PMU ทุนทางวัฒนธรรม


ข้อมูลวัฒนธรรม : TC-22000-00007 [ ได้รับทุนจากโครงการ ]

ช่างทำแท่นพระ
Virgin Mary Altar Builder

งานช่างฝีมือดั้งเดิม ช่างทำแท่นพระ ใช้สำหรับเป็นแท่นบูชา (อังกฤษ: Altar แท่นบูชาของคริสตชนในสมัยแรกเป็นโต๊ะไม้เคลื่อนที่ได้ ต่อมาเป็นแบบตั้งอยู่กับที่ และในจารีตละตินให้เป็นแบบทำศิลาหรือหินเพื่อให้สอดคล้องกับธรรมเนียมของพระศาสนจักรที่รับสืบทอดกันมา ชุมชนหลังวัดโรมัน บ้านท่าเรือจ้าง เป็นชุมชมคาทอลิก นิยมตั้งแท่นพระ ไว้สำหรับบูชาภายในบ้าน คาทอลิกจะมีนักบวช ที่เรียกว่า บาทหลวง หรือ ซิสเตอร์ มีการให้เกียรติพระนางมารีย์ แม่ของพระเยซู เรียกพระนางว่า “แม่พระ” มาจากคำว่า มารดาของพระเจ้า จะมีการยกย่องวีรบุรุษ หรือวีรสตรีทางศาสนา หรือ บุคคลที่ดำเนินชีวิตตามแบบอย่างพระเยซูอย่างดีมาก จะเรียกคนเหล่านี้ ว่าเป็น นักบุญ คาทอลิกมีความเชื่อว่า ในพิธีมิซซา(พิธีนมัสการพระเจ้าในวันอาทิตย์) เมื่อขนมปัง และเหล้าองุ่นถูกเสกในพิธี ก็คือ เนื้อ และพระโลหิต เหมือนที่พระเยซูเจ้าทรงกระทำในอาหารค่ำมื้อสุดท้ายโบสถ์คาทอลิกทุกแห่ง ถือเป็นหนึ่งเดียวกัน ขึ้นตรงต่อกรุงวาติกัน และองค์พระสันตะปาปา นายสมศักดิ์ พงษ์งาม ช่างทำแท่นพระ ชุมชนหลังวัดโรมัน เป็นคนจันทบุรีโดยกำเนิดเริ่มเข้าเรียนที่โรงเรียนวัดไผ่ล้อมอินทก์อุทัยอำเภอเมืองจันทบุรี โรงเรียนลาซาลบางนา(กทม.)และโรงเรียนศรียานุสรณ์จันทบุรี จบชั้นมัธยมปลายไปสมัครเรียนที่กรมพัฒนาฝีมือแรงงานเลย ได้ไปเรียนต่อที่โรงเรียนพัฒนาฝีมือที่ชลบุรี สาขาช่างอิเล็กทรอนิคล์เรียนได้ประมาณ 1 ปีมีโรงงานมาติดต่อให้ไปทำงาน แต่ต้องสอบให้ผ่านเกณฑ์ ผมเลยสมัครเข้าสอบและได้ผ่านเกณฑ์ในการสมัครเข้าทำงานโรงงานผลิตจอโทรศัพท์ โรงงานชื่อ(Thai CRT)ผมทำอยู่ได้ 7 ปีแล้วก็ลาออกเหตุผลเพราะเพื่อนชวนมาวิ่งผลไม้ที่จันทบุรีวิ่งได้2เที่ยวก็เลิกวิ่ง ออกมาเรียนทำทองเป็นช่างทำตัวเรือนได้ 2 ปี แล้วก็เลิกทำเหตุผลเพราะลูกพี่ย้ายไปอยู่ต่างจังหวัดนครนายก เลยอยู่บ้านเฉยๆเที่ยวตกปลา ดำกุ้งแม่น้ำเป็นอาชีพ แต่ดำตอนกลางคืนกลางวันว่างเลยคิดอยากทำแท่นพระ เพราะที่บ้านไม่มี ในละแวกชุมชนแถวบ้านส่วนใหญ่เป็นคนพื้นถิ่นและนับถือศาสนาคริสต์ ในบ้านที่อยู่ก็จะมีแท่นพระตามบ้านของคนที่มีและพูดคุยว่าเค้าได้มายังไงใครเป็นคนทำตั้งแต่ปี พ.ศ.2538 จนถึงปี 2540 ก็เริ่มทำแท่นแรกใช้เวลากันทำอยู่ประมาณ 1 ปี ลองผิดลองถูกกับการลงรักปิดทองและทำทองจนพอรู้เลยทำตั้งไว้ที่บ้าน 2-3 แท่นชาวบ้านมาเห็นเค้าเลยขอซื้อเป็นเหตุให้ผมเลยต้องทำมาเรื่อยๆ กลางคืนดำกุ้งกลางวันทำแท่นพระทำมาประมาณ 10 ปี ผู้ใหญ่บ้านมาชวนเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านเลยสมัครเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านเป็นอยู่ 3 สมัยและได้สมัครเป็นผู้ใหญ่บ้านต่อเพราะผู้ใหญ่บ้านคนเก่าเกษียณอายุ ส่วนงานที่ทำอยู่ก็เลยไม่ค่อยมีเวลาทำแต่ก็รับซ่อมแซมแท่นเก่าบ้างทำใหม่บ้าง เพราะในอดีตที่ผ่านมาคนทำแท่นในชุมชน ได้ล้มหายตายจากไปเกือบหมดแล้วเท่าที่ทราบยังมีลูกช่างถอนชื่อช่างตั๊กอยู่หลังวัดหมู่ 4 ตำบลจันทนิมิต อีกคนปัจจุบันไม่ได้ทำแล้ว แท่นพระมีหลายรูปแบบหลายลายส่วนมากจะเป็นลวดลายเก่าไม้เลื้อยศิลปะแบบโกธิค แท่นพระที่พบว่าเก่าแก่ก็ประมาณ 150 ปี บวกลบชิ้นงานที่ผมทำหมดและศึกษาของเก่าๆที่พบเห็นและจิตนาการผสมผสานวาดแบบและลวดลายตามจินตนาการตามแบบแท่นเก่าบางแบบในหนังสือลวดลายที่หาได้บ้างลวดลายบ้านไม้โบราณบ้างในส่วนของลูกค้าที่มาสั่งทำแล้วแค่จะสั่งอยากได้ลวดลายอย่างไหนขนาดความสูงต่ำๆไหนเราก็ทำให้



 

Icon
ประเภทวัฒนธรรม

จับต้องได้ : Tangible.

Icon
หมวดหมู่วัฒนธรรม

งานช่างฝีมือดั้งเดิม : TC : Traditional Craftsmanship เครื่องไม้
งานศิลปกรรมพื้นบ้าน
.

Icon
ที่ตั้ง

เลขที่ : ชุมชนบ้านท่าเรือจ้าง หมู่ 5 ต. จันทนิมิต อ. เมืองจันทบุรี จ. จันทบุรี 22000

Icon
ชื่อผู้ให้ข้อมูลหรือชื่อกลุ่มผู้ให้ข้อมูล

Icon
ช่องทางติดต่อผู้ให้ข้อมูล

Icon
ผู้บันทึกข้อมูล

นายณฐพงศ์ พ่วงภิญโญ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก : 2566 Open Call

Icon
แหล่งข้อมูอื่น ๆ
-
พิกัด GPS

มีผู้เข้าชมจำนวน :80 ครั้ง
บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ : 06/07/2024 - ปรับปรุงล่าสุดวันที่ : 03/08/2024