PMU ทุนทางวัฒนธรรม


ข้อมูลวัฒนธรรม : PA-56000-00019 [ ได้รับทุนจากโครงการ ]

ศิลปะการแสดงแม่นาเรือ
Maenaruea Performing Arts

จากการสืบค้นโดยวิธีการสัมภาษณ์พบว่าชาวล้านนาเชื่อว่าหากใครที่ได้มีโอกาสในการฟ้อนนำหน้าเครื่องถวายทานแก่พระพุทธเจ้าหรือมีการฟ้อนนำหน้าขบวนแห่เครื่องครัวตานเพื่อถวายแก่พระพุทธเจ้า หรือเรียกว่า ฟ้อนปิติยินดีมีความเชื่อว่าคนฟ้อนเมื่อเกิดชาติหน้าหน้าตาจะสดใสจะเป็นเทวดามาเกิดในภพชาติหน้า ศิลปะและการแสดงในพื้นที่ตำบลแม่ใสและตำบลแม่นาเรือเกิดขึ้นใน ยุคที่มีการพัฒนาศิลปะการแสดงในสมัยที่พระราชชายาเจ้าดารารัศมี มีการปรับท่าฟ้อนใหม่ โดยการนำเอาแม่ครูหรือผู้ฝึกสอนการฟ้อนรำมาจากภาคกลางโดยมีการจัดและปรับท่าใหม่โดยพัฒนาให้กลายเป็นการฟ้อนรำแบบภาคเหนือ ในด้านการฟ้อนนั้นเกิดขึ้นจากการรับอิทธิพลของละครชาตรีและการแสดงโนราในยุคตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ห้าโดยมีการนำเอาการฟ้อนมาเป็นการแสดงหลักในการแห่ครัวทาน ในสมัยรัชกาลที่เจ็ดเพื่อเป็นการแสดงที่นัยยะสำคัญเป็นการยอมรับอิทธิพลของสยามในการปกครองของล้านนา ทำให้ศิลปะและการแสดงของผู้ชายมีการฟ้อนซึ่งเรียกว่าฟ้อนเจิงก่อนหน้านั้น มีการปรับใช้เพื่อมาทำการแสดงฟ้อนทูลพระขวัญในสมัยรัชกาลที่ 7 การฟ้อนแต่เดิมมีเพียงการฟ้อนในคุ้มของชาวนายฝ่ายเหนือซึ่งได้รับการถ่ายทอดโดยแม่ครูที่เดินทางมาจากกรุงเทพและต่อมาวัฒนธรรมทางภาคเหนือที่ได้ให้ความสำคัญต่อการทำบุญทำทานจึงได้จัดให้มีการแสดงหรือการฟ้อนรำอยู่ในขบวน เครื่องถวายทานก่อนทำบุญในหัววัดต่างๆการฟ้อนจึงได้มีการขยายอิทธิพลไปยังกลุ่มชาวบ้านโดยการเรียนรู้การฟ้อนนั้นในอดีตมีการฝึกสอนจากครูฟ้อนซึ่งจะได้รับการเชิญหรือว่าจ้างมา อย่างพิเศษเพื่อมาสอนคนในชุมชนซึ่งการฝึกสอนนั้นในอดีตจะมีการฝึกสอนเป็นแรมเดือนซึ่งผู้ฝึกสอนนั้นจะมาใช้ชีวิตอยู่กับคนในชุมชนเสมือนประหนึ่งว่าเป็นคนของบ้านนั้นในชุมชนไปด้วยซึ่งวัฒนธรรมดังกล่าวมีอยู่อย่างกว้างขวางในสังคม ล้านนา และสังคมของเมืองพะเยาเช่นเดียวกัน ศิลปการแสดงที่เกิดขึ้นในตำบลแม่ใสและตำบลแม่นาเรือจึงได้รับการถ่ายทอดมาเช่นเดียวกับพื้นที่อื่นในสังคมชนบท และการแสดงที่พบเห็นโดยทั่วไปประกอบด้วยการฟ้อน เล็บการฟ้อนเทียนซึ่งจะผสมท่าของการฟ้อนรำไปกับดนตรีซึ่งเกิดขึ้นจากกลุ่มดนตรีพื้นเมืองเรียกอย่างหนึ่งในภาษาพื้นเมืองเหนือว่าวง กลองอึด หรือกองอึดเซิ้ง หรือกล่องแอว เป็นต้น จะพบว่าศิลปะการแสดงประเภทการฟ้อนนั้นจะพบมากสุดในงานบุญซึ่งเรียกว่างานสลากภัตหรืองานแห่ครัวตานในการทำบุญเทศกาลต่างๆซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นเวทีการประชันถ้าของคนในชุมชนต่างๆซึ่งจะมารวมตัวกันทำการแสดงนำหน้าขบวนแห่เครื่องถวายสักการะบูชาเครื่องครัวตานต่างๆ ซึ่งมีทั้งคนฟ้อนและคนรับชมการฟ้อนจึงเป็นสาเหตุของการแลกเปลี่ยนท่วงท่าศิลปะการแสดงระหว่างกันของชุมชนที่มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมร่วมกัน เครื่องดนตรีที่นำมาใช้ในการประกอบการแสดงการฟ้อนรูปแบบต่างๆนอกจากวงกลองอึดเซิ้ง แล้วยังมีวงปี่พาทย์หรือเรียกในภาษาพื้นเมืองเหนือเรียกว่าวงป้าดฆ้อง ที่ได้รับความนิยมมาตั้งแต่สมัยสงครามโลกและในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นเสมือนหนึ่งวงดนตรีเพื่อคลายเครียด ซึ่งในด้านเครื่องดนตรีนั้นแต่เดิมจะเริ่มจากฆ้องวง กลองเต่งถิ้ง และแน เป็นอุปกรณ์เครื่องปี่พาทย์มาตั้งแต่เริ่มแรกหลังจากนั้นจึงมีการพัฒนากลองรูปแบบต่างๆเพื่อมาใช้ประกอบการแสดงการฟ้อนอีกหลายรูปแบบ



 

Icon
ประเภทวัฒนธรรม

จับต้องได้ : Tangible.

Icon
หมวดหมู่วัฒนธรรม

ศิลปะการแสดง : PA : Performing Arts นาฏศิลป์และการละคร
.

Icon
ที่ตั้ง

เลขที่ : บ้านแม่นาเรือ ต. แม่นาเรือ อ. เมืองพะเยา จ. พะเยา 56000

Icon
ชื่อผู้ให้ข้อมูลหรือชื่อกลุ่มผู้ให้ข้อมูล

นายรัตนะ ตาแแปงและนายศักด์ดา ศรีทา

Icon
ช่องทางติดต่อผู้ให้ข้อมูล

0813871462, amaiest@hotmail.com

Icon
ผู้บันทึกข้อมูล

ผศ.ดร.อัมเรศ เทพมา : มหาวิทยาลัยพะเยา : 2566 Advance Track

Icon
แหล่งข้อมูอื่น ๆ
-

มีผู้เข้าชมจำนวน :134 ครั้ง
บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ : 15/06/2024 - ปรับปรุงล่าสุดวันที่ : 15/06/2024