โรงเรียนสตรีมารดาพิทักษ์ได้เริ่มเรียนรู้การทอเสื่อกกจันทบูร โดยคณะนักบวช หญิงภคินีรักไม้กางเขน หรือที่รู้จักกันในปัจจุบันว่า นักบวชหญิงคณะรักกางเขนแห่งจันทบุรี และเริ่มสอนนักเรียนในปี ๒๕๓๖ และเกิดชุมนุมหัตถกรรมพื้นบ้านเสื่อจันทบูร ในขณะนั้น มีนักเรียนชั้นประถมปีที่ ๕ และ ๖ เป็นสมาชิกจำนวน ๓๗๒ คน และมีการสืบทอดจากรุ่นพี่ สู่รุ่นน้องต่อเนื่องกันมายาวนาน การทอเสื่อกกจันทบูร เป็นงานหัตถกรรมที่ต้องใช้ทักษะ ความอดทน ความ พากเพียรสร้างสรรค์ผลงานโดยใช้เวลานานกว่าจะได้ผลงาน นักเรียนที่สามารถทอเสื่อได้ แล้วจะสอนทักษะการทอเสื่อให้รุ่นน้องใหม่ในชุมนุมฯ แต่ละรุ่นต่อกันมา ดังนั้นการทอเสื่อ จึงช่วยสานสร้างความสัมพันธ์ระหว่างรุ่นพี่กับรุ่นน้องนักเรียน และมีการพัฒนาการออกแบบ ลวดลายเสื่อด้วยโปรแกรมเอ็กเซลล์ (Excel) แทนการออกแบบลวดลายในสมุดกราฟ จึงเป็นการสืบทอดภูมิปัญญาพื้นบ้านและการคิดค้นสร้างสรรค์ของยุคสมัยปัจจุบัน เสื่อจันทบูรจึงมีลวดลายแตกต่างแปลกใหม่ขึ้นเสมอๆ เช่น ลายราตรีสวรรค์ สี่เหลี่ยมเริงร่า ลูกโซ่ รังผึ้ง ขนมเปียกปูน และในปี ๒๕๕๑ นักเรียนได้ออกแบบลายใหม่เพิ่มขึ้น เช่น แมลง แปดเหลี่ยม สร้อยสุมาลี บานบุรีประยุกต์ และโชว์เอ็น การออกแบบลวดลายเป็นขั้นตอนหนึ่งของการสร้างสรรค์หัตถกรรมพื้นบ้านของ นักเรียน เมื่อได้ลวดลายที่ต้องการแล้ว ยังมีขั้นตอนการทอเสื่อที่ใช้เวลามาก ซึ่งนักเรียน จะใช้เวลาพักกลางวันทำงาน นอกเหนือจากชั่วโมงชมนุมหัดถกรรมฯ เมื่อได้ผืนเสื่อแล้ว จะนำมาตัดเย็บเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น พวงหรีด กล่องใส่ดินสอกระเป๋าใส่สตางค์ แฟ้ม เอกสาร ฯลฯ นักเรียนจะนำไปจำหน่ายเป็นรายได้สำหรับทำกิจกรรมของโรงเรียน หัตถกรรมพื้นบ้านเสื่อจันทบูร จึงเป็นฐานการเรียนรู้เด่นของโรงเรียนสตรีมารดา พิทักษ์ เพราะมีความสอดคล้องและเชื่อมโยงกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในหลายๆ ด้าน อาทิ การพัฒนานักเรียนในด้านวินัย ความพากเพียร การเรียนรู้ทักษะ ความขยัน ความอดทน การทำงานร่วมกัน และความคิดสร้างสรรค์
จับต้องได้ : Tangible.
สถาปัตยกรรม : AR : ARchitecture ร้านค้าและเคหสถาน
แหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่น
พิพิธภัณฑ์
.
เลขที่ : ชุมชนบ้านท่าเรือจ้าง หมู่ 5 ต. จันทนิมิต อ. เมืองจันทบุรี จ. จันทบุรี 22000
นายณฐพงศ์ พ่วงภิญโญ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก : 2566 Open Call