้างพระประธานประจำอุโบสถของวัด
           ผลกระทบ :   เป็นพระปะธานที่เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในชุมชน และเป็นพระพุทธรูปอันศักดิ์สิทธิ์ที่คนในชุมชนในช่วงนั้นให้ความเคารพนับถือ

     

 

Icon
ประเภทวัฒนธรรม

จับต้องได้ : Tangible.

Icon
หมวดหมู่วัฒนธรรม

แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาล : SP : Social Practices, ritual and festive events ขนบธรรมเนียบประเพณีเกี่ยวกับศาสนา
.

Icon
ที่ตั้ง

เลขที่ : ต. คุ้งสำเภา อ. มโนรมย์ จ. ชัยนาท 17110

Icon
ชื่อผู้ให้ข้อมูลหรือชื่อกลุ่มผู้ให้ข้อมูล

นายเอกชัย ปั้นโต

Icon
ช่องทางติดต่อผู้ให้ข้อมูล

ที่ทำการผู้ใหญ่บ้านหมู่2 ตำบลคุ้งสำเภา อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท

Icon
ผู้บันทึกข้อมูล

Pisarn : มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม : 2566 Festival

Icon
แหล่งข้อมูอื่น ๆ
-
พิกัด GPS

มีผู้เข้าชมจำนวน :87 ครั้ง
บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ : 17/05/2024 - ปรับปรุงล่าสุดวันที่ : 25/11/2024


BESbswy