ชุมชนกุฎีขาวที่เป็นชุมชนที่ผู้คนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม มีศาสนาสถานที่สำคัญ คือ มัสยิดบางหลวงหลวง (กุฎีโต๊ะหยี, กุฎีขาว) ซึ่งมีรูปแบบสถาปัตยกรรมคล้ายวัดไทย มัสยิดแห่งนี้มีความแตกต่างจากมัสยิด แห่งอื่น ๆ ในประเทศไทย หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ทําให้ชาว มุสลิมเชื้อสายมลายูที่เรียกว่า แขกตานี อพยพลงมาอาศัย อยู่บริเวณแพสองฝั่งคลองบางกอกใหญ่ ต่อมาประชากร มีจํานวนเพิ่มมากขึ้น จึงได้ย้ายขึ้นบนบกสร้างที่อยู่อาศัย ฝั่งตรงข้ามวัดหงส์รัตนารามยาวตลอดไปถึงคลองวัดดอกไม้ หรือคลองบุปผาราม และขยายเป็นชุมชนมัสยิดบางหลวงใน เวลาต่อมา ชุมชนนี้สร้างมัสยิดขึ้น สันนิษฐานว่าสร้างในสมัย รัชกาลที่ 1 (พ.ศ. 2325) โดยพ่อค้ามุสลิมชื่อโต๊ะหยี และ ให้ชื่อว่า “มัสยิดบางหลวง” เนื่องจากตัวอาคารมัสยิดทา ด้วยสีขาว ชาวบ้าน จึงเรียกว่า “กุฎีขาว” (คําว่า กุฎี นํามา ใช้เรียกศาสนสถานของมุสลิมมาแต่สมัยอยุธยา แต่เมื่อได้มี การประกาศใช้พระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พุทธศักราช 2490 ได้เปลี่ยนคําเรียกเป็นมัสยิด) มัสยิดมีผังเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทรงไทยก่ออิฐถือปูนทั้งหลัง มีหลังคาพาไลยื่นออกมาข้างหน้า ด้านอื่นเป็นหลังคา ปีกนก มีเสารองรับหลังคา บันไดทางขึ้นอยู่ทางทิศเหนือและใต้ของพาไลด้านหน้า หลังคาทรงจั่วมุงกระเบื้องว่าวสีเขียว หน้าบันหน้า - หลังประดับด้วยปูนปั้นลายศิลปะ 3 ชาติ คือ กรอบหน้าบัน เป็นเครื่องลํายอง ประดับห้ามลายไว้บนยอด เป็นศิลปะไทยหน้าบัน เป็นปูนปั้นลายก้านแย่งใบฝรั่งเทศ เป็นศิลปะตะวันตก และดอกไม้เป็นดอกเมาตาล ศิลปะจีน ลาย ศิลปะ 3 ชาตินี้ ได้นํามาประดับที่กรอบประตูและหน้าต่างทุกบานของมัสยิด ในส่วนตัวอาคารที่เป็นปูน ทาสีขาวทั้งหมด ส่วนที่เป็นไม้ทาสีเขียว (ศูนย์ข้อมูลกลางทางด้านศาสนา. (2563). มัสยิดบางหลวง. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2566 จาก https://e-service.dra.go.th/place_page/18380) ในปัจจุบันชุมชนแห่งนี้ ยังคงรักษาวัฒนธรรมที่เป็นอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม พิธีกรรมและความเชื่อ ทางศาสนาได้อย่างต่อเนื่อง ความเชื่อในพิธีกรรมสำคัญในมัสยิดบางหลวง (งานบุญสำคัญ ปีละ 5 ครั้ง) ได้แก่ 1. วันนิสฟูชะอ์บาน เป็นงานบุญช่วงกลางเดือน 8 เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ผู้วายชนม์ 2. ตรุษอีดิ้ลฟิตริ เป็นตรุษ เฉลิมฉลองวันสิ้นสุดการถือศีลอด 3. ตรุษอีดิ้ลอัฏฮา ตรุษเฉลิมฉลองการประกอบพิธีฮัจญ์ ซึ่งจัดขึ้นในวันเดียวกับที่มหานครเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย 4. วันเมาลิดุนนบี เป็นงานเฉลิมฉลองคล้ายวันประสูติของท่านศาสดา มูฮัมหมัด 5. งานบุญกวนข้าวบุโบว์ หรือข้าวอาชูรอ จัดในวันที่ 10 เดือน 1 เป็นการรำลึกถึงเหตุการณ์หลังน้ำท่วมครั้งสำคัญในสมัยท่านศาสดาโนอา โดยนำอาหารทั้งถั่ว ธัญพืช และเนื้อสัตว์มาปรุงรวมกัน (พระปริยัติธาดา (สมนึก จิตเมโธ), และธัชชัย ยอดพิชัย. (2553). กุฎีขาว มัสยิดบางหลวง. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2566 จาก http://www.mof.go.th/home/emag/pdf/emag_c11_53/e_Mag__November53[1].pdf.)
จับต้องได้ : Tangible.
โบราณสถาน : AS : Archeological Site ย่านประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม
.
เลขที่ : สถานอบรมศาสนาอิสลาม 151 ถ. อรุณอมรินทร์ ต. วัดกัลยาณ์ อ. เขตธนบุรี จ. กรุงเทพมหานคร 10600
กิตติ เชี่ยวชาญ : มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา : 2566 Festival