ชุมชนคุ้งสำเภานั้นมีพื้นที่ทางวัฒนธรรมที่มีความเป็นอัตลักษณ์และเป็นสัญลักษณ์ในการบ่งบอกถึงความเป็นชุมชนคุ้งสำเภา คือซากเรือเก่าสำเภาทองตั้งอยู่ ณ บริเวณลานกิจกรรมและออกกำลังกายในชุมชน จากข้อมูลทางประวัติศาสตร์พบว่า เดิมเรือสำเภาทองเป็นเรือของชาวจังหวัดพิจิตร สร้างเมื่อ 70 ปีที่แล้วด้วยไม้ตะเคียนทั้งลำเพื่อใช้ในการลำเลียงสินค้าต่าง ๆ ไปค้าขาย ต่อมาเมื่อมีถนนสายเอเชียตัดผ่านจึงได้ขายต่อมายังจังหวัดชัยนาทใช้บรรทุกข้าวสารเพื่อส่งลูกค้าที่กรุงเทพมหานครจนกระทั่งมีการสร้างเขื่อนเจ้าพระยา จึงได้จมเรือไว้ในแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อรักษาเนื้อไม้ไม่ให้ผูกกร่อนจากแสงแดดและแรงลมเนื่องจากไม่ได้ใช้งานขนสินค้าทางน้ำแล้ว ต่อมาเรือสำเภาลำดังกล่าวได้ถูกกู้เรือขึ้นเมื่อสมัยเริ่มสร้างเขื่อนเจ้าพระยา โดยมีการบูรณะซ่อมแชมใหม่ด้วยไม้สัก พร้อมทั้งทาสีทองทั้งลำเรือเพื่อให้เกิดความสวยงามและเรียกชื่อว่าสำเภาทองมโนรมย์ เมื่อซ่อมแล้วเสร็จ เรือมีขนาดกว้าง 5.8 เมตร ยาว 17เมตร และเสากระโดงกลางสูง 10 เมตร ภายหลังจากที่ได้มีการซ่อมแซมเรือสำเภาโบราณเสร็จ จึงได้นำมาติดตั้งไว้ทีบริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยาหน้าศาลเจ้าพ่อกวนอู และมีพิธีการบวงสรวงแม่ย่านางเรือสำเภาทองมโนรมย์ เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 โดยปัจจุบันบริเวณอนุสรณ์เรือสำเภาทองมโนรมย์ได้มีนักท่องเที่ยวเข้ามาสักการบูชาและชมความสวยงาม และมีชื่อเสียงในการให้โชคลาภ การโยนเหรียญใส่ลำเรือเพื่อสร้างความเป็นสิริมงคลให้ตนเองและครอบครัวมีความเจริญรุ่งเรือง อีกทั้งเป็นจุดเช็คอินแก่นักท่องเที่ยวและผู้มาเยือนในชุมชนคุ้งสำเภา
![]() |
เหตุการณ์ :
เกิดเหตุการณ์ไฟไหม้เรือสำเภาลำเดิมจากการกระทำของมนุษย์ ส่งผลให้บริเวณส่วนหน้าของเรือได้รับความเสียหายและไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์นี้ |
![]() ![]() |
จับต้องได้ : Tangible.
พื้นที่วัฒนธรรม : CS : Cultural Space พื้นที่วัฒนธรรมที่เป็นพื้นที่ที่มนุษย์สร้างขึ้น
.
เลขที่ : ต. คุ้งสำเภา อ. มโนรมย์ จ. ชัยนาท 17110
เทศบาลตำบลคุ้งสำเภา
056-491325
Pisarn : มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม : 2566 Festival