ข้อมูลเกลือขูด สถานที่ประกอบการ บ้านงิ้วด่อน และ ตำบลตองโขบ สถานที่ขูดดินขี้ทา (บริเวณดอนต่างๆในพื้นที่หนองหาร จังหวัดสกลนคร) - ดอนสร้างแก้ว (หนองหาร) จะได้เกลือขี้ทาสีขาวนวล - ดอนขามแป (หนองหาร) จะได้เกลือมันปูสีน้ำตาลคล้ายสีมันปูหรือคล้ายสีน้ำตาลทรายแดง - ตามท้องนาบริเวณตำบลตองโขบ อำเภอโคกสีสุพรรณ จะได้ทั้งเกลือขี้ทาสีขาวนวลและเกลือมันปู วิธีการทำ (เกลือทั้งสองชนิดมีวิธีทำแบบเดียวกัน) การขูดขี้ทา หลังจากเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จในหน้าแล้งช่วงเดือนมกราคม-เมษายน ตามท้องนาและ ดอนสร้างอีแก้ว , ดอนขามแป จะมีดินเอียดหรือที่ชาวอีสานเรียกว่าขี้ทา (ดินเค็มที่มีละอองหรือส่าเกลือ) ขึ้นมาบนผิวดินให้เห็นเป็นสีขาวหรือสีเทา ชาวบ้านลงมือขูดดินเอียดเพื่อนำมาเป็นวัตถุดิบในการต้มเกลือ โดยใช้แผ่นเหล็กในการขูดเอาขี้ทาซึ่งขึ้นอยู่บนผิวดิน รวบรวมใส่ภาชนะหรือกระสอบที่เตรียมไว้ ขั้นตอนการต้ม ก่อนต้มเกลือชาวบ้านจะทำพิธีบอกกล่าวเจ้าที่สิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อเป็นศิริมงคลขอให้การต้มเกลือไม่มีอุปสรรค และให้ได้ผลผลิตมากตามต้องการ ซึ่งจัดแต่งขัน 5 (ดอกไม้ 5 คู่ เทียน 5 คู่ เงิน 5 บาท) กระทงหมากพลู คำบอกกล่าวขึ้นอยู่กับผู้ประกอบการจะบอกกล่าว ไม่มีคำพูดตายตัว เช่น มื้อนี้ลูกหลานจะเริ่มต้มเกลือแล้วเด้อ ขอสิ่งศักดิ์สิทธิ์เจ้าที่เจ้าทางอำนวยให้ได้ผลผลิตมากตามต้องการ......เป็นต้น จากนั้นจึงเริ่มดำเนินการต้มเกลือ 1.นำดินขี้ทาหรือดินเอียดใส่ในซุงหมักดิน เมื่อเทน้ำสะอาดใส่ในซุงหมักแล้ว น้ำขี้ทาหรือน้ำเอียดที่ผ่านการกรองแบบธรรมชาติจะไหลออกจากรูลงในภาชนะที่รองไว้ด้านล่างของซุง 2.เมื่อได้น้ำกลือที่เพียงพอต่อการต้มแต่ละครั้งแล้ว จะมีการวัดความเค็มจากน้ำที่รองได้ คือ ใช้ครั่งหรือขี้ครั่งขนาดก้อนเท่าหัวแม่มือ นำมาลอยในน้ำเอียด ถ้าก้อนครั่งลอยแสดงว่ามีความเค็มมาก ถ้าครั่งจมน้ำแสดงว่าความเค็มยังไม่เพียงพอที่จะนำมาต้มเป็นเกลือและใช้วัดน้ำเอียดว่าน้ำเอียดนั้นมีความจืดแล้วหรือยัง 3.เมื่อได้น้ำเกลือที่สามารถต้มเป็นเกลือได้แล้วขั้นตอนต่อไปคือนำน้ำเกลือมาเคี่ยวหุง โดยใช้กระทะ ที่ทำจากแผ่นสังกะสี สุมไฟไปตลอดจนน้ำระเหยกลายเป็นผลึกเกลือสีขาวขุ่น 4.จากนั้นตักเกลือใส่ตระกร้าไม้ไผ่ผึ่งเกลือไว้ให้แห้ง เสร็จแล้วก็นำเกลือมาบรรจุกะทอที่ทำด้วยไม้ไผ่สาน ขนาดของกะทอขึ้นอยู่กับผู้ใช้ ส่วนใหญ่ขนาดพอบรรจุเกลือหนัก 1 หมื่น (12 กิโลกรัม) ก่อนบรรจุเกลือใช้ใบไม้รองด้านใน (ปัจจุบันใช้ตาข่ายพลาสติกรอง) เกลือกะทอของชาวอีสานในอดีตเป็นทั้งสินค้าซื้อขายและแลกเปลี่ยนของพ่อค้าทางไกล ชาวอีสานเรียกว่า “นายฮ้อยเกลือ” เกลือกะทอสามารถเก็บไว้บริโภคได้นานแรมปี เกลือกะทอหนัก12 กิโลกรัม ราคาประมาณ 150 – 200 บาท (พ.ศ. 2559) ซึ่งระยะเวลาการผลิตเกลือสินเธาว์อยู่ระหว่างเดือนมกราคม ไปจนถึงปลายเดือนเมษายนของทุกปี ปัจจุบันนี้ราคาจะอยู่ที่ ขายหมื่นละ 350 บาท ( 1หมื่น เท่ากับ 12 กิโลกรัม) เมื่อเสร็จสิ้นฤดูกาลต้มเกลือแล้ว จะมีการนำเกลือที่ต้มได้ไปหว่านกลับคืนที่บริเวณไปขูดดินขี้ทา เพราะชาวบ้านเชื่อว่าเมื่อเอามาแล้วต้องเอาไปคืน ปีต่อๆไปจะได้มีเกลือขึ้นมาให้ขูดอีก ทรัพยากรจะได้ไม่หมดไปนั่นเอง พิธีกรรมหรือความเชื่อ พิธีกรรมก่อนและหลังการไปขูดดินขี้ทา วิธีการ คือ วันแรกที่ไปขูดดินขี้ทาจะมีการกล่าวบอกสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และหลังจากที่ต้มเกลือเสร็จสิ้นฤดูกาลแล้วจะนำเกลือที่ต้มนั้นไปหว่านคืนที่เดิม (ที่ขูดดินขี้ทา) และบอกกล่าวสิ่งศักดิ์สิทธิ์ด้วย เพราะชาวบ้านเชื่อว่าเมื่อเอามาแล้วต้องเอาไปคืน ปีต่อๆไปจะได้มีเกลือขึ้นมาให้ขูดอีก ทรัพยากรจะได้ไม่หมดไปนั่นเอง ลักษณะของเกลือ 1.เกลือขี้ทาสีขาวนวล เป็นเกลือสินเธาว์ที่มีลักษณะเป็นผงและมีสีขาวนวล ซึ่งเป็นเกลือสินเธาว์ที่ได้จากดินขี้ทาหรือดินเอียด เกลือชนิดนี้ได้จากดอนสร้างอีแก้วบริเวณหนองหารและตามท้องนาตำบลตองโขบ จังหวัดสกลนครเท่านั้น มีรสชาติเค็มนัว นิยมนำมาปรุงแต่งอาหารและหมักปลาร้าเพราะจะให้รสชาติที่อร่อยนัวกลมกล่อมและไม่เน่าเสียง่าย 2.เกลือมันปู เป็นเกลือสินเธาว์ที่มีลักษณะเป็นผงและมีสีคล้ายกับน้ำตาลทรายแดง หรือมีสีคล้ายกับสีของมันปู จึงได้เรียกเกลือชนิดนี้ว่า “เกลือมันปู” ซึ่งเป็นเกลือสินเธาว์ที่ได้จากดินขี้ทาหรือดินเอียด เกลือชนิดนี้ได้จากดอนขามแปบริเวณหนองหาร จังหวัดสกลนครเท่านั้น มีรสชาติเค็มนัว นิยมนำมาปรุงแต่งอาหารและหมักปลาร้าเพราะจะให้รสชาติที่อร่อยนัวกลมกล่อมและไม่เน่าเสียง่าย
จับต้องได้ : Tangible.
พื้นที่วัฒนธรรม : CS : Cultural Space พื้นที่วัฒนธรรมที่เป็นพื้นที่ธรรมชาติ
พื้นที่วัฒนธรรมที่เป็นพื้นที่ที่มนุษย์สร้างขึ้น
.
เลขที่ : ดอนงิ้วพัฒนา ต. งิ้วด่อน อ. เมืองสกลนคร จ. สกลนคร 47000
แม่ยอดจันทร์และแม่เครือวัลย์
0930494267
tanawadee : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร : 2566 Open Call